ไทยสมาร์ทคาร์ด ดีเดย์เปิดขายบัตรเงินสด สมาร์ทเพิร์ส 15 ธ.ค.นี้ เล็งปีหน้าเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 600 ล้านบาท ลงทุนเพิ่มวางระบบเครือข่ายให้ครบ 30,000 จุดใน 5 ปี พร้อมนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ “ก่อศักดิ์” ฟุ้ง กลุ่มทุนต่างชาติรุมตอม ของเข้าถือหุ้น คุยเป็นบริษัทมีอนาคต ชี้รายได้หลักบริษัทจะมาจากการขายระบบ และ ค่าธรรมเนียม
นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยสมาร์ท คาร์ด จำกัด หรือทีเอสซีเปิดเผยว่า ในวันที่ 15 ธันวาคมศกนี้ บริษัทจะเปิดจำหน่ายบัตร “สมาร์ทเพิร์ส” ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 1,500 สาขาในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และภายในวันที่ 15 มกราคม 49 จะมีบัตร “สมาร์ทเพิร์ส”วางจำหน่ายที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขาทั่วประเทศ ซึ่งมีราคาวางจำหน่ายที่ใบละ 250 บาท
“สมาร์ทเพิร์ส เป็นบัตรเงินสดดิจิตอล ระบบออฟไลน์แบบเติมเงิน และเก็บข้อมูลในระบบชิพแทนระบบแถบแม่เหล็ก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เก็บข้อมูลได้สูงสุด ปลอดภัยและป้องกันการแฮกซ์ข้อมูลและโจรกรรมเงินสดได้บัญชีธนาคารได้”
**ปีหน้าระดมทุนเพิ่ม600ล้านบาท**
ทั้งนี้ปัจจุบัน บริษัท มีทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท และได้ลงทุนในเรื่องของการติดตั้งระบบและพัฒนาซอฟแวร์ไปแล้วเป็นจำนวน 400 ล้านบาท ซึ่งหลังจากการเปิดตัวบัตรดังกล่าว ในปีหน้าบริษัทเตรียมเพิ่มทุนอีก 600 ล้านบาท เพื่อนำเงินส่วนหนึ่งไปใช้ติดตั้งระบบและเครื่องรูดบัตรตามร้านค้าที่เข้าร่วม ซึ่งขณะนี้มีทั้งกองทุน และสถานบันการเงินต่างประเทศหลายรายสนใจเข้าร่วมลงทุน เช่น กลุ่มทุนจากประเทศ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ เป็นต้น โดยตั้งเป้าหมายภายใน 5 ปี บริษัทจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และจะมีร้านค้าที่รับบัตรสมาร์ทเพิร์สไม่น้อยกว่า 30,000 แห่ง จากปีแรกของการเปิดตัวหรือภายในสิ้นปี 2549 จะมีร้านค้าที่รับบัตรนี้จำนวน 10,000 ร้านค้า
“ขณะนี้ผู้ถือหุ้นใหญ่ 51 % เป็นกลุ่มสถาบันการเงิน และ ซีพี เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัดถือหุ้นกว่า 30% ที่เหลืออีกกว่า 10% คือ บริษัท ทรู คอปอเรชั่น ฯ บริษัทบัตรกรุงไทย บริษัท ล็อกซเล่ และ เอสวีโอเอ”
ล่าสุดมีร้านค้า และธุรกิจบริการ เข้าร่วมเซ็นสัญญาติดตั้งระบบเพื่อรับการใช้จ่ายผ่านบัตร สมาร์ทเพิร์สแล้วรวม 60 ราย ทั้งกลุ่มธุรกรรมทางการเงิน ร้านอาหาร เอ็นเตอร์เทนเมนท์ สื่อสื่อสาร ขนส่ง และร้านค้าปลีกต่างๆ เช่น ร้านเชสเตอร์กริล และกลุ่มร้านอาหารของไมเนอร์ฟู้ดส์ เคาท์เตอร์เซอร์วิส ไอกรีมสเว่นเซ่น รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดิน โรงภาพยนตร์เอสเอฟ บริษัททรู และออเร้นท์ ร้านหนังสือบุ๊คสไมล์ 108ช้อป และร้านกาแฟระดับเชนต่างๆ เป็นต้น โดยอนาคต สามารถขยายการจับจ่ายและทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบัตรสมาร์ทเพิร์ส ได้อีกในหลายๆด้าน เช่น จ่ายค่าแท็กซี่ ค่าทางด่วน หรือการเก็บข้อมูลคนไข้ของโรงพยาบาลผ่านบัตร ซึ่งขณะนี้กำลังพิจารณาที่จะออกบัตรเฉพาะกิจให้กับองค์กรต่างๆ ที่จะต้องมีการโอนเงินจำนวนมาก เช่น ค่าหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน และการจ่ายเงินสั่งซื้อสินค้าในระบบขายตรงแบบหลายชั้น
