สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายนที่ผ่านมา ขยับตัวดีขึ้น จากปัจจัยคำสั่งซื้อที่ขยายตัว แต่ผู้ประกอบการยังหวั่นปัญหาค่าไฟฟ้าปีหน้าแพง อาจกระทบต้นทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรม พร้อมสนับสนุนแนวคิดลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อดึงเงินบริษัทจดทะเบียนขยายการลงทุน
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ รองประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนกันยายน 2548 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 568 ตัวอย่าง ครอบคลุมทั้ง 33 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 90.8 จาก 82.1 เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2548 เป็นต้นมา แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการเริ่มมีความเชื่อมั่นต่อภาวการณ์ด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีที่ใช้คำนวณทุกปัจจัยปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมของยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย และปริมาณการผลิต ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 104.1 100.9 และ 105.9 ในเดือนสิงหาคม เป็น 106.4 107.0 และ 113.7 ในเดือนกันยายน ตามลำดับ เช่นเดียวกับค่าดัชนีโดยรวมของต้นทุนการประกอบการ และผลประกอบการปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 46.9 และ 89.7 ในเดือนสิงหาคม เป็น 51.1 และ 99.1 ในเดือนกันยายน ตามลำดับ
“แม้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะยังกังวลกับปัญหาราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และราคาวัตถุดิบอื่นๆ ที่มีแนวโน้มการปรับตัวในทิศทางที่สูงขึ้น โดยเฉพาะค่าไฟฟ้างวดต่อไป แต่จากการที่มียอดคำสั่งซื้อสินค้าในช่วงใกล้เทศกาลปีใหม่เพิ่มขึ้น และผู้ประกอบการฯ ได้รับรู้ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการมาอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงและวางแผนการดำเนินกิจการให้เกิดประสิทธิภาพ ล้วนเป็นปัจจัยที่สร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง และคาดว่าจนถึงสิ้นปี ความเชื่อมั่นจะดีขึ้นต่อเนื่อง ส่วนปัญหาไข้หวัดนกคาดว่าไม่มีผลกระทบต่อการส่งออก เนื่องจากไก่ปรุงสุกยังมียอดขายเพิ่มขึ้น” นายสันติ กล่าว
สำหรับข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ พบว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน โดยต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแลในส่วนของภาษีนำเข้าและส่งออกให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม พร้อมทั้งส่งเสริมในด้านการหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ และรัฐควรมีมาตรการในการกำหนดมาตรฐานสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น สินค้าจากประเทศจีน เพื่อป้องกันปัญหาสินค้าราคาถูกแต่ไม่ได้มาตรฐาน และแย่งส่วนแบ่งตลาดของสินค้าในประเทศอีกด้วย
รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวด้วยว่า จากการที่ นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้พบปะกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เมื่อวานนี้ (26 ต.ค.) และได้ฝากให้ภาคเอกชนร่วมกันให้ความเห็นว่า หากรัฐจะใช้นโยบายการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อดึงเงินกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประมาณ 400 แห่ง มาขยายการลงทุน แทนที่จะนำมาจ่ายปันผลหรือถือเงินสดไว้ จะเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ โดยในส่วนตัวแล้วก็เห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี จะได้เกิดการลงทุนต่อ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม กกร. จะมีการหารือกันและหาข้อสรุปเสนอต่อนายทนง ต่อไป
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ รองประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนกันยายน 2548 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 568 ตัวอย่าง ครอบคลุมทั้ง 33 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 90.8 จาก 82.1 เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2548 เป็นต้นมา แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการเริ่มมีความเชื่อมั่นต่อภาวการณ์ด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีที่ใช้คำนวณทุกปัจจัยปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมของยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย และปริมาณการผลิต ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 104.1 100.9 และ 105.9 ในเดือนสิงหาคม เป็น 106.4 107.0 และ 113.7 ในเดือนกันยายน ตามลำดับ เช่นเดียวกับค่าดัชนีโดยรวมของต้นทุนการประกอบการ และผลประกอบการปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 46.9 และ 89.7 ในเดือนสิงหาคม เป็น 51.1 และ 99.1 ในเดือนกันยายน ตามลำดับ
“แม้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะยังกังวลกับปัญหาราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และราคาวัตถุดิบอื่นๆ ที่มีแนวโน้มการปรับตัวในทิศทางที่สูงขึ้น โดยเฉพาะค่าไฟฟ้างวดต่อไป แต่จากการที่มียอดคำสั่งซื้อสินค้าในช่วงใกล้เทศกาลปีใหม่เพิ่มขึ้น และผู้ประกอบการฯ ได้รับรู้ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการมาอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงและวางแผนการดำเนินกิจการให้เกิดประสิทธิภาพ ล้วนเป็นปัจจัยที่สร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง และคาดว่าจนถึงสิ้นปี ความเชื่อมั่นจะดีขึ้นต่อเนื่อง ส่วนปัญหาไข้หวัดนกคาดว่าไม่มีผลกระทบต่อการส่งออก เนื่องจากไก่ปรุงสุกยังมียอดขายเพิ่มขึ้น” นายสันติ กล่าว
สำหรับข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ พบว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน โดยต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแลในส่วนของภาษีนำเข้าและส่งออกให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม พร้อมทั้งส่งเสริมในด้านการหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ และรัฐควรมีมาตรการในการกำหนดมาตรฐานสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น สินค้าจากประเทศจีน เพื่อป้องกันปัญหาสินค้าราคาถูกแต่ไม่ได้มาตรฐาน และแย่งส่วนแบ่งตลาดของสินค้าในประเทศอีกด้วย
รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวด้วยว่า จากการที่ นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้พบปะกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เมื่อวานนี้ (26 ต.ค.) และได้ฝากให้ภาคเอกชนร่วมกันให้ความเห็นว่า หากรัฐจะใช้นโยบายการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อดึงเงินกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประมาณ 400 แห่ง มาขยายการลงทุน แทนที่จะนำมาจ่ายปันผลหรือถือเงินสดไว้ จะเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ โดยในส่วนตัวแล้วก็เห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี จะได้เกิดการลงทุนต่อ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม กกร. จะมีการหารือกันและหาข้อสรุปเสนอต่อนายทนง ต่อไป