คณะกรรมการประสานงานให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ แนะให้เร่งโครงการเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับทางอากาศยานสากลกรุงเทพ พร้อมเสนอให้ใช้ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพสำหรับกิจการบินต่อไป เช่น สายการบินต้นทุนต่ำ กิจการซ่อมบำรุงอากาศยานและพื้นที่เชิงพาณิชย์บางส่วน
นายมหิดล จันทรางกูร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการประสานงานให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานกรุงเทพว่า คณะกรรมการฯ ได้ข้อสรุปแนวทางการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานกรุงเทพแล้วและจะเสนอนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พิจารณาในวันพรุ่งนี้ (23 พ.ย.) เพื่อจะได้นำเสนอเป็นวาระรับทราบของคณะกรรมการบริหารพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กทภ.) ซึ่งจะมีการประชุมในวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2548 ส่วนข้อเสนอของคณะกรรมการฯ จะถูกนำไปใช้หรือไม่เป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่จะพิจารณาต่อไป
สำหรับข้อเสนอของคณะกรรมการฯ คือ ให้ใช้ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพสำหรับกิจการบินทั่วไปต่อไป เช่น กิจการบินสายการบินต้นทุนต่ำ เครื่องบินเช่าเหมาลำ เครื่องบินเล็กศูนย์ซ่อมอากาศยานทั้งของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท บางกอกแอร์เวย์ จำกัด และบริษัทเอกชนต่าง ๆ ที่ร่วมมือกับกองทัพอากาศ ส่วนอาคาร 2 ใช้เป็นสถานที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพาณิชย์ ซึ่งทางบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกข้อเสนอของภาคเอกชนต่อไป ส่วนสายการบินต้นทุนต่ำหากต้องการไปลงจอดที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บมจ.ท่าอากาศยานไทย จะเป็นผู้พิจารณาให้ไปใช้บริการได้ แต่เชื่อว่าสายการบินต้นทุนต่ำส่วนใหญ่จะใช้บริการลงจอดที่ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ ส่วนผลกระทบที่จะมีต่อส่วนราชการที่จะต้องคงอัตรากำลังเจ้าหน้าที่เพื่อให้บริการต่อไป เช่น ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) เจ้าหน้าที่ของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ก็ไม่น่าจะมีปัญหาด้านเครื่องไม้เครื่องมือ เพียงแต่จะต้องเพิ่มเจ้าหน้าที่ที่จะเข้ามาทำงานให้บริการเท่านั้น
นายมหิดล กล่าวว่า จากข้อมูลที่เจ้าหน้าที่รายงานระบุว่า สายการบินต้นทุนต่ำเชื่อได้ว่า ผู้โดยสารต่อเครื่องบินไปต่างประเทศมีจำนวนต่ำกว่าร้อยละ 10 และแม้จะมีการต่อเครื่องบินน้อย ทางคณะกรรมการฯ ก็เห็นว่า ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพจำเป็นต้องมีระบบคมนาคมเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สะดวก จึงเห็นควรให้เร่งรัดการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้ทันใช้กับการเปิดให้บริการของท่าอากาศยานสุวรรภูมิ ตลอดจนต้องเร่งระบบถนนของกรมทางหลวงที่อยู่ระหว่างดำเนินการอยู่ให้แล้วเสร็จด้วย
นายมหิดล จันทรางกูร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการประสานงานให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานกรุงเทพว่า คณะกรรมการฯ ได้ข้อสรุปแนวทางการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานกรุงเทพแล้วและจะเสนอนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พิจารณาในวันพรุ่งนี้ (23 พ.ย.) เพื่อจะได้นำเสนอเป็นวาระรับทราบของคณะกรรมการบริหารพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กทภ.) ซึ่งจะมีการประชุมในวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2548 ส่วนข้อเสนอของคณะกรรมการฯ จะถูกนำไปใช้หรือไม่เป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่จะพิจารณาต่อไป
สำหรับข้อเสนอของคณะกรรมการฯ คือ ให้ใช้ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพสำหรับกิจการบินทั่วไปต่อไป เช่น กิจการบินสายการบินต้นทุนต่ำ เครื่องบินเช่าเหมาลำ เครื่องบินเล็กศูนย์ซ่อมอากาศยานทั้งของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท บางกอกแอร์เวย์ จำกัด และบริษัทเอกชนต่าง ๆ ที่ร่วมมือกับกองทัพอากาศ ส่วนอาคาร 2 ใช้เป็นสถานที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพาณิชย์ ซึ่งทางบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกข้อเสนอของภาคเอกชนต่อไป ส่วนสายการบินต้นทุนต่ำหากต้องการไปลงจอดที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บมจ.ท่าอากาศยานไทย จะเป็นผู้พิจารณาให้ไปใช้บริการได้ แต่เชื่อว่าสายการบินต้นทุนต่ำส่วนใหญ่จะใช้บริการลงจอดที่ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ ส่วนผลกระทบที่จะมีต่อส่วนราชการที่จะต้องคงอัตรากำลังเจ้าหน้าที่เพื่อให้บริการต่อไป เช่น ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) เจ้าหน้าที่ของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ก็ไม่น่าจะมีปัญหาด้านเครื่องไม้เครื่องมือ เพียงแต่จะต้องเพิ่มเจ้าหน้าที่ที่จะเข้ามาทำงานให้บริการเท่านั้น
นายมหิดล กล่าวว่า จากข้อมูลที่เจ้าหน้าที่รายงานระบุว่า สายการบินต้นทุนต่ำเชื่อได้ว่า ผู้โดยสารต่อเครื่องบินไปต่างประเทศมีจำนวนต่ำกว่าร้อยละ 10 และแม้จะมีการต่อเครื่องบินน้อย ทางคณะกรรมการฯ ก็เห็นว่า ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพจำเป็นต้องมีระบบคมนาคมเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สะดวก จึงเห็นควรให้เร่งรัดการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้ทันใช้กับการเปิดให้บริการของท่าอากาศยานสุวรรภูมิ ตลอดจนต้องเร่งระบบถนนของกรมทางหลวงที่อยู่ระหว่างดำเนินการอยู่ให้แล้วเสร็จด้วย