ไม่มีใครฟันธงได้ว่าสาเหตุที่แท้จริงในการประกาศชัดเจนของ "เสี่ยเจียง" หรือนายสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ นายกสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ ว่าจะไม่เข้าร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯปี 2549 หรือ 2006 Bangkok Internation Film Festival ทั้งที่งานดังกล่าวได้ถูกริเริ่มและประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับ จนต้องถูกจัดขึ้นปีนี้เป็นปีที่ 4 ก็เพราะความร่วมมือระหว่าง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) และสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ
และเมื่อเกิดกระแสข่าวนี้ขึ้น ต่างคนต่างก็ไม่ยอมรับว่าสาเหตุที่แท้จริงคืออะไร ด้าน"เสี่ยเจียง"ก็อ้างว่า ททท.ไม่ให้เกียรติ เพราะปีนี้ททท.ทำหนังสือเชิญโดยตรงไปยังค่ายผู้ผลิตภาพยนตร์ ให้มาร่วมงานพร้อมส่งหนังเข้าประกวดตรงนี้"เสี่ยเจียง"พูดชัดเจนว่าเป็นการกระทำที่ข้ามหน้าสมาพันธ์ ทั้งที่ปีก่อนๆที่จัดงาน ททท.จะส่งหนังสือเชิญผ่านสมาพันธ์ฯ
ขณะที่ฝั่งททท.โดยนางจุฑามาศ ศิริวรรณ ผู้ว่าการ ททท. ก็ประกาศว่างานนี้เป็นงานระดับประเทศ ที่ภาครัฐโดย ททท.พยายามจัดขึ้นมาเพื่อหวังผลักดันให้อุตสาหกรรมหนังไทย และประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและประจักษ์ในสายตาคนทั่วโลกถึงศักยภาพการผลิต และโลเกชั่นถ่ายหนังที่เรามีอยู่ ซึ่งจะนำมาซึ่งรายได้เข้าประเทศ หากต้องมาเล่นแง่เล่นมุมกัน ก็เป็นที่น่าสงสารที่ผู้ผลิตหนังไทยจะเสียโอกาสเป็นอย่างมากหากไม่เข้าร่วมงานบางกอกฟิล์มปีนี้
"งานบางกอกฟิล์มจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 17-27 กุมภาพันธ์ศกนี้ โดยจะมีผู้ซื้อขายภาพยนตร์มาเข้าร่วมงานกว่า 150 ราย พร้อมสตูดิโอถ่ายทำภาพยนตร์จากฮอลีวู๊ดอีกประมาณ 20 ราย ตั้งเป้ายอดการซื้อขายหนังไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท ตรงนี้แม้แต่ไปออกงานที่เมืองคานก็ยังไม่ได้เจอผู้ซื้อหรือสตูดิโอจำนวนมากอย่างนี้ แถมยังต้องเสียเงินสำหรับค่าที่พักและการเดินทางไปร่วมงานอีกด้วย และเวทีนี้ททท.ต้องการให้ผู้สร้างหนังคนไทย ทั้งรายเล็กและรายใหญ่เข้าร่วมงานอย่างทั่วถึง ถือเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีในบ้านเราได้อีกทางหนึ่ง ก็อยากให้ทุกคนมองเห็นประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก"
ทั้งนี้แม้ว่าสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติจะประกาศไม่เข้าร่วมงานบางกอกฟิล์ม แต่ก็ยังมีบริษัทหนังบางรายที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯดังกล่าวส่งหนังมาเข้าร่วมงาน โดยล่าสุดบริษัทที่จะนำภาพยนตร์ไทยเข้าร่วมฉายในงานบางกอกฟิล์มปีนี้ถึง 15 เรื่องจากหนังที่จะเข้าร่วมฉายทั้งหมด 150 เรื่องจากทั่วโลก ซึ่งมาจากหลายค่ายหนัง เช่น กันตนา ,ไฟว์สตาร์ ,จีทีเอช ,จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอสโปรโมชั่น เป็นต้น
อย่างไรก็ตามบทสรุปในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า การทำงานระหว่างภาครัฐและเอกชน ยังไม่มีความเป็นนำหนึ่งใจเดียวกันเท่าที่ควร ขณะเดียวกันยังเห็นได้อีกว่าจะมีเรื่องก๊กก๊วนในกลุ่มผู้ที่อยู่ในธุรกิจเดียวกัน ซึ่งตรงกันกับที่นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้มองเห็นประจักษ์แล้วว่าความไม่คืบหน้าของการทำงานของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ส่วนหนึ่งมาจากยังสลายขั้วอำนาจในแต่ละแขนงธุรกิจและสมาคมยังไม่เสร็จสิ้น ประกอบกับการทำงานของข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ก็ไม่ได้ร่วมมือและหันมาพูดคุยกันอย่างแท้จริง ทั้งธุรกิจทัวร์นำเที่ยว วงการไกด์ วงการผู้สร้างภาพยนตร์ ตลอดเลยไปถึงด้านกีฬา ที่มีทั้งวงการมวย และวงการฟุตบอล ทั้งหมดถือเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่ต้องเร่งสะสาง
