สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ระบุปตท.แหกตาประชาชน แยกกิจการท่อก๊าซไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง เผยยังเป็นการผูกขาดในธุรกิจท่อก๊าซของ ปตท.ฝ่ายเดียวทำให้กำหนดราคาขายแพง พร้อมแจงผลประโยชน์ทับซ้อนเพียบ โดยเฉพาะปลัดกระทรวงพลังงานที่เป็นทั้งกรรมการ ปตท. และกรรมการดูแลกิจการพลังงาน
น.ส.สารี อ่องสมหวัง เลขาธิการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า การที่ บมจ.ปตท. จะมีการแยกธุรกิจท่อก๊าซฯ ออกมาดำเนินการในรูปของบริษัทนั้น ไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้อง เพราะยังถือเป็นการตบตาประชาชน ทำให้สังคมเกิดความสับสนและไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เนื่องจาก ปตท. ยังคงอำนาจผูกขาดในธุรกิจท่อก๊าซฯ แต่เพียงรายเดียว ทำให้ ปตท.สามารถที่จะกำหนดราคาจำหน่ายก๊าซฯ และไม่ได้ทำให้ราคาก๊าซฯ ถูกลง การแยกธุรกิจท่อก๊าซฯ ปตท.ควรจะดำเนินการเมื่อ 4 ปีก่อนตามที่หนังสือชี้ชวนการกระจายหุ้นระบุไว้ แต่ที่มาดำเนินการขณะนี้ เนื่องจากเกิดจากการทวงถามจากบรรดาผู้ถือหุ้น
นอกจากนี้ ยังเห็นว่าการแปรรูป ปตท. ไม่ได้ช่วยให้เกิดประโยชน์อะไร กลับทำให้ประชาชนต้องซื้อก๊าซฯ และน้ำมันราคาแพง รวมทั้ง ปตท.ก็มีการนำเงินส่งให้รัฐในอัตราที่ลดลงจาก 280,000 ล้านบาท เหลือเพียง 140,000 ล้านบาท เพราะนำกำไรส่วนที่เหลือไปแบ่งปันกลุ่มผู้ถือหุ้น ซึ่งทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม
น.ส.สารี กล่าวอีกว่า ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคยังแสดงความผิดหวังกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ปตท. ที่ไม่ออกมารักษาผลประโยชน์ แตกต่างจากสหภาพแรงงานของหลายรัฐวิสาหกิจ เช่น ทีโอที ที่ออกมาต่อสู้เหมือนเช่นกรณีของ กฟผ. และอยากจะฝากไปถึงสหภาพฯ ปตท. ว่าการเติบโตของ ปตท.มาจากการใช้สมบัติสาธารณะ ซึ่งทางสหพันธ์ฯ จะมีการออกเอกสารเพื่อชี้แจงต่อสาธารณชนถึงเหตุผลที่จะมีการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพื่อดึงอำนาจผูกขาดของ ปตท. กลับมาเป็นของประชาชน
ด้าน น.ส.สายรุ้ง ทองปลอน ผู้จัดการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า การที่ ปตท.ทำแผนตั้งบริษัทท่อก๊าซฯ ไม่ใช่ทางแก้ปัญหา เพราะ ปตท. ยังคงเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) สิ่งสำคัญที่สหพันธ์ฯ ออกมาเคลื่อนไหว เพราะต้องการนำธุรกิจผูกขาดของ ปตท. กลับมาเป็นของประชาชน เนื่องจากธุรกิจท่อก๊าซฯ ก็เหมือนกับสายส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีอำนาจผูกขาด จัดหา ส่วนการตั้งองค์กรกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า ก็ต้องอยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ไม่ใช่เพียงเสือกระดาษ เหมือนกับคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการค่าไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังพบผลประโยชน์ทับซ้อนใน ปตท. ทำให้ขาดคุณสมบัติของการเป็นบริษัทที่มีธรรมาภิบาลที่ดี โดยเฉพาะนายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ปตท. ขณะเดียวกันก็ดำรงตำแหน่งกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งมีหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการพลังงาน ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าอาจจะเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อนได้
น.ส.สารี อ่องสมหวัง เลขาธิการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า การที่ บมจ.ปตท. จะมีการแยกธุรกิจท่อก๊าซฯ ออกมาดำเนินการในรูปของบริษัทนั้น ไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้อง เพราะยังถือเป็นการตบตาประชาชน ทำให้สังคมเกิดความสับสนและไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เนื่องจาก ปตท. ยังคงอำนาจผูกขาดในธุรกิจท่อก๊าซฯ แต่เพียงรายเดียว ทำให้ ปตท.สามารถที่จะกำหนดราคาจำหน่ายก๊าซฯ และไม่ได้ทำให้ราคาก๊าซฯ ถูกลง การแยกธุรกิจท่อก๊าซฯ ปตท.ควรจะดำเนินการเมื่อ 4 ปีก่อนตามที่หนังสือชี้ชวนการกระจายหุ้นระบุไว้ แต่ที่มาดำเนินการขณะนี้ เนื่องจากเกิดจากการทวงถามจากบรรดาผู้ถือหุ้น
นอกจากนี้ ยังเห็นว่าการแปรรูป ปตท. ไม่ได้ช่วยให้เกิดประโยชน์อะไร กลับทำให้ประชาชนต้องซื้อก๊าซฯ และน้ำมันราคาแพง รวมทั้ง ปตท.ก็มีการนำเงินส่งให้รัฐในอัตราที่ลดลงจาก 280,000 ล้านบาท เหลือเพียง 140,000 ล้านบาท เพราะนำกำไรส่วนที่เหลือไปแบ่งปันกลุ่มผู้ถือหุ้น ซึ่งทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม
น.ส.สารี กล่าวอีกว่า ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคยังแสดงความผิดหวังกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ปตท. ที่ไม่ออกมารักษาผลประโยชน์ แตกต่างจากสหภาพแรงงานของหลายรัฐวิสาหกิจ เช่น ทีโอที ที่ออกมาต่อสู้เหมือนเช่นกรณีของ กฟผ. และอยากจะฝากไปถึงสหภาพฯ ปตท. ว่าการเติบโตของ ปตท.มาจากการใช้สมบัติสาธารณะ ซึ่งทางสหพันธ์ฯ จะมีการออกเอกสารเพื่อชี้แจงต่อสาธารณชนถึงเหตุผลที่จะมีการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพื่อดึงอำนาจผูกขาดของ ปตท. กลับมาเป็นของประชาชน
ด้าน น.ส.สายรุ้ง ทองปลอน ผู้จัดการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า การที่ ปตท.ทำแผนตั้งบริษัทท่อก๊าซฯ ไม่ใช่ทางแก้ปัญหา เพราะ ปตท. ยังคงเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) สิ่งสำคัญที่สหพันธ์ฯ ออกมาเคลื่อนไหว เพราะต้องการนำธุรกิจผูกขาดของ ปตท. กลับมาเป็นของประชาชน เนื่องจากธุรกิจท่อก๊าซฯ ก็เหมือนกับสายส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีอำนาจผูกขาด จัดหา ส่วนการตั้งองค์กรกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า ก็ต้องอยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ไม่ใช่เพียงเสือกระดาษ เหมือนกับคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการค่าไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังพบผลประโยชน์ทับซ้อนใน ปตท. ทำให้ขาดคุณสมบัติของการเป็นบริษัทที่มีธรรมาภิบาลที่ดี โดยเฉพาะนายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ปตท. ขณะเดียวกันก็ดำรงตำแหน่งกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งมีหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการพลังงาน ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าอาจจะเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อนได้