รมช.คมนาคมยืนยันพร้อมชี้แจง “ปองพล อดิเรกสาร” ในฐานะอดีตผู้อำนวยการองค์การขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) กรณียุบเลิกกิจการ โดยยอมรับจำใจไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ด้วย 3 เงื่อนไข ทั้งการโดนอายัดบัญชี ปัญหาความไม่โปร่งใส และไม่จำเป็นต้องมีองค์กรไปทำธุรกิจแข่งกับเอกชน
นายภูมิธรรม เวชยชัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกรณีที่นายปองพล อดิเรกสาร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย และอดีต ผอ.ร.ส.พ.หลายสมัย ออกมาระบุว่า การยุบเลิกกิจการเป็นเรื่องไม่เหมาะสม โดยกระทรวงคมนาคมควรใช้เงินที่จะชำระหนี้ 1,800 ล้านบาทไปฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งการยุบเลิกกิจการจะทำให้ขาดหน่วยงานบริการขนส่งสินค้าของภาครัฐ ที่ช่วยถ่วงดุลให้ราคาค่าขนส่งของภาคเอกชนอยู่ในระดับต่ำ และทำให้เอกชนได้รับประโยชน์โดยตรงจากการยุบกิจการครั้งนี้
โดยนายภูมิธรรม กล่าวว่า นายปองพลเป็นผู้ใหญ่ของพรรคที่ตนเคารพ และเมื่อมีโอกาสพบก็จะชี้แจงให้เข้าใจสาเหตุการยุบเลิกกิจการทันที ทั้งนี้เข้าใจเหตุผลของนายปองพลดี เพราะในช่วงที่นายปองพลเป็นผู้บริหาร ร.ส.พ.อยู่ก็เป็นช่วงหนึ่ง ที่ทำให้ ร.ส.พ.กลับมามีกำไร โดยเมื่อตนเข้ามารับผิดชอบ กำกับดูแล ร.ส.พ. ก็เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ และปัญหาที่สะสมมานาน จนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
สิ่งสำคัญคือการที่ ร.ส.พ.โดนเจ้าหนี้ฟ้องอายัดบัญชี จนไม่สามารถเบิกจ่ายเงินเดือนให้พนักงานได้ รวมถึงปัญหาการทุจริตไม่โปร่งใสภายในองค์กร ซึ่งมีข้อเท็จจริงยืนยันว่า ที่ผ่านมาในปีงบประมาณ 2545 เป็นต้นมา สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ไม่เซ็นรับรองงบการเงินแก่ ร.ส.พ. ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันถึงปัญหาความรั่วไหลได้ดี รวมทั้งสถานการณ์ปัจจุบัน ภาครัฐไม่จำเป็นต้องไปดำเนินการด้านธุรกิจขนส่งมวลชนแข่งกับเอกชน และควรอยู่ในฐานะกำกับดูแลมากกว่า เนื่องจากหน่วยงานเช่น กรมการขนส่งทางบก ก็ทำหน้าที่ได้ดีอยู่แล้ว
สำหรับแผนการจัดการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพนักงาน ร.ส.พ. 1,600 คน นั้น หลังมีพระราชกฤษฎีกา ยุบเลิกการแล้ว กระทรวงคมนาคม จะจัดลำดับความสำคัญ ให้การชำระคืนหนี้พนักงาน เป็นการชำระบัญชีอันดับแรก ภายใน 30 วัน ก่อนการชำระหนี้การค้าด้วย โดยพนักงาน ร.ส.พ.ทั้งหมด จะได้รับเงิดชดเชยตามกฎหมาย สำหรับการจัดหางานให้ใหม่นี้ ในสัดส่วนพนักงานทั้งหมด จะมีพนักงาน 600 - 700 คน ที่สูงอายุและพร้อมเข้าโครงการเกษียณอายุทำงานก่อนกำหนด (Early Retire ) โดยส่วนที่เหลือ 500 - 700 คน จะถูกโอนย้ายไปรัฐวิสาหกิจด้านการขนส่งทางบกอื่นๆ และมี 300 คนที่จะเข้ากระบวนการช่วยเหลือของสถาบันการเงิน ในการจัดหาอาชีพ เช่น การให้เช่าซื้อรถขนส่งสินค้าในท่าเรือ และเช่าซื้อขับรถแท็กซี่ ซึ่งจะช่วยให้การแก้ปัญหาพนักงาน ร.ส.พ.ได้ข้อยุติที่ดีในที่สุด
