โปรเจกต์กทพ.เนื้อหอม 27 บริษัทสนใจซื้อซองประมูล มูลค่ารวม 16,888 ล้านบาท "อิตาเลียนไทย-ช.การช่าง" ซื้อซองประมูลทุกโครงการ ขณะที่ "ซิโน-ไทย"สนแค่ด่วนรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก ด้านยักษ์ใหญ่ "ซีเมนส์-ล็อกซ์เลย์-สมาร์ท แทรฟิค" ร่วมชิงดำงานระบบเก็บค่าผ่านทางกทพ.เตรียมชี้แจงรายละเอียด 15 และ 16 พ.ค.นี้
แหล่งข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า มีบริษัทและกิจการร่วมค้า จำนวน 27 ราย สนใจซื้อเอกสารประกวดราคาก่อสร้างโครงการระบบเก็บค่าผ่านทาง และระบบควบคุมความปลอดภัยด้านการจราจรของทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ และทางหลวงพิเศษหมายเลข 37 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ช่วงบางพลี-บางขุนเทียน ช่วงสุขสวัสดิ์-บางขุนเทียน มูลค่า 3,180 ล้านบาท และการก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร มูลค่าโครงการรวม 13,708 ล้านบาท สัญญาที่ 1 งานโยธาและงานไฟฟ้า และสัญญาที่ 4 งานระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง ระบบควบคุมจราจรและสื่อสาร
โดยมีผู้ซื้อเอกสารฯ รายการเดียว จำนวน 19 ราย และผู้ซื้อเอกสารมากกว่า 1 รายการ จำนวน 8 ราย แบ่งเป็นผู้ซื้อเอกสารประกวดราคา ของโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครฯ สัญญาที่ 1 ซึ่งเป็นงานในส่วนของงานโยธาและงานไฟฟ้า จำนวน 17 ราย ประกอบด้วย บริษัทเนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน), กิจการร่วมค้า เคอาร์ JOINT, บมจ.ยูนิคเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, บมจ.อิตาลียนไทย ดีเวล็อปเมนท์, บริษัท พรหมวิวัฒน์ จำกัด, บริษัทชัยนันท์ค้าวัสดุก่อสร้าง (2524) จำกัด, บริษัท ประยูรวิศว์การช่าง จำกัด, บริษัทโรจน์ก่อสร้าง จำกัด,บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัททิพากร จำกัด, บริษัทสี่แสงการโยธา (1979) จำกัด, บริษัทเอ็ม.ซี.คอนสตรัคชั่น (1979) จำกัด, บริษัทวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด, บริษัท กรุงธนเอ็นยิเนีย จำกัด, บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, บริษัทเอ เอส แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด และ บริษัท ช.การช่าง-โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด
ส่วนผู้ที่มาซื้อเอกสารประกวดราคา ของโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครฯ สัญญาที่ 4 ซึ่งเป็นงานในส่วนของระบบการจัดเก็บค่าผ่านทาง ระบบควบคุมจราจร และสื่อสาร มีจำนวน 10 ราย ประกอบด้วย บริษัท ซีเมนส์ จำกัด,บริษัท พี.ดี.คอนสตรัคชั่น จำกัด, บมจ.อิตาลียนไทย ดีเวล็อปเมนท์, บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัทล็อกซ์เลย์ จำกัด (มหาชน), บริษัท สมาร์ท แทรฟิค จำกัด, บริษัทเอ เอส แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด, บริษัท แอ็ดวานซ์อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (เอ.ไอ.คอนซัลเตี้ยม) บริษัท ยิบอินซอยและแยคส์ จำกัด และบริษัท จีเนียท์ ทรัฟฟิค ซิสเต็ม จำกัด
และ โครงการระบบเก็บค่าผ่านทางฯ บางพลี-สุขสวัสดิ์ มีผู้ที่สนใจมาซื้อเอกสารประกวดราคา จำนวน 10 ราย ประกอบด้วย บริษัท ซีเมนส์ จำกัด, บมจ.อิตาลียนไทย ดีเวล็อปเมนท์, บริษัท พรหมวิวัฒน์ จำกัด, บริษัท พี.พี.ดี คอนสตรัคชั่น จำกัด (Joint กับ บ.ฤทธา), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัทล็อกซ์เลย์ จำกัด (มหาชน), บริษัทวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด, บริษัท สมาร์ท แทรฟิค จำกัด, บริษัท คิว-ฟรี (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท มิตซูบิชิ คอร์โปเรชั่น จำกัด
ทั้งนี้ กทพ. ได้นัดบริษัทผู้สนใจซื้อเอกสารประกวดราคาทั้ง 27 ราย รับฟังรายละเอียดพร้อมตอบข้อสงสัยและดูสถานที่ก่อสร้าง โดย โครงการระบบเก็บค่าผ่านทางและระบบควบคุมความปลอดภัยด้านการจราจรฯ มีกำหนดดูสถานที่ก่อสร้างทางภาคสนามและชี้แจงรายละเอียดตอบข้อซักถามวันที่ 15 พ.ค.2549 เวลา 9.30 น. โครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร สัญญาที่ 1 และสัญญาที่ 4 มีกำหนดดูสถานที่ก่อสร้างทางภาคสนาม พร้อมชี้แจงรายละเอียดและตอบข้อซักถาม ในวันอังคารที่ 16 พ.ค.2549 เวลา 8.30 น
