บริษัท เอ.ที.ไบโอพาวเวอร์ จำกัด เปิดตัวโรงไฟฟ้าชีวมวลที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งถือเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแกลบที่ใหญ่ที่สุดของโลก มีกำลังผลิต 20 เมกะวัตต์ ขณะที่ Al Tayyar เตรียมสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแกลบและโรงไฟฟ้าพลังงานแก๊สชีวมวลในประเทศไทย เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในช่วงน้ำมันแพง รวมทั้งช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ม.ล.ชนะพันธุ์ กฤดากร ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ.ที. ไบโอพาวเวอร์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ตำบลหอไกร อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร โดยใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 20 เมกะวัตต์ และทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นเวลา 25 ปี โดยโครงการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว เริ่มจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของ กฟผ. อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา และได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยโครงการนี้คาดว่าจะสามารถช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศได้ 800 ล้านบาทต่อปี เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันเตาและ 1,700 ล้านบาทต่อปี เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันดีเซล
สำหรับผู้ลงทุนในโครงการนี้ ประกอบด้วย บริษัท ชูบุ อีเลคทริค พาวเวอร์ คัมปะนี่ อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี.(CEPCOI) จำกัด จากประเทศญี่ปุ่น บริษัท อัลเทยาร์ เอนเนอร์ยี ลิมิเต็ด ไพรเวท-เอนเนอร์ยี มาร์เก็ต ฟันด์ กองทุนเพื่อการพัฒนาด้านพลังงานจากประเทศฟินแลนด์ ฟินนิช ฟันด์ ฟอร์ อินดัสเตรียล คอร์ปอร์เรชั่น ลิมิเต็ด องค์กรที่มีชื่อเสียงของประเทศฟินแลนด์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการลงทุนระยะยาวในโครงการต่างๆ ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา บริษัท แฟลกชิพ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จากประเทศไทย และบริษัท โรลส์-รอยส์ พาวเวอร์ เวนเจอร์ส ลิมิเต็ด จากประเทศอังกฤษ
ด้านเจ้าชายมูเลย์ ฮิแซม เบน อับลัลลาห์ เจ้าของบริษัท Al Tayyar หนึ่งในผู้ลงทุนของ A.T. Biopower จากประเทศโมร็อกโก ได้เสด็จมาร่วมพิธีเปิดโรงไฟฟ้าที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งถือเป็นโรงไฟฟ้าแกลบที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และในระหว่างที่อยู่ในประเทศไทยได้มีพระราชดำรัสว่าโรงไฟฟ้าแกลบที่จังหวัดพิจิตรเป็นความสำเร็จที่สำคัญก้าวแรกของ Al Tayyar ซึ่งยังมีโรงไฟฟ้าพลังงานแกลบอีก 2 แห่ง ที่รอการก่อสร้างอยู่อีกในประเทศไทย เป็นการร่วมทุนกับ เอ.ที. ไบโอพาวเวอร์ นอกจากนี้ Al Tayyar ยังได้สร้างและดำเนินการโรงไฟฟ้าที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแก๊สชีวภาพที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแก๊สชีวภาพอีก 3 แห่ง ในประเทศไทย ในส่วนของการพัฒนาพลังงานชีวภาพ Al Tayyar มีแผนที่จะพัฒนาโครงการให้ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีแผนพัฒนาโครงการชีวมวลในประเทศศรีลังกาและอินเดียก่อน
ม.ล.ชนะพันธุ์ กฤดากร ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ.ที. ไบโอพาวเวอร์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ตำบลหอไกร อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร โดยใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 20 เมกะวัตต์ และทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นเวลา 25 ปี โดยโครงการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว เริ่มจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของ กฟผ. อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา และได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยโครงการนี้คาดว่าจะสามารถช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศได้ 800 ล้านบาทต่อปี เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันเตาและ 1,700 ล้านบาทต่อปี เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันดีเซล
สำหรับผู้ลงทุนในโครงการนี้ ประกอบด้วย บริษัท ชูบุ อีเลคทริค พาวเวอร์ คัมปะนี่ อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี.(CEPCOI) จำกัด จากประเทศญี่ปุ่น บริษัท อัลเทยาร์ เอนเนอร์ยี ลิมิเต็ด ไพรเวท-เอนเนอร์ยี มาร์เก็ต ฟันด์ กองทุนเพื่อการพัฒนาด้านพลังงานจากประเทศฟินแลนด์ ฟินนิช ฟันด์ ฟอร์ อินดัสเตรียล คอร์ปอร์เรชั่น ลิมิเต็ด องค์กรที่มีชื่อเสียงของประเทศฟินแลนด์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการลงทุนระยะยาวในโครงการต่างๆ ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา บริษัท แฟลกชิพ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จากประเทศไทย และบริษัท โรลส์-รอยส์ พาวเวอร์ เวนเจอร์ส ลิมิเต็ด จากประเทศอังกฤษ
ด้านเจ้าชายมูเลย์ ฮิแซม เบน อับลัลลาห์ เจ้าของบริษัท Al Tayyar หนึ่งในผู้ลงทุนของ A.T. Biopower จากประเทศโมร็อกโก ได้เสด็จมาร่วมพิธีเปิดโรงไฟฟ้าที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งถือเป็นโรงไฟฟ้าแกลบที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และในระหว่างที่อยู่ในประเทศไทยได้มีพระราชดำรัสว่าโรงไฟฟ้าแกลบที่จังหวัดพิจิตรเป็นความสำเร็จที่สำคัญก้าวแรกของ Al Tayyar ซึ่งยังมีโรงไฟฟ้าพลังงานแกลบอีก 2 แห่ง ที่รอการก่อสร้างอยู่อีกในประเทศไทย เป็นการร่วมทุนกับ เอ.ที. ไบโอพาวเวอร์ นอกจากนี้ Al Tayyar ยังได้สร้างและดำเนินการโรงไฟฟ้าที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแก๊สชีวภาพที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแก๊สชีวภาพอีก 3 แห่ง ในประเทศไทย ในส่วนของการพัฒนาพลังงานชีวภาพ Al Tayyar มีแผนที่จะพัฒนาโครงการให้ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีแผนพัฒนาโครงการชีวมวลในประเทศศรีลังกาและอินเดียก่อน