"ศุภวุฒิ สายเชื้อ" ชี้ไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุนเป็นอันดับ 3 ของภูมิภาค รองจากไต้หวัน และเกาหลี เหตุมีการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น และโครงการเมกะโปรเจกต์ แต่จะมีความเสี่ยงจากดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นมาก พร้อมคาดว่าปี 49 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4
นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัท ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนา “เปิดแนวรุกใหม่ของการลงทุนในต่างประเทศ” จัดโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปี 2549 จะชะลอตัวลง โดยเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอลงแรงกว่าประเทศอื่น อีกทั้งมีจุดเปราะบาง โดยเฉพาะต้องระมัดระวังฟองสบู่ของอสังหาริมทรัพย์ที่ใกล้จะแตก ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโตได้ร้อยละ 2.7 ส่วนยุโรป เศรษฐกิจจะเติบโตได้ร้อยละ 1.5-1.6 ส่วนประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก ไม่นับรวมญี่ปุ่นจะเติบโตร้อยละ 6.5
นายศุภวุฒิ กล่าวว่า สำหรับประเทศไทย ปี 2549 คาดว่าเศรษฐกิจยังขยายตัวในระดับที่ใช้ได้อยู่ที่ร้อยละ 4 ส่วนอัตราดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้นเร็ว จากที่ระดับร้อยละ 3.75 ในปัจจุบัน จะเป็นร้อยละ 4 ในสิ้นปีนี้ และขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ในปี 2549 ด้านเงินเฟ้อปีนี้จะอยู่ระดับร้อยละ 4.5 และจะลดลงในปีหน้าเหลือร้อยละ 3.5 จากราคาสินค้าและค่าไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ส่วนอัตราแลกเปลี่ยน ขณะนี้อยู่ในระดับ 40.9 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าปีนี้จะอยู่ที่ 41 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ต่อเนื่องจนถึงปีหน้า จึงถือว่ามีเสถียรภาพ
ส่วนปัญหาราคาน้ำมันแพงนั้น คาดว่าราคาน้ำมันแนวโน้มมีแต่จะลดลง จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จะลดลงเหลือประมาณ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือลดลงประมาณร้อยละ 20 อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงปัจจัยความเสี่ยงจากปัญหาน้ำมันแล้ว ประเทศไทยมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันมากที่สุดในภูมิภาคนี้ เพราะมีการนำเข้าน้ำมันคิดเป็นร้อยละ 6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) รองลงมาคือ ประเทศฟิลิปปินส์ ที่มีการนำเข้าน้ำมันสูงเช่นกัน ขณะที่ค่าเฉลี่ยของภูมิภาคจะอยู่ที่ร้อยละ 2-3 ของจีดีพี เท่านั้น ดังนั้น ในปีหน้า ซึ่งคาดว่าราคาน้ำมันจะลดลง ประเทศไทยน่าจะได้รับประโยชน์มากกว่าประเทศอื่น แต่ผลจากการที่ประเทศไทยมีการเข้าไปจัดการราคาน้ำมัน ทำให้ถูกกว่าความเป็นจริงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และประเทศไทยไม่ได้รับประโยชน์ที่ควรจะได้เต็มที่มากนัก
นายศุภวุฒิ กล่าวว่า ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่น่าลงทุนเป็นอันดับที่ 3 ของภูมิภาค รองจากไต้หวัน และเกาหลี เป็นผลสืบเนื่องจากการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น โครงการลงทุนขนาดใหญ่ หรือเมกะโปรเจกต์ แต่จะมีความเสี่ยงจากดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ขณะเดียวกัน ไทยก็จะได้รับผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง ทำให้ไทยส่งออกลดลงตามไปด้วย และการส่งออกที่ลดลงก็จะกลายเป็นแรงกดดันที่มีผลต่อการเติบโตของการบริโภคในประเทศได้ ทั้งนี้ คาดว่าในปีหน้า การส่งออกของไทยจะอยู่ระดับร้อยละ 15 ไม่ใช่ร้อยละ 20 อย่างที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ ขณะเดียวกัน ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกสูงมาก โดยพึ่งพาการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 70 ของจีดีพี ดังนั้น หากการส่งออกมีปัญหาก็จะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจของไทยได้ ส่วนที่คาดหวังว่าการลงทุนของภาครัฐและเอกชนจะเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้นั้น ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก มีเพียงปูนซิเมนต์ไทยประกาศว่าจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้น
นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัท ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนา “เปิดแนวรุกใหม่ของการลงทุนในต่างประเทศ” จัดโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปี 2549 จะชะลอตัวลง โดยเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอลงแรงกว่าประเทศอื่น อีกทั้งมีจุดเปราะบาง โดยเฉพาะต้องระมัดระวังฟองสบู่ของอสังหาริมทรัพย์ที่ใกล้จะแตก ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโตได้ร้อยละ 2.7 ส่วนยุโรป เศรษฐกิจจะเติบโตได้ร้อยละ 1.5-1.6 ส่วนประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก ไม่นับรวมญี่ปุ่นจะเติบโตร้อยละ 6.5
นายศุภวุฒิ กล่าวว่า สำหรับประเทศไทย ปี 2549 คาดว่าเศรษฐกิจยังขยายตัวในระดับที่ใช้ได้อยู่ที่ร้อยละ 4 ส่วนอัตราดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้นเร็ว จากที่ระดับร้อยละ 3.75 ในปัจจุบัน จะเป็นร้อยละ 4 ในสิ้นปีนี้ และขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ในปี 2549 ด้านเงินเฟ้อปีนี้จะอยู่ระดับร้อยละ 4.5 และจะลดลงในปีหน้าเหลือร้อยละ 3.5 จากราคาสินค้าและค่าไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ส่วนอัตราแลกเปลี่ยน ขณะนี้อยู่ในระดับ 40.9 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าปีนี้จะอยู่ที่ 41 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ต่อเนื่องจนถึงปีหน้า จึงถือว่ามีเสถียรภาพ
ส่วนปัญหาราคาน้ำมันแพงนั้น คาดว่าราคาน้ำมันแนวโน้มมีแต่จะลดลง จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จะลดลงเหลือประมาณ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือลดลงประมาณร้อยละ 20 อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงปัจจัยความเสี่ยงจากปัญหาน้ำมันแล้ว ประเทศไทยมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันมากที่สุดในภูมิภาคนี้ เพราะมีการนำเข้าน้ำมันคิดเป็นร้อยละ 6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) รองลงมาคือ ประเทศฟิลิปปินส์ ที่มีการนำเข้าน้ำมันสูงเช่นกัน ขณะที่ค่าเฉลี่ยของภูมิภาคจะอยู่ที่ร้อยละ 2-3 ของจีดีพี เท่านั้น ดังนั้น ในปีหน้า ซึ่งคาดว่าราคาน้ำมันจะลดลง ประเทศไทยน่าจะได้รับประโยชน์มากกว่าประเทศอื่น แต่ผลจากการที่ประเทศไทยมีการเข้าไปจัดการราคาน้ำมัน ทำให้ถูกกว่าความเป็นจริงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และประเทศไทยไม่ได้รับประโยชน์ที่ควรจะได้เต็มที่มากนัก
นายศุภวุฒิ กล่าวว่า ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่น่าลงทุนเป็นอันดับที่ 3 ของภูมิภาค รองจากไต้หวัน และเกาหลี เป็นผลสืบเนื่องจากการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น โครงการลงทุนขนาดใหญ่ หรือเมกะโปรเจกต์ แต่จะมีความเสี่ยงจากดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ขณะเดียวกัน ไทยก็จะได้รับผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง ทำให้ไทยส่งออกลดลงตามไปด้วย และการส่งออกที่ลดลงก็จะกลายเป็นแรงกดดันที่มีผลต่อการเติบโตของการบริโภคในประเทศได้ ทั้งนี้ คาดว่าในปีหน้า การส่งออกของไทยจะอยู่ระดับร้อยละ 15 ไม่ใช่ร้อยละ 20 อย่างที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ ขณะเดียวกัน ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกสูงมาก โดยพึ่งพาการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 70 ของจีดีพี ดังนั้น หากการส่งออกมีปัญหาก็จะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจของไทยได้ ส่วนที่คาดหวังว่าการลงทุนของภาครัฐและเอกชนจะเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้นั้น ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก มีเพียงปูนซิเมนต์ไทยประกาศว่าจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้น