รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยืนยันคลังสามารถดูแลธนาคารรัฐ 4 แห่ง เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยสูงได้ไม่จำเป็นต้องเสนอ ครม. เป็นผู้พิจารณา ย้ำแม้เลือกตั้งครั้งใหม่เกิดขึ้นปลายปีไม่มีปัญหาการใช้งบประมาณแต่อย่างใด ระบุกรมสรรพากรยังจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ดีอยู่แม้เศรษฐกิจไตรมาสแรกจะไม่ดีนัก

นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 16 พฤษภาคมนี้ กระทรวงการคลังจะไม่เสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เสนอ เพราะเห็นว่าสิ่งที่ สศค.เสนอมานั้น กระทรวงการคลังเป็นเจ้าภาพอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องเสนอให้ ครม.พิจารณา โดยเฉพาะมาตรการตรึงอัตราดอกเบี้ยของธนาคารเฉพาะกิจ 4 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของธนาคารเฉพาะกิจเหล่านี้อยู่แล้วที่จะลดภาระให้แก่ประชาชน ยกเว้นเรื่องประหยัดพลังงานที่นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง จะเป็นผู้ดูแลร่วมกับกระทรวงพลังงาน
ทั้งนี้ ความจำเป็นสำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในขณะนี้ยังไม่ถึงเวลา เพราะในอีก 1-2 วันนี้ สศค.จะมารายงานสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกและแนวโน้มของไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะการชะลอการลงทุนของภาคเอกชนว่าลดลงมากน้อยแค่ไหน มีความจำเป็นต้องอย่างไร และการบริโภคของประชาชนลดลงหรือไม่ เพราะในเดือนเมษายนที่ผ่านมา กรมสรรพากรยังจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ดีอยู่ทั้งที่เป็นช่วงปิดเทอม
ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุว่า 20 พรรคการเมือง เห็นด้วยที่จะให้มีขึ้นในวันที่ 22 ตุลาคมนี้ ยืนยันว่าตนเพิ่งทราบจากผู้สื่อข่าวและถ้าการเลือกตั้งเป็นเดือนตุลาคมจริง อาจทำให้การใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 ต้องเลื่อนออกไปอีกประมาณ 1 เดือน จากเดิมที่คาดว่าจะใช้ได้ในเดือนมกราคม 2550 นั้น อาจจะเป็นเดือนกุมภาพันธ์แทน แต่ก็ไม่น่ามีปัญหา ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับกรรมาธิการพิจารณางบประมาณด้วยว่าจะพิจารณา พ.ร.บ.ร่างงบประมาณ 2550 ให้เร็วขึ้นได้หรือไม่ และจะต้องเปลี่ยนนโยบายเป็นงบขาดดุลหรือไม่นั้น ต้องรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจและต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลชุดใหม่ด้วย
นายสมชัย สัจจพงษ์ โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในช่วงบ่ายของวันที่ 16 พฤษภาคมนี้ จะเชิญธนาคารเฉพาะกิจทั้ง 4 แห่ง มาชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางการตรึงอัตราดอกเบี้ยว่า แต่ละธนาคารจะมีมาตรการอะไรออกมาเป็นกรณีพิเศษ โดยเฉพาะโครงการที่เป็นนโยบายของรัฐบาล เช่น โครงการบ้านมั่งคง บ้านเอื้ออาทร และช่วยเหลือผู้ส่งออก เป็นต้น ซึ่งโครงการที่ออกมาเป็นเพียงมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนไม่ใช่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้น จะไม่มีผลต่ออัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ
สำหรับมาตรการเดิมที่เคยมีกระแสข่าวก่อนหน้านี้ ทั้งเรื่องของลดราคาตั๋วรถเมล์หรือเรื่องอื่นๆ ที่ประชุมเห็นว่าควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดูแล เพราะเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ยังเดินหน้าต่อไปได้ และที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้ออกมาตรการด้านพลังงานไปบ้างแล้ว ดังนั้น จึงไม่ควรมีมาตรการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบกับเป็นรัฐบาลรักษาการจึงไม่ควรออกมาตรการใดยกเว้นมาตรการประหยัดพลังงานที่นายวราเทพ ดูแลร่วมกับกระทรวงพลังงาน
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังจะไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งจะเกิดขึ้นใน 5-6 เดือนข้างหน้า เนื่องจากประเมินว่าภาวะเศรษฐกิจในไตรมาส 2 จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องแต่ต้องพิจารณาอีกครั้งว่ามีแนวโน้มอย่างไร หากออกมาไม่ดี ก็อาจมีความจำเป็นที่ต้องคิดอะไรเพิ่มเติมแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังยังมั่นใจว่าเศรษฐกิจไตรมาส 2 น่าจะออกมาดี โดยเฉพาะเรื่องของการส่งออกและการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันการจัดเก็บรายได้ก็ดี โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บได้จากการบริโภคในประเทศ ซึ่งถือว่ายังจัดเก็บได้ดี เป็นตัวเลข 2 หลัก แต่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บจากการนำเข้าอาจต่ำกว่าเป้าส่วนหนึ่งเงินบาทแข็งค่าและไทยนำเข้าลดลงด้วย
ส่วนการปรับเป้าหมายจีดีพีนั้น สศค. อยู่ระหว่างการพิจารณา โดยสมมติฐานด้านราคาน้ำมันจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยปรับสมมติฐานด้านราคาเพิ่มขึ้นจากเดิม 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล อีกเล็กน้อย แต่เนื่องจากราคาน้ำมันมีสัดส่วนสูงสำหรับการนำมาคำนวณภาวะเศรษฐกิจ จึงจะส่งผลต่อการปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยในปีนี้อย่างแน่นอน
นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 16 พฤษภาคมนี้ กระทรวงการคลังจะไม่เสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เสนอ เพราะเห็นว่าสิ่งที่ สศค.เสนอมานั้น กระทรวงการคลังเป็นเจ้าภาพอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องเสนอให้ ครม.พิจารณา โดยเฉพาะมาตรการตรึงอัตราดอกเบี้ยของธนาคารเฉพาะกิจ 4 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของธนาคารเฉพาะกิจเหล่านี้อยู่แล้วที่จะลดภาระให้แก่ประชาชน ยกเว้นเรื่องประหยัดพลังงานที่นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง จะเป็นผู้ดูแลร่วมกับกระทรวงพลังงาน
ทั้งนี้ ความจำเป็นสำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในขณะนี้ยังไม่ถึงเวลา เพราะในอีก 1-2 วันนี้ สศค.จะมารายงานสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกและแนวโน้มของไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะการชะลอการลงทุนของภาคเอกชนว่าลดลงมากน้อยแค่ไหน มีความจำเป็นต้องอย่างไร และการบริโภคของประชาชนลดลงหรือไม่ เพราะในเดือนเมษายนที่ผ่านมา กรมสรรพากรยังจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ดีอยู่ทั้งที่เป็นช่วงปิดเทอม
ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุว่า 20 พรรคการเมือง เห็นด้วยที่จะให้มีขึ้นในวันที่ 22 ตุลาคมนี้ ยืนยันว่าตนเพิ่งทราบจากผู้สื่อข่าวและถ้าการเลือกตั้งเป็นเดือนตุลาคมจริง อาจทำให้การใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 ต้องเลื่อนออกไปอีกประมาณ 1 เดือน จากเดิมที่คาดว่าจะใช้ได้ในเดือนมกราคม 2550 นั้น อาจจะเป็นเดือนกุมภาพันธ์แทน แต่ก็ไม่น่ามีปัญหา ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับกรรมาธิการพิจารณางบประมาณด้วยว่าจะพิจารณา พ.ร.บ.ร่างงบประมาณ 2550 ให้เร็วขึ้นได้หรือไม่ และจะต้องเปลี่ยนนโยบายเป็นงบขาดดุลหรือไม่นั้น ต้องรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจและต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลชุดใหม่ด้วย
นายสมชัย สัจจพงษ์ โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในช่วงบ่ายของวันที่ 16 พฤษภาคมนี้ จะเชิญธนาคารเฉพาะกิจทั้ง 4 แห่ง มาชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางการตรึงอัตราดอกเบี้ยว่า แต่ละธนาคารจะมีมาตรการอะไรออกมาเป็นกรณีพิเศษ โดยเฉพาะโครงการที่เป็นนโยบายของรัฐบาล เช่น โครงการบ้านมั่งคง บ้านเอื้ออาทร และช่วยเหลือผู้ส่งออก เป็นต้น ซึ่งโครงการที่ออกมาเป็นเพียงมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนไม่ใช่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้น จะไม่มีผลต่ออัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ
สำหรับมาตรการเดิมที่เคยมีกระแสข่าวก่อนหน้านี้ ทั้งเรื่องของลดราคาตั๋วรถเมล์หรือเรื่องอื่นๆ ที่ประชุมเห็นว่าควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดูแล เพราะเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ยังเดินหน้าต่อไปได้ และที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้ออกมาตรการด้านพลังงานไปบ้างแล้ว ดังนั้น จึงไม่ควรมีมาตรการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบกับเป็นรัฐบาลรักษาการจึงไม่ควรออกมาตรการใดยกเว้นมาตรการประหยัดพลังงานที่นายวราเทพ ดูแลร่วมกับกระทรวงพลังงาน
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังจะไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งจะเกิดขึ้นใน 5-6 เดือนข้างหน้า เนื่องจากประเมินว่าภาวะเศรษฐกิจในไตรมาส 2 จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องแต่ต้องพิจารณาอีกครั้งว่ามีแนวโน้มอย่างไร หากออกมาไม่ดี ก็อาจมีความจำเป็นที่ต้องคิดอะไรเพิ่มเติมแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังยังมั่นใจว่าเศรษฐกิจไตรมาส 2 น่าจะออกมาดี โดยเฉพาะเรื่องของการส่งออกและการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันการจัดเก็บรายได้ก็ดี โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บได้จากการบริโภคในประเทศ ซึ่งถือว่ายังจัดเก็บได้ดี เป็นตัวเลข 2 หลัก แต่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บจากการนำเข้าอาจต่ำกว่าเป้าส่วนหนึ่งเงินบาทแข็งค่าและไทยนำเข้าลดลงด้วย
ส่วนการปรับเป้าหมายจีดีพีนั้น สศค. อยู่ระหว่างการพิจารณา โดยสมมติฐานด้านราคาน้ำมันจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยปรับสมมติฐานด้านราคาเพิ่มขึ้นจากเดิม 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล อีกเล็กน้อย แต่เนื่องจากราคาน้ำมันมีสัดส่วนสูงสำหรับการนำมาคำนวณภาวะเศรษฐกิจ จึงจะส่งผลต่อการปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยในปีนี้อย่างแน่นอน