สยาม โอเชี่ยน เวิลด์ มั่นใจ พ.ย.นี้เปิดให้บริการแน่นอน กำหนดเป้าหมาย เป็นแลนด์มาร์ค ของประเทศไทย ใจกลางมหานครกรุงเทพฯ อัด 50 ล้านบาททำโฆษณาประชาสัมพันธ์ ดึงนักท่องเที่ยวไทย-เทศ เข้าชม เป้าปีแรก 1.5 ล้านคน ราคาตั๋วยังไม่คืบ คาดอีก 2 เดือนรู้ผล แต่ต้องถูกกว่า 600 บาทชัวร์
นายกวีพล สุภัทรวณิชย์ ผู้จัดการทั่วไป สายงานการตลาดและการขาย บริษัท สยาม โอเชี่ยน เวิลด์ จำกัด ดำเนินธุรกิจ อควาเรียม ในประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทได้เริ่มกำหนดแผนการตลาด เพื่อรองรับการเปิดตัวของ “สยาม โอเชี่ยน เวิลด์” ในต้นเดือนพฤศจิกายนศกนี้ที่บริเวณชั้น บี1และบี2 ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยเบื้องต้นกำหนดให้ สยามโอเชี่ยน เวิลด์ เป็นแลนด์มาร์คของประเทศไทย เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชูจุดขายเป็นอความเรียมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทำเลที่สะดวกใจกลางกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งทัศนะศึกษาชีวิตสัตว์น้ำใต้ทะเล ที่มีสัตว์น้ำมากกว่า 3 หมื่นตัว จาก 400 สายพันธุ์
ทั้งนี้ปีแรกที่เปิดให้บริการ บริษัทได้เตรียมงบประมาณเพื่อใช้ประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมทางการตลาด 50 ล้านบาท ส่วนหนึ่งจะเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ ได้แก่ ทรู เนสท์เล่ ซันโย เชฟโรเลต ฟูจิ เป๊ปซี่ แบงก์ แอนด์ โอลุฟสัน และ Mares ตั้งเป้ามีผู้เข้ามาใช้บริการในปีแรก 1.5 ล้านคน ซึ่ง 20% จะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ และมีอัตราเติบโตไม่น้อยกว่า 10-15% ในทุกๆปี
สำหรับอัตราค่าเข้าชม ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดราคา แต่จะเป็นตั๋วราคาเดียวทั้งคนไทยและต่างชาติ แบ่งเป็นตั๋วเด็กและตั๋วผู้ใหญ่ โดยมีความเป็นไปได้ที่ราคาจะต้องต่ำกว่า 600 บาทต่อใบโดยคำนวณจากค่าครองชีพของประชากร เพราะปัจจุบันโอเชี่ยนเวิลด์ ภายใต้การบริหารของบริษัท โอเชียนิส ออสเตรเลีย กรุ๊ป ซึ่งเปิดให้บริการที่ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ,เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ,เมลเบิร์น และบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย จะกำหนดราคาตั๋วที่ประมาณใบละ 600 บาทเศษ กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ครอบครัว หนุ่มสาว และ นักเรียน นักศึกษา
“นอกจากการเข้าชมสัตว์น้ำและพันธ์ปลาที่หาดูยากจากทุกมุมโลกแล้ว บริษัทยังจะร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อจัดกิจกรรมและจัดหาโชว์พิเศษมาแสดงเพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดการมาซ้ำ นอกจากนั้นด้วยพื้นที่ที่กว้างใหญ่ขนาด 2 สนามฟุตบอล หรือ 1 หมื่นตารางเมตร บริษัทจะกันพื้นที่เป็นลานกิจกรรม เพื่อเช่าจัดงานได้ด้วย แต่ทั้งนี้รายได้หลัก 90% ยังเป็นรายได้จากการขายตั๋ว”
อย่างไรก็ตาม บริษัทเริ่มเปิดตัวในงานโรดโชว์แล้ว เช่น งานไทยแลนด์ ทราเวลมาร์ท ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนก่อนที่อิมแพค เมืองทองธานี บริษัทได้ไปร่วมออกบูธแนะนำตัวเอง กับผู้ซื้อ ซึ่งเป็นแทรเวลเอเจน ในต่างประเทศที่จัดทัวร์เข้ามาประเทศไทยซึ่งทุกคนก็สนใจที่จะจัดลงในโปรแกรมแพกเกจทัวร์ท่องเที่ยว ซึ่งตรงนี้ บริษัทจะนำไปขยายผลทางการตลาดต่อโดยจะร่วมโรดโชว์ในต่างประเทศ พร้อมจับมือโรงแรมที่พักจัดเป็นแพกเกจทัวร์ โดยบริษัทคาดว่าอีก 3-4 เดือนน่าจะสามารถกำหนดราคาเพื่อขายเป็นแพกเกจได้
