นายกรัฐมนตรีเห็นชอบโครงการโคล้านตัว โดยให้แจกลูกโคแทนการแจกน้ำเชื้อ เริ่มปีแรกเดือนพฤศจิกายนนี้ 250,000 ครอบครัว และลดจำนวนโคจาก 5 ล้านตัว เหลือ 2 ล้านตัว เพื่อเน้นแก้ไขปัญหาความยากจน ส่วนปัญหานมโรงเรียนได้เปลี่ยนจากนมผสมน้ำ กำหนดให้เป็นนมสดแท้ เพื่อป้องกันปัญหาการผสมนมในสัดส่วนน้อย และเพื่อให้เด็กนักเรียนดื่มนมสดแทนนมผง
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบแนวทางโครงการโคล้านตัว เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนให้แก่เกษตรกร ซึ่งได้มีการเปลี่ยนจากการแจกน้ำเชื้อโคพันธุ์ดีมาเป็นการแจกลูกโคอายุ 8-10 เดือนให้เกษตรกรนำไปเลี้ยง โดยโครงการจะมีระยะเวลา 3 ปี ในปีแรกจะเริ่มแจกลูกโคในเดือนพฤศจิกายนนี้ จำนวน 250,000 ครอบครัว ปีที่ 2 จำนวน 350,000 ครอบครัว และปีที่ 3 จำนวน 400,000 ครอบครัว โดยในช่วงแรกจะเริ่มแจกให้ครอบครัวละ 1 ตัว จากนั้นจะทยอยแจกให้ครบครอบครัวละ 2 ตัว หากจำนวนลูกโคที่แจกให้ไม่เพียงพอ ก็จะผสมพันธุ์เพิ่มเติมเพื่อแจกเป็นลูกโคเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ จะต้องอบรมชาวบ้าน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความรู้ทางวิชาการแนะนำความรู้ทุกขั้นตอนเป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อให้ชาวบ้านมีความเชี่ยวชาญจนเป็นหมอโคไม่ต่ำกว่า 8,000 คน
สำหรับการเปลี่ยนแปลงโครงการโดยลดจำนวนโคที่แจกจ่ายให้กับชาวบ้านจาก 5 ล้านตัว เหลือเพียง 2 ล้านตัว เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นหลักนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า หากปริมาณเนื้อโคที่จำหน่ายได้รับความสนใจจากตลาด จึงค่อยขยายโครงการโคเลี้ยงเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังจะต้องมีการฝังชิปให้แก่ลูกโคเพื่อป้องกันการสับเปลี่ยนหรือมีการทุจริต และติดตามการเลี้ยงดูวัวของชาวบ้าน โดยเมื่อเกษตรกรได้มาลงทะเบียนกับทางอำเภอเพื่อต้องการรับลูกโคไปเลี้ยง จากนั้นจะมีการคัดเลือก หรือจับสลากโดยจะเน้นครอบครัวที่มีความสามารถในการเลี้ยง แต่ต้องเป็นครอบครัวที่ยากจน ซึ่งหากเกษตรกรเห็นว่าการแจกโคเกิดความไม่เป็นธรรมหรือสงสัยก็ให้ร้องเรียนได้
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังเห็นชอบแนวทางการแก้ไขนมโรงเรียน โดยกำหนดคุณภาพการจัดสรรนมโรงเรียนให้แก่นักเรียนใหม่ เนื่องจากเดิมมีปัญหาการนำนมผงมาผสมกับน้ำ เพื่อให้นักเรียนดื่ม แต่ปรากฏว่า เอกชนหลายแห่งมีการผสมนมผงสัดส่วนน้อย ทำให้นมที่นักเรียนใช้ดื่มมีคุณภาพน้อย ดังนั้น จึงได้กำหนดมาตรฐานใหม่ให้จัดสรรนมโรงเรียนเป็นนมสดแท้ ไม่ใช่นมผสมน้ำ และจัดเปลี่ยนวิธีการจัดสรรโควตาให้กับบริษัทเอกชนใหม่ โดยไม่ได้มุ่งเน้นบริษัทว่าจะเป็นรายเล็กหรือรายใหญ่ แต่จะต้องจัดสรรนมให้แก่นักเรียนที่เป็นนมสดแท้ ส่วนเขตใดที่ไม่มีการเลี้ยงโคนมจะผ่อนปรนให้จัดหานมพลาสเจอร์ไรซ์ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 แต่จะต้องมีนมสดแท้ร้อยละ 70 และจะต้องเร่งรณรงค์ให้ผู้ปกครองรับทราบถึงความสำคัญในการให้ลูกหลานดื่มนมสดแท้ เพราะปัจจุบันคนไทยดื่มนมประมาณ 12 ลิตรต่อคนต่อปี ขณะที่การดื่มสุรามีสูงถึง 58 ลิตรต่อคนต่อปี