แหล่งข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า มีบริษัทและกิจการร่วมค้า จำนวน 27 ราย สนใจซื้อเอกสารประกวดราคาก่อสร้างโครงการระบบเก็บค่าผ่านทาง และระบบควบคุมความปลอดภัยด้านการจราจรของทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ และทางหลวงพิเศษหมายเลข 37 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ช่วงบางพลี-บางขุนเทียน ช่วงสุขสวัสดิ์-บางขุนเทียน มูลค่า 3,180 ล้านบาท และการก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร มูลค่าโครงการรวม 13,708 ล้านบาท สัญญาที่ 1 งานโยธาและงานไฟฟ้า และสัญญาที่ 4 งานระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง ระบบควบคุมจราจรและสื่อสาร
โดยมีผู้ซื้อเอกสารฯ รายการเดียว จำนวน 19 ราย และผู้ซื้อเอกสารมากกว่า 1 รายการ จำนวน 8 ราย แบ่งเป็นผู้ซื้อเอกสารประกวดราคา ของโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครฯ สัญญาที่ 1 ซึ่งเป็นงานในส่วนของงานโยธาและงานไฟฟ้า จำนวน 17 ราย ประกอบด้วย บริษัทเนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน), กิจการร่วมค้า เคอาร์ JOINT, บมจ.ยูนิคเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, บมจ.อิตาลียนไทย ดีเวล็อปเมนท์, บริษัท พรหมวิวัฒน์ จำกัด, บริษัทชัยนันท์ค้าวัสดุก่อสร้าง (2524) จำกัด, บริษัท ประยูรวิศว์การช่าง จำกัด, บริษัทโรจน์ก่อสร้าง จำกัด,บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัททิพากร จำกัด, บริษัทสี่แสงการโยธา (1979) จำกัด, บริษัทเอ็ม.ซี.คอนสตรัคชั่น (1979) จำกัด, บริษัทวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด, บริษัท กรุงธนเอ็นยิเนีย จำกัด, บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, บริษัทเอ เอส แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด และ บริษัท ช.การช่าง-โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด
ส่วนผู้ที่มาซื้อเอกสารประกวดราคา ของโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครฯ สัญญาที่ 4 ซึ่งเป็นงานในส่วนของระบบการจัดเก็บค่าผ่านทาง ระบบควบคุมจราจร และสื่อสาร มีจำนวน 10 ราย ประกอบด้วย บริษัท ซีเมนส์ จำกัด,บริษัท พี.ดี.คอนสตรัคชั่น จำกัด, บมจ.อิตาลียนไทย ดีเวล็อปเมนท์, บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัทล็อกซ์เลย์ จำกัด (มหาชน), บริษัท สมาร์ท แทรฟิค จำกัด, บริษัทเอ เอส แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด, บริษัท แอ็ดวานซ์อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (เอ.ไอ.คอนซัลเตี้ยม) บริษัท ยิบอินซอยและแยคส์ จำกัด และบริษัท จีเนียท์ ทรัฟฟิค ซิสเต็ม จำกัด
และ โครงการระบบเก็บค่าผ่านทางฯ บางพลี-สุขสวัสดิ์ มีผู้ที่สนใจมาซื้อเอกสารประกวดราคา จำนวน 10 ราย ประกอบด้วย บริษัท ซีเมนส์ จำกัด, บมจ.อิตาลียนไทย ดีเวล็อปเมนท์, บริษัท พรหมวิวัฒน์ จำกัด, บริษัท พี.พี.ดี คอนสตรัคชั่น จำกัด (Joint กับ บ.ฤทธา), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัทล็อกซ์เลย์ จำกัด (มหาชน), บริษัทวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด, บริษัท สมาร์ท แทรฟิค จำกัด, บริษัท คิว-ฟรี (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท มิตซูบิชิ คอร์โปเรชั่น จำกัด
ทั้งนี้ กทพ. ได้นัดบริษัทผู้สนใจซื้อเอกสารประกวดราคาทั้ง 27 ราย รับฟังรายละเอียดพร้อมตอบข้อสงสัยและดูสถานที่ก่อสร้าง โดย โครงการระบบเก็บค่าผ่านทางและระบบควบคุมความปลอดภัยด้านการจราจรฯ มีกำหนดดูสถานที่ก่อสร้างทางภาคสนามและชี้แจงรายละเอียดตอบข้อซักถามวันที่ 15 พ.ค.2549 เวลา 9.30 น. โครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร สัญญาที่ 1 และสัญญาที่ 4 มีกำหนดดูสถานที่ก่อสร้างทางภาคสนาม พร้อมชี้แจงรายละเอียดและตอบข้อซักถาม ในวันอังคารที่ 16 พ.ค.2549 เวลา 8.30 น