สำหรับการเติมเงินผ่านบัตรสมาร์ทเพิร์สปัจจุบัน สามารถเติมเงินได้ตั้งแต่ 50 – 10,000 บาท สามารถเติมเงินผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่นได้ทุกสาขา และในปีหน้าจะสามารถเติมเงินผ่านเอทีเอ็มธนาคาร จุดเคาท์เตอร์เซอร์วิส ที่มีกว่า 5,000 แห่งทั่วประเทศ ตลอดจนการเติมเงินผ่านอินเทอร์เน็ต หรือผ่านโทรศัพท์
**เป้า 5 ปี 5 ล้านใบ**
นายก่อศักดิ์ กล่าวว่า ปีแรกตั้งเป้าว่าจะมีผู้ถือบัตรสมาร์ทเพิร์สไม่น้อยกว่า 1 ล้านใบ และมีการใช้เงินผ่านบัตรนี้ไม่น้อยกว่า 1-2 ร้อยล้านบาท และเพิ่มเป็นไม่น้อยกว่า 5 ล้านใบ ใน 5 ปีข้างหน้า ลูกค้าส่วนหนึ่งมาจากผู้ที่ซื้อบัตรสมาร์ทเพิร์สโดยตรงที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น และอีกส่วนหนึ่งจะมาจากบริษัทหรือร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ เช่น หากร้านค้าใดต้องการออกบัตรสมาร์ทเพิร์สเอง โดยทำการตลาดเองแต่จะใช้ระบบของสมาร์ทเพิร์สไปติดตั้งก็ได้ เพราะจะได้สามารถทำการตลาดจัด และ และยังสามารถเก็บข้อมูลและพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้า เพื่อไปใช้ประโยชน์ในเรื่องของการทำแคมเปญโปรโมชั่นส่งเสริมการขายได้
“บริษัทได้ไลน์เซ่นจากบริษัท วีซ่า ประเทศไทยเพียงรายเดียว ให้ใช้โลโก้ VISA Cash โดยในอนาคต สมาร์ทเพิร์ส จะเป็นเจเนอริกเนม ต่อท้าย ชื่อเจ้าของบัตร เช่น เคเอฟซี สมาร์ทเพิร์ส เป็นต้น และนอกจากโลโก้ สมาร์ทเพิร์ส และโลโก้ VISA Cash แล้วยังมีโลโก้ สมาร์ทพลัส เพื่อใช้ในการสะสมแต้มของการจับจ่ายแต่ละครั้ง เพื่อไปรับแลกของรางวัลได้”
**อัดงบประชาสัมพันธ์ 180 ล้านบาท**
อย่างไรก็ตาม รายได้หลักของบริษัท 40% มาจากค่า Merchant Discount Rate หรือค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บกับร้านค้า ซึ่งเราจัดเก็บในอัตรา 1-2% อีกส่วนหนึ่งมาจากการจำหน่ายบัตรสมาร์ทเพิร์ท และค่ารอยัลตี้โปรแกรมให้กับองค์กรที่สนใจ
ทั้งนี้เบื้องต้นลูกค้าหลักจะเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ และวัยทำงานตอนต้น ที่ต้องการความสะดวกสบาย จากนั้นจะกระจายสู่คนทั่วไปได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยบริษัทใช้งบโฆษณาประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้แก่ประชาชนในช่วงจากนี้ถึง พฤษภาคมปีนหน้า เป็นวงเงินรวม 180 ล้านบาท ผ่านซื้อโฆษณาทางโทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ
“ภายในปี 2551 สถานบันการเงิน และบริษัทบัตรเครดิต ทั้งหมด จะต้องยกเลิกการใช้บัตรระบบแถบแม่เหล็ก และต้องมาใช้ระบบชิพเพื่อเก็บข้อมูลแทน ซึ่งปีหน้ามีหลายธนาคารจะเริ่มเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มเป็นแบบชิพ ซึ่งตรงนี้เราสามารถขายระบบซอฟแวร์ หรือ รับเข้ามาอยู่ในเครือข่ายได้ ซึ่ง องค์กรเหล่านั้นก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนใหม่ ตรงนี้จะทำให้เรามีฐานลูกค้าที่ใหญ่ และมีรายได้จำนวนมหาศาลจากจำนวนยอดผู้ใช้จ่ายผ่านบัตร จึงเป็นบริษัทที่น่าสนใจในการลงทุน ขณะเดียวกัน ประเทศเพื่อบ้านอย่าง ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย มีบัตรในลักษณะนี้ใช้แล้วเช่นกัน ”
นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยสมาร์ท คาร์ด จำกัด หรือทีเอสซีเปิดเผยว่า ในวันที่ 15 ธันวาคมศกนี้ บริษัทจะเปิดจำหน่ายบัตร “สมาร์ทเพิร์ส” ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 1,500 สาขาในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และภายในวันที่ 15 มกราคม 49 จะมีบัตร “สมาร์ทเพิร์ส”วางจำหน่ายที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขาทั่วประเทศ ซึ่งมีราคาวางจำหน่ายที่ใบละ 250 บาท
“สมาร์ทเพิร์ส เป็นบัตรเงินสดดิจิตอล ระบบออฟไลน์แบบเติมเงิน และเก็บข้อมูลในระบบชิพแทนระบบแถบแม่เหล็ก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เก็บข้อมูลได้สูงสุด ปลอดภัยและป้องกันการแฮกซ์ข้อมูลและโจรกรรมเงินสดได้บัญชีธนาคารได้”
**ปีหน้าระดมทุนเพิ่ม600ล้านบาท**
ทั้งนี้ปัจจุบัน บริษัท มีทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท และได้ลงทุนในเรื่องของการติดตั้งระบบและพัฒนาซอฟแวร์ไปแล้วเป็นจำนวน 400 ล้านบาท ซึ่งหลังจากการเปิดตัวบัตรดังกล่าว ในปีหน้าบริษัทเตรียมเพิ่มทุนอีก 600 ล้านบาท เพื่อนำเงินส่วนหนึ่งไปใช้ติดตั้งระบบและเครื่องรูดบัตรตามร้านค้าที่เข้าร่วม ซึ่งขณะนี้มีทั้งกองทุน และสถานบันการเงินต่างประเทศหลายรายสนใจเข้าร่วมลงทุน เช่น กลุ่มทุนจากประเทศ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ เป็นต้น โดยตั้งเป้าหมายภายใน 5 ปี บริษัทจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และจะมีร้านค้าที่รับบัตรสมาร์ทเพิร์สไม่น้อยกว่า 30,000 แห่ง จากปีแรกของการเปิดตัวหรือภายในสิ้นปี 2549 จะมีร้านค้าที่รับบัตรนี้จำนวน 10,000 ร้านค้า
“ขณะนี้ผู้ถือหุ้นใหญ่ 51 % เป็นกลุ่มสถาบันการเงิน และ ซีพี เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัดถือหุ้นกว่า 30% ที่เหลืออีกกว่า 10% คือ บริษัท ทรู คอปอเรชั่น ฯ บริษัทบัตรกรุงไทย บริษัท ล็อกซเล่ และ เอสวีโอเอ”
ล่าสุดมีร้านค้า และธุรกิจบริการ เข้าร่วมเซ็นสัญญาติดตั้งระบบเพื่อรับการใช้จ่ายผ่านบัตร สมาร์ทเพิร์สแล้วรวม 60 ราย ทั้งกลุ่มธุรกรรมทางการเงิน ร้านอาหาร เอ็นเตอร์เทนเมนท์ สื่อสื่อสาร ขนส่ง และร้านค้าปลีกต่างๆ เช่น ร้านเชสเตอร์กริล และกลุ่มร้านอาหารของไมเนอร์ฟู้ดส์ เคาท์เตอร์เซอร์วิส ไอกรีมสเว่นเซ่น รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดิน โรงภาพยนตร์เอสเอฟ บริษัททรู และออเร้นท์ ร้านหนังสือบุ๊คสไมล์ 108ช้อป และร้านกาแฟระดับเชนต่างๆ เป็นต้น โดยอนาคต สามารถขยายการจับจ่ายและทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบัตรสมาร์ทเพิร์ส ได้อีกในหลายๆด้าน เช่น จ่ายค่าแท็กซี่ ค่าทางด่วน หรือการเก็บข้อมูลคนไข้ของโรงพยาบาลผ่านบัตร ซึ่งขณะนี้กำลังพิจารณาที่จะออกบัตรเฉพาะกิจให้กับองค์กรต่างๆ ที่จะต้องมีการโอนเงินจำนวนมาก เช่น ค่าหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน และการจ่ายเงินสั่งซื้อสินค้าในระบบขายตรงแบบหลายชั้น
