กระทรวงคมนาคมจับมือกระทรวงพลังงาน ออกมาตรการระยะสั้นและระยะยาว ช่วยผู้ประกอบการรถโดยสารและเรือโดยสาร เบื้องต้นจะลดราคาจำหน่ายน้ำมันดีเซลหน้าปั๊มให้รถร่วมบริการของ ขสมก.และ บขส.ลิตรละ 1 บาท มีผลภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายวิเศษ จูภิบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนผู้จำหน่ายน้ำมันในประเทศ ว่า ได้มีการออกมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรถโดยสารของบริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ลดต้นทุนประกอบการที่สูงขึ้นจากวิกฤติราคาน้ำมันในขณะนี้ และเป็นสาเหตุทำให้ผู้ประกอบการเรียกร้องขอปรับค่าโดยสารและกลายเป็นภาระของประชาชน ต้องมีค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพสูงขึ้น
ทั้งนี้ มาตรการระยะสั้นที่ประชุมเห็นร่วมกันที่จะลดราคาจำหน่ายน้ำมันดีเซลหน้าปั๊ม ให้รถร่วมบริการ ขสมก.และ บขส.ลงลิตรละ 1 บาท ให้มีผลนับตั้งแต่สิ้นเดือนเมษายนนี้ โดยล่าสุดได้มีผู้ประกอบการจำหน่ายน้ำมันหลายบริษัทตัดสินใจเข้มร่วมกับมาตรการแล้ว เช่น สถานีบริการเอสโซ่ เชลส์ คาลเท็กซ์ และบางจาก และหลังจากนี้กระทรวงคมนาคมจะนำทะเบียนรถร่วมบริการที่อยู่ในข่ายได้รับส่วนลด ซึ่งตัวเลขเบื้องต้นพบว่ามีอยู่ประมาณ 20,000 คัน และจำนวนไมล์ในการวิ่งมามอบให้กระทรวงพลังงาน โดยการลดราคาจำหน่ายหน้าปั๊มให้แก่ผู้ประกอบการดังกล่าว จะลดต้นทุนน้ำมันให้ผู้ประกอบการทั้งหมดได้ถึง 90 ล้านบาทต่อวัน หรือคิดเป็นเงิน 2,000 ล้านบาทต่อปี โดยมาตรการดังกล่าวนี้จะใช้ไปจนกว่าวิกฤติราคาน้ำมันจะผ่านไป
ส่วนมาตรการระยะยาวนั้นภาครัฐจะเร่งรัดการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ของรถโดยสารสาธารณะมาใช้พลังงานก๊าซเอ็นจีวีให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมค่าโดยสารได้ โดยจะมีมาตรการด้านภาษีมาดึงดูดใจการเปลี่ยนเครื่องยนต์ในอนาคต อย่างไรก็ตามหากระหว่างนี้ราคาน้ำมันดีเซลสูงขึ้นถึง 28.69 บาท ก็จะมีการเจรจากันอีกครั้ง ทั้งนี้ที่ประชุมยังได้มีการคาดการณ์ โดยเชื่อว่าราคาน้ำมันจะยังปรับราคาสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ แต่ยังไม่ได้มีการหารือถึงการแก้ปัญหาราคาค่าขนส่งของรถบรรทุกออกมา
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายวิเศษ จูภิบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนผู้จำหน่ายน้ำมันในประเทศ ว่า ได้มีการออกมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรถโดยสารของบริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ลดต้นทุนประกอบการที่สูงขึ้นจากวิกฤติราคาน้ำมันในขณะนี้ และเป็นสาเหตุทำให้ผู้ประกอบการเรียกร้องขอปรับค่าโดยสารและกลายเป็นภาระของประชาชน ต้องมีค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพสูงขึ้น
ทั้งนี้ มาตรการระยะสั้นที่ประชุมเห็นร่วมกันที่จะลดราคาจำหน่ายน้ำมันดีเซลหน้าปั๊ม ให้รถร่วมบริการ ขสมก.และ บขส.ลงลิตรละ 1 บาท ให้มีผลนับตั้งแต่สิ้นเดือนเมษายนนี้ โดยล่าสุดได้มีผู้ประกอบการจำหน่ายน้ำมันหลายบริษัทตัดสินใจเข้มร่วมกับมาตรการแล้ว เช่น สถานีบริการเอสโซ่ เชลส์ คาลเท็กซ์ และบางจาก และหลังจากนี้กระทรวงคมนาคมจะนำทะเบียนรถร่วมบริการที่อยู่ในข่ายได้รับส่วนลด ซึ่งตัวเลขเบื้องต้นพบว่ามีอยู่ประมาณ 20,000 คัน และจำนวนไมล์ในการวิ่งมามอบให้กระทรวงพลังงาน โดยการลดราคาจำหน่ายหน้าปั๊มให้แก่ผู้ประกอบการดังกล่าว จะลดต้นทุนน้ำมันให้ผู้ประกอบการทั้งหมดได้ถึง 90 ล้านบาทต่อวัน หรือคิดเป็นเงิน 2,000 ล้านบาทต่อปี โดยมาตรการดังกล่าวนี้จะใช้ไปจนกว่าวิกฤติราคาน้ำมันจะผ่านไป
ส่วนมาตรการระยะยาวนั้นภาครัฐจะเร่งรัดการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ของรถโดยสารสาธารณะมาใช้พลังงานก๊าซเอ็นจีวีให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมค่าโดยสารได้ โดยจะมีมาตรการด้านภาษีมาดึงดูดใจการเปลี่ยนเครื่องยนต์ในอนาคต อย่างไรก็ตามหากระหว่างนี้ราคาน้ำมันดีเซลสูงขึ้นถึง 28.69 บาท ก็จะมีการเจรจากันอีกครั้ง ทั้งนี้ที่ประชุมยังได้มีการคาดการณ์ โดยเชื่อว่าราคาน้ำมันจะยังปรับราคาสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ แต่ยังไม่ได้มีการหารือถึงการแก้ปัญหาราคาค่าขนส่งของรถบรรทุกออกมา