โรงพยาบาลกรุงเทพเผยรายได้ครึ่งปีแรกไม่ตกเป้า คาดถึงสิ้นปีมีรายได้ 1.2 หมื่นล้าน เตรียมลงทุนเพิ่ม ซื้อเครื่องสแกนหัวใจใหม่ 3 เครื่อง มูลค่าร่วม 200 ล้าน พร้อมเปิดโรงพยาบาลใหม่อีก 2 แห่ง เป็นร.พ.อินเตอร์ 1 แห่งหวังรับผู้ป่วยชาวต่างชาติโดยเฉพาะ และโรงพยาบาลมะเร็ง มูลค่าการลงทุนไม่ต่ำกว่าพันล้านบาท
นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ วิทยากร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทฯได้ลงทุนซื้อเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีรุ่น Brilliance CT 64-channel configuration จากบริษัท ฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 3 เครื่อง ราคา 55 ล้านบาทต่อเครื่อง โดยจะนำไปติดตั้งโรงพยาบาล 3 แห่งในเครือ ได้แก่ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ, โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา และโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต รวมมูลค่าการลงทุนไม่ต่ำกว่า 160 ล้านบาท โดยในส่วนของโรงพยาลสมิติเวช สุขุมวิท ซึ่งเป็นพันธมิตรธุรกิจนั้นกำลังอยู่ระหว่างเจรจาซื้อเครื่อง เพื่อรองรับผู้ป่วยโรคหัวใจของทางโรงพยาบาล ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 60,000 ราย โดยในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นประมาณ 20%
ในแต่ละปีบริษัทฯมีนโยบายลงทุนซื้อเครื่องมือแพทย์ใหม่ๆ ด้วยสัดส่วนเงินลงทุน 20% ของรายได้ในแต่ละปี สำหรับในปีนี้คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 12,000 ล้านบาท โดย 6 เดือนแรกที่ผ่านมาได้ใช้เงินลงทุนไปแล้ว 4% จากรายได้ทำได้ตามเป้า 8,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลในกลุ่มสมิติเวชนั้นมีกำไรหลักร้อยล้านบาท แต่เฉพาะโรงพยาบาลสมิติเวช สาขาศรีนครินทร์นั้นยังขาดทุน
.
แผนการลงทุนในปีหน้าเตรียมที่จะเปิดโรงพยาบาลแห่งใหม่เพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง ชื่อ กรุงเทพ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งตั้งอยู่ในละแวกเดียวกันกับโรงพยาบาลกรุงเทพ เพื่อรองรับกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นชาวต่างชาติโดยเฉพาะ อาทิ ชาวญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนสูงสุด 10% ของกลุ่มชาวต่างชาติทั้งหมด รองลงมาเป็นชาวยุโรป ทั้งนี้ ปัจจุบันโรงพยาบาลในเครือทั้งหมดของบริษัทฯมีสัดส่วนผู้ป่วยที่เป็นชาวไทยอยู่แล้ว 70% และชาวต่างชาติอีก 30%
นอกจากนั้น บริษัทฯยังมีแผนที่จะเปิดโรงพยาบาลโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง เพื่อให้บริษัทฯเป็นผู้นำด้านการรักษาโรคมะเร็ง เหมือนกับที่เป็นผู้นำด้านการรักษาโรคหัวใจมาแล้วจากการเปิดโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพฯ โดยจะใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท
ด้านนายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ผู้จัดการทั่วไป แผนกเครื่องมือแพทย์ บริษัท ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่าในปีที่ผ่านมา ไทยมีมูลค่ารวมของตลาดเครื่องมือแพทย์ในประเทศประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยฟิลิปส์ถือเป็นเจ้าตลาดที่มีส่วนแบ่งตลาดเกือบ 50% ส่วนในปีนี้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 10% ทั้งในปีนี้และในปีหน้า เนื่องจากไทยกำลังมีการตื่นตัวที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพของเอเชีย (Medical Hub)
สำหรับเครื่องซีทีที่เพิ่งลงนามซื้อขายกับทางบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการนั้น ถือเป็นนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ที่ทางบริษัท ฟิลิปส์ ได้พัฒนาขึ้น โดยเพิ่งเปิดตัวสินค้าพร้อมกันทั่วโลกเมื่อปลายปี 47 ปัจจุบันมีหลายประเทศได้ซื้อไปใช้แล้ว อาทิ ญี่ปุ่น, เกาหลี, จีน และฟิลิปปินส์ โดยเครื่องซีทีสามารถทำให้แพทย์ใช้สแกนภาพอวัยวะทุกส่วนภายในร่างกายได้ง่าย โดยเฉพาะหัวใจและปอดที่มีการเคลื่อนไหว และทำให้ภาพที่ได้จากเครื่องมือเอ็กซเรย์รุ่นเก่าไม่ชัด โดยเครื่องซีทีรุ่นใหม่นี้สามารถสแกนภาพได้ถึง 64 ภาพ ต่อครึ่งวินาที หากนำไปใช้กับโรงพยาบาลของรัฐ จะมีกำลังรองรับคนไข้ได้ถึง 33 เคสต่อวัน
นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ วิทยากร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทฯได้ลงทุนซื้อเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีรุ่น Brilliance CT 64-channel configuration จากบริษัท ฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 3 เครื่อง ราคา 55 ล้านบาทต่อเครื่อง โดยจะนำไปติดตั้งโรงพยาบาล 3 แห่งในเครือ ได้แก่ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ, โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา และโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต รวมมูลค่าการลงทุนไม่ต่ำกว่า 160 ล้านบาท โดยในส่วนของโรงพยาลสมิติเวช สุขุมวิท ซึ่งเป็นพันธมิตรธุรกิจนั้นกำลังอยู่ระหว่างเจรจาซื้อเครื่อง เพื่อรองรับผู้ป่วยโรคหัวใจของทางโรงพยาบาล ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 60,000 ราย โดยในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นประมาณ 20%
ในแต่ละปีบริษัทฯมีนโยบายลงทุนซื้อเครื่องมือแพทย์ใหม่ๆ ด้วยสัดส่วนเงินลงทุน 20% ของรายได้ในแต่ละปี สำหรับในปีนี้คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 12,000 ล้านบาท โดย 6 เดือนแรกที่ผ่านมาได้ใช้เงินลงทุนไปแล้ว 4% จากรายได้ทำได้ตามเป้า 8,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลในกลุ่มสมิติเวชนั้นมีกำไรหลักร้อยล้านบาท แต่เฉพาะโรงพยาบาลสมิติเวช สาขาศรีนครินทร์นั้นยังขาดทุน
.
แผนการลงทุนในปีหน้าเตรียมที่จะเปิดโรงพยาบาลแห่งใหม่เพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง ชื่อ กรุงเทพ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งตั้งอยู่ในละแวกเดียวกันกับโรงพยาบาลกรุงเทพ เพื่อรองรับกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นชาวต่างชาติโดยเฉพาะ อาทิ ชาวญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนสูงสุด 10% ของกลุ่มชาวต่างชาติทั้งหมด รองลงมาเป็นชาวยุโรป ทั้งนี้ ปัจจุบันโรงพยาบาลในเครือทั้งหมดของบริษัทฯมีสัดส่วนผู้ป่วยที่เป็นชาวไทยอยู่แล้ว 70% และชาวต่างชาติอีก 30%
นอกจากนั้น บริษัทฯยังมีแผนที่จะเปิดโรงพยาบาลโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง เพื่อให้บริษัทฯเป็นผู้นำด้านการรักษาโรคมะเร็ง เหมือนกับที่เป็นผู้นำด้านการรักษาโรคหัวใจมาแล้วจากการเปิดโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพฯ โดยจะใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท
ด้านนายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ผู้จัดการทั่วไป แผนกเครื่องมือแพทย์ บริษัท ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่าในปีที่ผ่านมา ไทยมีมูลค่ารวมของตลาดเครื่องมือแพทย์ในประเทศประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยฟิลิปส์ถือเป็นเจ้าตลาดที่มีส่วนแบ่งตลาดเกือบ 50% ส่วนในปีนี้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 10% ทั้งในปีนี้และในปีหน้า เนื่องจากไทยกำลังมีการตื่นตัวที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพของเอเชีย (Medical Hub)
สำหรับเครื่องซีทีที่เพิ่งลงนามซื้อขายกับทางบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการนั้น ถือเป็นนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ที่ทางบริษัท ฟิลิปส์ ได้พัฒนาขึ้น โดยเพิ่งเปิดตัวสินค้าพร้อมกันทั่วโลกเมื่อปลายปี 47 ปัจจุบันมีหลายประเทศได้ซื้อไปใช้แล้ว อาทิ ญี่ปุ่น, เกาหลี, จีน และฟิลิปปินส์ โดยเครื่องซีทีสามารถทำให้แพทย์ใช้สแกนภาพอวัยวะทุกส่วนภายในร่างกายได้ง่าย โดยเฉพาะหัวใจและปอดที่มีการเคลื่อนไหว และทำให้ภาพที่ได้จากเครื่องมือเอ็กซเรย์รุ่นเก่าไม่ชัด โดยเครื่องซีทีรุ่นใหม่นี้สามารถสแกนภาพได้ถึง 64 ภาพ ต่อครึ่งวินาที หากนำไปใช้กับโรงพยาบาลของรัฐ จะมีกำลังรองรับคนไข้ได้ถึง 33 เคสต่อวัน