นายภูมิธรรม เวชยชัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกรณีที่นายปองพล อดิเรกสาร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย และอดีต ผอ.ร.ส.พ.หลายสมัย ออกมาระบุว่า การยุบเลิกกิจการเป็นเรื่องไม่เหมาะสม โดยกระทรวงคมนาคมควรใช้เงินที่จะชำระหนี้ 1,800 ล้านบาทไปฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งการยุบเลิกกิจการจะทำให้ขาดหน่วยงานบริการขนส่งสินค้าของภาครัฐ ที่ช่วยถ่วงดุลให้ราคาค่าขนส่งของภาคเอกชนอยู่ในระดับต่ำ และทำให้เอกชนได้รับประโยชน์โดยตรงจากการยุบกิจการครั้งนี้
โดยนายภูมิธรรม กล่าวว่า นายปองพลเป็นผู้ใหญ่ของพรรคที่ตนเคารพ และเมื่อมีโอกาสพบก็จะชี้แจงให้เข้าใจสาเหตุการยุบเลิกกิจการทันที ทั้งนี้เข้าใจเหตุผลของนายปองพลดี เพราะในช่วงที่นายปองพลเป็นผู้บริหาร ร.ส.พ.อยู่ก็เป็นช่วงหนึ่ง ที่ทำให้ ร.ส.พ.กลับมามีกำไร โดยเมื่อตนเข้ามารับผิดชอบ กำกับดูแล ร.ส.พ. ก็เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ และปัญหาที่สะสมมานาน จนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
สิ่งสำคัญคือการที่ ร.ส.พ.โดนเจ้าหนี้ฟ้องอายัดบัญชี จนไม่สามารถเบิกจ่ายเงินเดือนให้พนักงานได้ รวมถึงปัญหาการทุจริตไม่โปร่งใสภายในองค์กร ซึ่งมีข้อเท็จจริงยืนยันว่า ที่ผ่านมาในปีงบประมาณ 2545 เป็นต้นมา สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ไม่เซ็นรับรองงบการเงินแก่ ร.ส.พ. ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันถึงปัญหาความรั่วไหลได้ดี รวมทั้งสถานการณ์ปัจจุบัน ภาครัฐไม่จำเป็นต้องไปดำเนินการด้านธุรกิจขนส่งมวลชนแข่งกับเอกชน และควรอยู่ในฐานะกำกับดูแลมากกว่า เนื่องจากหน่วยงานเช่น กรมการขนส่งทางบก ก็ทำหน้าที่ได้ดีอยู่แล้ว
สำหรับแผนการจัดการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพนักงาน ร.ส.พ. 1,600 คน นั้น หลังมีพระราชกฤษฎีกา ยุบเลิกการแล้ว กระทรวงคมนาคม จะจัดลำดับความสำคัญ ให้การชำระคืนหนี้พนักงาน เป็นการชำระบัญชีอันดับแรก ภายใน 30 วัน ก่อนการชำระหนี้การค้าด้วย โดยพนักงาน ร.ส.พ.ทั้งหมด จะได้รับเงิดชดเชยตามกฎหมาย สำหรับการจัดหางานให้ใหม่นี้ ในสัดส่วนพนักงานทั้งหมด จะมีพนักงาน 600 - 700 คน ที่สูงอายุและพร้อมเข้าโครงการเกษียณอายุทำงานก่อนกำหนด (Early Retire ) โดยส่วนที่เหลือ 500 - 700 คน จะถูกโอนย้ายไปรัฐวิสาหกิจด้านการขนส่งทางบกอื่นๆ และมี 300 คนที่จะเข้ากระบวนการช่วยเหลือของสถาบันการเงิน ในการจัดหาอาชีพ เช่น การให้เช่าซื้อรถขนส่งสินค้าในท่าเรือ และเช่าซื้อขับรถแท็กซี่ ซึ่งจะช่วยให้การแก้ปัญหาพนักงาน ร.ส.พ.ได้ข้อยุติที่ดีในที่สุด