สำหรับการเติมเงินผ่านบัตรสมาร์ทเพิร์สปัจจุบัน สามารถเติมเงินได้ตั้งแต่ 50 – 10,000 บาท สามารถเติมเงินผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่นได้ทุกสาขา และในปีหน้าจะสามารถเติมเงินผ่านเอทีเอ็มธนาคาร จุดเคาท์เตอร์เซอร์วิส ที่มีกว่า 5,000 แห่งทั่วประเทศ ตลอดจนการเติมเงินผ่านอินเทอร์เน็ต หรือผ่านโทรศัพท์
**เป้า 5 ปี 5 ล้านใบ**
นายก่อศักดิ์ กล่าวว่า ปีแรกตั้งเป้าว่าจะมีผู้ถือบัตรสมาร์ทเพิร์สไม่น้อยกว่า 1 ล้านใบ และมีการใช้เงินผ่านบัตรนี้ไม่น้อยกว่า 1-2 ร้อยล้านบาท และเพิ่มเป็นไม่น้อยกว่า 5 ล้านใบ ใน 5 ปีข้างหน้า ลูกค้าส่วนหนึ่งมาจากผู้ที่ซื้อบัตรสมาร์ทเพิร์สโดยตรงที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น และอีกส่วนหนึ่งจะมาจากบริษัทหรือร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ เช่น หากร้านค้าใดต้องการออกบัตรสมาร์ทเพิร์สเอง โดยทำการตลาดเองแต่จะใช้ระบบของสมาร์ทเพิร์สไปติดตั้งก็ได้ เพราะจะได้สามารถทำการตลาดจัด และ และยังสามารถเก็บข้อมูลและพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้า เพื่อไปใช้ประโยชน์ในเรื่องของการทำแคมเปญโปรโมชั่นส่งเสริมการขายได้
“บริษัทได้ไลน์เซ่นจากบริษัท วีซ่า ประเทศไทยเพียงรายเดียว ให้ใช้โลโก้ VISA Cash โดยในอนาคต สมาร์ทเพิร์ส จะเป็นเจเนอริกเนม ต่อท้าย ชื่อเจ้าของบัตร เช่น เคเอฟซี สมาร์ทเพิร์ส เป็นต้น และนอกจากโลโก้ สมาร์ทเพิร์ส และโลโก้ VISA Cash แล้วยังมีโลโก้ สมาร์ทพลัส เพื่อใช้ในการสะสมแต้มของการจับจ่ายแต่ละครั้ง เพื่อไปรับแลกของรางวัลได้”
**อัดงบประชาสัมพันธ์ 180 ล้านบาท**
อย่างไรก็ตาม รายได้หลักของบริษัท 40% มาจากค่า Merchant Discount Rate หรือค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บกับร้านค้า ซึ่งเราจัดเก็บในอัตรา 1-2% อีกส่วนหนึ่งมาจากการจำหน่ายบัตรสมาร์ทเพิร์ท และค่ารอยัลตี้โปรแกรมให้กับองค์กรที่สนใจ
ทั้งนี้เบื้องต้นลูกค้าหลักจะเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ และวัยทำงานตอนต้น ที่ต้องการความสะดวกสบาย จากนั้นจะกระจายสู่คนทั่วไปได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยบริษัทใช้งบโฆษณาประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้แก่ประชาชนในช่วงจากนี้ถึง พฤษภาคมปีนหน้า เป็นวงเงินรวม 180 ล้านบาท ผ่านซื้อโฆษณาทางโทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ
“ภายในปี 2551 สถานบันการเงิน และบริษัทบัตรเครดิต ทั้งหมด จะต้องยกเลิกการใช้บัตรระบบแถบแม่เหล็ก และต้องมาใช้ระบบชิพเพื่อเก็บข้อมูลแทน ซึ่งปีหน้ามีหลายธนาคารจะเริ่มเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มเป็นแบบชิพ ซึ่งตรงนี้เราสามารถขายระบบซอฟแวร์ หรือ รับเข้ามาอยู่ในเครือข่ายได้ ซึ่ง องค์กรเหล่านั้นก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนใหม่ ตรงนี้จะทำให้เรามีฐานลูกค้าที่ใหญ่ และมีรายได้จำนวนมหาศาลจากจำนวนยอดผู้ใช้จ่ายผ่านบัตร จึงเป็นบริษัทที่น่าสนใจในการลงทุน ขณะเดียวกัน ประเทศเพื่อบ้านอย่าง ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย มีบัตรในลักษณะนี้ใช้แล้วเช่นกัน ”