และเมื่อเกิดกระแสข่าวนี้ขึ้น ต่างคนต่างก็ไม่ยอมรับว่าสาเหตุที่แท้จริงคืออะไร ด้าน"เสี่ยเจียง"ก็อ้างว่า ททท.ไม่ให้เกียรติ เพราะปีนี้ททท.ทำหนังสือเชิญโดยตรงไปยังค่ายผู้ผลิตภาพยนตร์ ให้มาร่วมงานพร้อมส่งหนังเข้าประกวดตรงนี้"เสี่ยเจียง"พูดชัดเจนว่าเป็นการกระทำที่ข้ามหน้าสมาพันธ์ ทั้งที่ปีก่อนๆที่จัดงาน ททท.จะส่งหนังสือเชิญผ่านสมาพันธ์ฯ
ขณะที่ฝั่งททท.โดยนางจุฑามาศ ศิริวรรณ ผู้ว่าการ ททท. ก็ประกาศว่างานนี้เป็นงานระดับประเทศ ที่ภาครัฐโดย ททท.พยายามจัดขึ้นมาเพื่อหวังผลักดันให้อุตสาหกรรมหนังไทย และประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและประจักษ์ในสายตาคนทั่วโลกถึงศักยภาพการผลิต และโลเกชั่นถ่ายหนังที่เรามีอยู่ ซึ่งจะนำมาซึ่งรายได้เข้าประเทศ หากต้องมาเล่นแง่เล่นมุมกัน ก็เป็นที่น่าสงสารที่ผู้ผลิตหนังไทยจะเสียโอกาสเป็นอย่างมากหากไม่เข้าร่วมงานบางกอกฟิล์มปีนี้
"งานบางกอกฟิล์มจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 17-27 กุมภาพันธ์ศกนี้ โดยจะมีผู้ซื้อขายภาพยนตร์มาเข้าร่วมงานกว่า 150 ราย พร้อมสตูดิโอถ่ายทำภาพยนตร์จากฮอลีวู๊ดอีกประมาณ 20 ราย ตั้งเป้ายอดการซื้อขายหนังไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท ตรงนี้แม้แต่ไปออกงานที่เมืองคานก็ยังไม่ได้เจอผู้ซื้อหรือสตูดิโอจำนวนมากอย่างนี้ แถมยังต้องเสียเงินสำหรับค่าที่พักและการเดินทางไปร่วมงานอีกด้วย และเวทีนี้ททท.ต้องการให้ผู้สร้างหนังคนไทย ทั้งรายเล็กและรายใหญ่เข้าร่วมงานอย่างทั่วถึง ถือเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีในบ้านเราได้อีกทางหนึ่ง ก็อยากให้ทุกคนมองเห็นประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก"
ทั้งนี้แม้ว่าสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติจะประกาศไม่เข้าร่วมงานบางกอกฟิล์ม แต่ก็ยังมีบริษัทหนังบางรายที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯดังกล่าวส่งหนังมาเข้าร่วมงาน โดยล่าสุดบริษัทที่จะนำภาพยนตร์ไทยเข้าร่วมฉายในงานบางกอกฟิล์มปีนี้ถึง 15 เรื่องจากหนังที่จะเข้าร่วมฉายทั้งหมด 150 เรื่องจากทั่วโลก ซึ่งมาจากหลายค่ายหนัง เช่น กันตนา ,ไฟว์สตาร์ ,จีทีเอช ,จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอสโปรโมชั่น เป็นต้น
อย่างไรก็ตามบทสรุปในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า การทำงานระหว่างภาครัฐและเอกชน ยังไม่มีความเป็นนำหนึ่งใจเดียวกันเท่าที่ควร ขณะเดียวกันยังเห็นได้อีกว่าจะมีเรื่องก๊กก๊วนในกลุ่มผู้ที่อยู่ในธุรกิจเดียวกัน ซึ่งตรงกันกับที่นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้มองเห็นประจักษ์แล้วว่าความไม่คืบหน้าของการทำงานของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ส่วนหนึ่งมาจากยังสลายขั้วอำนาจในแต่ละแขนงธุรกิจและสมาคมยังไม่เสร็จสิ้น ประกอบกับการทำงานของข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ก็ไม่ได้ร่วมมือและหันมาพูดคุยกันอย่างแท้จริง ทั้งธุรกิจทัวร์นำเที่ยว วงการไกด์ วงการผู้สร้างภาพยนตร์ ตลอดเลยไปถึงด้านกีฬา ที่มีทั้งวงการมวย และวงการฟุตบอล ทั้งหมดถือเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่ต้องเร่งสะสาง