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบแนวทางโครงการโคล้านตัว เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนให้แก่เกษตรกร ซึ่งได้มีการเปลี่ยนจากการแจกน้ำเชื้อโคพันธุ์ดีมาเป็นการแจกลูกโคอายุ 8-10 เดือนให้เกษตรกรนำไปเลี้ยง โดยโครงการจะมีระยะเวลา 3 ปี ในปีแรกจะเริ่มแจกลูกโคในเดือนพฤศจิกายนนี้ จำนวน 250,000 ครอบครัว ปีที่ 2 จำนวน 350,000 ครอบครัว และปีที่ 3 จำนวน 400,000 ครอบครัว โดยในช่วงแรกจะเริ่มแจกให้ครอบครัวละ 1 ตัว จากนั้นจะทยอยแจกให้ครบครอบครัวละ 2 ตัว หากจำนวนลูกโคที่แจกให้ไม่เพียงพอ ก็จะผสมพันธุ์เพิ่มเติมเพื่อแจกเป็นลูกโคเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ จะต้องอบรมชาวบ้าน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความรู้ทางวิชาการแนะนำความรู้ทุกขั้นตอนเป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อให้ชาวบ้านมีความเชี่ยวชาญจนเป็นหมอโคไม่ต่ำกว่า 8,000 คน
สำหรับการเปลี่ยนแปลงโครงการโดยลดจำนวนโคที่แจกจ่ายให้กับชาวบ้านจาก 5 ล้านตัว เหลือเพียง 2 ล้านตัว เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นหลักนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า หากปริมาณเนื้อโคที่จำหน่ายได้รับความสนใจจากตลาด จึงค่อยขยายโครงการโคเลี้ยงเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังจะต้องมีการฝังชิปให้แก่ลูกโคเพื่อป้องกันการสับเปลี่ยนหรือมีการทุจริต และติดตามการเลี้ยงดูวัวของชาวบ้าน โดยเมื่อเกษตรกรได้มาลงทะเบียนกับทางอำเภอเพื่อต้องการรับลูกโคไปเลี้ยง จากนั้นจะมีการคัดเลือก หรือจับสลากโดยจะเน้นครอบครัวที่มีความสามารถในการเลี้ยง แต่ต้องเป็นครอบครัวที่ยากจน ซึ่งหากเกษตรกรเห็นว่าการแจกโคเกิดความไม่เป็นธรรมหรือสงสัยก็ให้ร้องเรียนได้
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังเห็นชอบแนวทางการแก้ไขนมโรงเรียน โดยกำหนดคุณภาพการจัดสรรนมโรงเรียนให้แก่นักเรียนใหม่ เนื่องจากเดิมมีปัญหาการนำนมผงมาผสมกับน้ำ เพื่อให้นักเรียนดื่ม แต่ปรากฏว่า เอกชนหลายแห่งมีการผสมนมผงสัดส่วนน้อย ทำให้นมที่นักเรียนใช้ดื่มมีคุณภาพน้อย ดังนั้น จึงได้กำหนดมาตรฐานใหม่ให้จัดสรรนมโรงเรียนเป็นนมสดแท้ ไม่ใช่นมผสมน้ำ และจัดเปลี่ยนวิธีการจัดสรรโควตาให้กับบริษัทเอกชนใหม่ โดยไม่ได้มุ่งเน้นบริษัทว่าจะเป็นรายเล็กหรือรายใหญ่ แต่จะต้องจัดสรรนมให้แก่นักเรียนที่เป็นนมสดแท้ ส่วนเขตใดที่ไม่มีการเลี้ยงโคนมจะผ่อนปรนให้จัดหานมพลาสเจอร์ไรซ์ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 แต่จะต้องมีนมสดแท้ร้อยละ 70 และจะต้องเร่งรณรงค์ให้ผู้ปกครองรับทราบถึงความสำคัญในการให้ลูกหลานดื่มนมสดแท้ เพราะปัจจุบันคนไทยดื่มนมประมาณ 12 ลิตรต่อคนต่อปี ขณะที่การดื่มสุรามีสูงถึง 58 ลิตรต่อคนต่อปี