นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงการคลังไปศึกษาแนวทางที่ผู้บริจาคเงิน เพื่อแก้ปัญหายากจนในพื้นที่พิเศษ สามารถได้ประโยชน์จากการลดหย่อนภาษี
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ ร่วมกับผู้บริหารศูนย์ต่อสู้ปัญหาความยากจน (ศตจ.) ว่า ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังไปศึกษาความเป็นไปได้ที่ผู้บริจาคเงิน ไปสู่พื้นที่เป้าหมาย ให้สอดคล้องกับพื้นที่ที่ต้องการแก้ปัญหาความยากจนของรัฐ โดยขอให้กระทรวงการคลังศึกษาว่า จะทำได้มากน้อยแค่ไหน และกระทบกับรายได้ภาษีของภาครัฐอย่างไร
“เช่นคนที่ต้องการบริจาคเงินเพื่อพัฒนาศูนย์เรียนรู้ ที่อำเภออาจสามารถ เป็นเงิน 1 แสนบาท ซึ่งปกติเงินบริจาคจะหักลดหย่อนภาษีได้ 200% และหากผู้บริจาคต้องเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา 37% ก็จะเท่ากับ 37% ของเงิน 2 แสนบาท และเขาต้องควักอีก 26% ในลักษณะเช่นนี้ก็คล้ายกับการลงขันบริจาค ร่วมกันระหว่างภาครัฐและประชาชน ทำให้ผู้บริจาคได้ประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีอีกนิดหน่อย ซึ่งแม้ว่าภาครัฐจะต้องเสียรายได้ภาษีไปบ้าง แต่เงินส่วนนี้ ไปเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาพื้นที่ยากจน” นายกรัฐมนตรี กล่าว
ด้านนายธนินท์ เจียรวนนท์ ที่ปรึกษา สตจ. กล่าวว่า สำหรับแนวทางแก้ปัญหาความยากจนในอนาคตนั้น ในส่วนของปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรถือเป็นนโยบายสำคัญ โดยภาครัฐควรปล่อยให้ราคาผลผลิตการเกษตรเป็นไปตามกลไกราคาตลาด ไม่ควรเข้าไปแทรกแซง สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนของ ศตจ. นั้น ถือว่ารัฐบาลเดินมาถูกทาง คือนอกจากการแก้ปัญหาเรื่องรายได้แล้ว ยังมีเป้าหมายให้การเพิ่มคุณภาพชีวิตทั้งด้านสาธารณสุข และด้านการศึกษาไปพร้อมกัน ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาความยากจนที่ยั่งยืน
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ ร่วมกับผู้บริหารศูนย์ต่อสู้ปัญหาความยากจน (ศตจ.) ว่า ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังไปศึกษาความเป็นไปได้ที่ผู้บริจาคเงิน ไปสู่พื้นที่เป้าหมาย ให้สอดคล้องกับพื้นที่ที่ต้องการแก้ปัญหาความยากจนของรัฐ โดยขอให้กระทรวงการคลังศึกษาว่า จะทำได้มากน้อยแค่ไหน และกระทบกับรายได้ภาษีของภาครัฐอย่างไร
“เช่นคนที่ต้องการบริจาคเงินเพื่อพัฒนาศูนย์เรียนรู้ ที่อำเภออาจสามารถ เป็นเงิน 1 แสนบาท ซึ่งปกติเงินบริจาคจะหักลดหย่อนภาษีได้ 200% และหากผู้บริจาคต้องเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา 37% ก็จะเท่ากับ 37% ของเงิน 2 แสนบาท และเขาต้องควักอีก 26% ในลักษณะเช่นนี้ก็คล้ายกับการลงขันบริจาค ร่วมกันระหว่างภาครัฐและประชาชน ทำให้ผู้บริจาคได้ประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีอีกนิดหน่อย ซึ่งแม้ว่าภาครัฐจะต้องเสียรายได้ภาษีไปบ้าง แต่เงินส่วนนี้ ไปเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาพื้นที่ยากจน” นายกรัฐมนตรี กล่าว
ด้านนายธนินท์ เจียรวนนท์ ที่ปรึกษา สตจ. กล่าวว่า สำหรับแนวทางแก้ปัญหาความยากจนในอนาคตนั้น ในส่วนของปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรถือเป็นนโยบายสำคัญ โดยภาครัฐควรปล่อยให้ราคาผลผลิตการเกษตรเป็นไปตามกลไกราคาตลาด ไม่ควรเข้าไปแทรกแซง สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนของ ศตจ. นั้น ถือว่ารัฐบาลเดินมาถูกทาง คือนอกจากการแก้ปัญหาเรื่องรายได้แล้ว ยังมีเป้าหมายให้การเพิ่มคุณภาพชีวิตทั้งด้านสาธารณสุข และด้านการศึกษาไปพร้อมกัน ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาความยากจนที่ยั่งยืน