กระทรวงเกษตรฯ จับมือผู้ส่งออกผลไม้ไทย นำข้อมูลผสมผสานแผนเพาะปลูกสนองตลาด พร้อมดันผลไม้ภาคตะวันออกเป็นผู้นำการส่งออกผลไม้ในภูมิภาคเอเชีย โดยชูมังคุดเป็นแบรนด์ผลไม้เทียบเท่ากีวีของออสเตรเลีย ชี้เป้าปี 51 ส่งออกผลไม้ 3 ชนิดได้ถึง 15,000 ล้านบาท
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังประชุมปรับโครงสร้างผลไม้ภาคตะวันออกว่า การปรับแผนผลไม้ภาคตะวันออกซึ่งวางเป้าหมายสู่การเป็นศูนย์กลางตลาดผลไม้เมืองร้อนของโลก เนื่องจากผลไม้ภาคตะวันออกของไทยมีคู่แข่งน้อย ถือว่าเป็นจุดแข็งของผลไม้ไทย อาทิ มังคุด ทุเรียน ที่หลายประเทศไม่สามารถปลูกหรือผลิตเพื่อการส่งออกได้ ซึ่งจากแผนปรับโครงสร้างการผลิตที่คาดว่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าการส่งออกผลไม้ จากตัวเลขในปี 2547 ประมาณ 3,310 ล้านบาท เป็น 15,000 ล้านบาทในปี 2551
คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวต่อว่า โดยวางแนวทางการดำเนินการหลัก 3 ด้าน คือ 1.ปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร โดยลดพื้นที่ปลูกบางส่วนเพื่อปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน ปรับเปลี่ยนไปปลูกพันธุ์ที่ดีขึ้นและสนับสนุนให้มีการผลิตนอกฤดู 2.พัฒนาระบบ Logistic คือ การพัฒนาท่าเรือด้านฝั่งทะเลอันดามัน เช่น ท่าเรือระนอง ซึ่งจะสามารถส่งออกผลไม้สู่ประเทศใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เช่น อินเดีย ตะวันออกกลางและยุโรปเพิ่มเติมจากตลาดเดิมคือจีนและฮ่องกง รวมถึงการปรับปรุงเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อยืดอายุเก็บรักษาสินค้าเกษตร เช่น ห้องเย็นระบบ Fresh Chilled เป็นต้น และ 3.การสร้างมูลค่าให้กับสินค้า ทั้งการแปรรูปสินค้าเกษตร การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สำคัญต้องเร่งผลักดันการสร้างตราสินค้าอย่างที่กีวีจากประเทศออสเตรเลียประสบผลสำเร็จมาแล้ว โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้จากมังคุดที่จะเป็นผลไม้นำร่อง
คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังหารือร่วมกับผู้ประกอบการและผู้ส่งออกที่มีข้อมูลความต้องการของแต่ละประเทศในผลไม้แต่ละชนิด ดังนั้นจึงจะมีการร่วมมือกันในการจัดทำแผนดำเนินการ หรือ เอคชั่นแพลนที่ชัดเจนให้เกิดความสอดคล้องกับการผลิตของเกษตรกรที่กระทรวงเกษตรฯ จะต้องนำข้อมูลดังกล่าวไปชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้รับทราบ เพื่อนำไปปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกให้ตรงกับตลาด ซึ่งขณะนี้การเพาะปลูกพืชชนิดใดก็ตามต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดเป็นหลัก ขณะเดียวกันจะเน้นและให้ความสำคัญกับคุณภาพที่ดีของผลผลิตมากกว่าคำนึงถึงปริมาณที่จะออกสู่ตลาด ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับเกษตรกรได้ในระยะยาว
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังประชุมปรับโครงสร้างผลไม้ภาคตะวันออกว่า การปรับแผนผลไม้ภาคตะวันออกซึ่งวางเป้าหมายสู่การเป็นศูนย์กลางตลาดผลไม้เมืองร้อนของโลก เนื่องจากผลไม้ภาคตะวันออกของไทยมีคู่แข่งน้อย ถือว่าเป็นจุดแข็งของผลไม้ไทย อาทิ มังคุด ทุเรียน ที่หลายประเทศไม่สามารถปลูกหรือผลิตเพื่อการส่งออกได้ ซึ่งจากแผนปรับโครงสร้างการผลิตที่คาดว่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าการส่งออกผลไม้ จากตัวเลขในปี 2547 ประมาณ 3,310 ล้านบาท เป็น 15,000 ล้านบาทในปี 2551
คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวต่อว่า โดยวางแนวทางการดำเนินการหลัก 3 ด้าน คือ 1.ปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร โดยลดพื้นที่ปลูกบางส่วนเพื่อปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน ปรับเปลี่ยนไปปลูกพันธุ์ที่ดีขึ้นและสนับสนุนให้มีการผลิตนอกฤดู 2.พัฒนาระบบ Logistic คือ การพัฒนาท่าเรือด้านฝั่งทะเลอันดามัน เช่น ท่าเรือระนอง ซึ่งจะสามารถส่งออกผลไม้สู่ประเทศใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เช่น อินเดีย ตะวันออกกลางและยุโรปเพิ่มเติมจากตลาดเดิมคือจีนและฮ่องกง รวมถึงการปรับปรุงเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อยืดอายุเก็บรักษาสินค้าเกษตร เช่น ห้องเย็นระบบ Fresh Chilled เป็นต้น และ 3.การสร้างมูลค่าให้กับสินค้า ทั้งการแปรรูปสินค้าเกษตร การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สำคัญต้องเร่งผลักดันการสร้างตราสินค้าอย่างที่กีวีจากประเทศออสเตรเลียประสบผลสำเร็จมาแล้ว โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้จากมังคุดที่จะเป็นผลไม้นำร่อง
คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังหารือร่วมกับผู้ประกอบการและผู้ส่งออกที่มีข้อมูลความต้องการของแต่ละประเทศในผลไม้แต่ละชนิด ดังนั้นจึงจะมีการร่วมมือกันในการจัดทำแผนดำเนินการ หรือ เอคชั่นแพลนที่ชัดเจนให้เกิดความสอดคล้องกับการผลิตของเกษตรกรที่กระทรวงเกษตรฯ จะต้องนำข้อมูลดังกล่าวไปชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้รับทราบ เพื่อนำไปปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกให้ตรงกับตลาด ซึ่งขณะนี้การเพาะปลูกพืชชนิดใดก็ตามต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดเป็นหลัก ขณะเดียวกันจะเน้นและให้ความสำคัญกับคุณภาพที่ดีของผลผลิตมากกว่าคำนึงถึงปริมาณที่จะออกสู่ตลาด ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับเกษตรกรได้ในระยะยาว