สยามโอเชี่ยน เวิลด์ อยู่ระหว่างการก่อสร้างซึ่งแล้วเสร็จกว่า 70% แล้ว คาดว่าอีก 2 เดือนจะทยอย นำพันธุ์ปลามาลง แต่เปิดได้ตามกำหนดที่วางไว้คือ ต้นเดือนพฤศจิกายน 2548 ส่วนช่องทางจำหน่ายตั๋ว นอกจากหน้าทางเข้าสถานที่แล้วยังใช้ระบบเครือข่ายพันธมิตร เป็นช่องทางจำหน่ายตั๋วด้วย ล่าสุดอยู่ระหว่างการจัดทำระบบเพื่อจำหน่ายตั๋วแบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์
นายกวีพล สุภัทรวณิชย์ ผู้จัดการทั่วไป สายงานการตลาดและการขาย บริษัท สยาม โอเชี่ยน เวิลด์ จำกัด ดำเนินธุรกิจ อควาเรียม ในประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทได้เริ่มกำหนดแผนการตลาด เพื่อรองรับการเปิดตัวของ “สยาม โอเชี่ยน เวิลด์” ในต้นเดือนพฤศจิกายนศกนี้ที่บริเวณชั้น บี1และบี2 ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยเบื้องต้นกำหนดให้ สยามโอเชี่ยน เวิลด์ เป็นแลนด์มาร์คของประเทศไทย เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชูจุดขายเป็นอความเรียมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทำเลที่สะดวกใจกลางกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งทัศนะศึกษาชีวิตสัตว์น้ำใต้ทะเล ที่มีสัตว์น้ำมากกว่า 3 หมื่นตัว จาก 400 สายพันธุ์
ทั้งนี้ปีแรกที่เปิดให้บริการ บริษัทได้เตรียมงบประมาณเพื่อใช้ประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมทางการตลาด 50 ล้านบาท ส่วนหนึ่งจะเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ ได้แก่ ทรู เนสท์เล่ ซันโย เชฟโรเลต ฟูจิ เป๊ปซี่ แบงก์ แอนด์ โอลุฟสัน และ Mares ตั้งเป้ามีผู้เข้ามาใช้บริการในปีแรก 1.5 ล้านคน ซึ่ง 20% จะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ และมีอัตราเติบโตไม่น้อยกว่า 10-15% ในทุกๆปี
สำหรับอัตราค่าเข้าชม ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดราคา แต่จะเป็นตั๋วราคาเดียวทั้งคนไทยและต่างชาติ แบ่งเป็นตั๋วเด็กและตั๋วผู้ใหญ่ โดยมีความเป็นไปได้ที่ราคาจะต้องต่ำกว่า 600 บาทต่อใบโดยคำนวณจากค่าครองชีพของประชากร เพราะปัจจุบันโอเชี่ยนเวิลด์ ภายใต้การบริหารของบริษัท โอเชียนิส ออสเตรเลีย กรุ๊ป ซึ่งเปิดให้บริการที่ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ,เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ,เมลเบิร์น และบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย จะกำหนดราคาตั๋วที่ประมาณใบละ 600 บาทเศษ กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ครอบครัว หนุ่มสาว และ นักเรียน นักศึกษา
“นอกจากการเข้าชมสัตว์น้ำและพันธ์ปลาที่หาดูยากจากทุกมุมโลกแล้ว บริษัทยังจะร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อจัดกิจกรรมและจัดหาโชว์พิเศษมาแสดงเพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดการมาซ้ำ นอกจากนั้นด้วยพื้นที่ที่กว้างใหญ่ขนาด 2 สนามฟุตบอล หรือ 1 หมื่นตารางเมตร บริษัทจะกันพื้นที่เป็นลานกิจกรรม เพื่อเช่าจัดงานได้ด้วย แต่ทั้งนี้รายได้หลัก 90% ยังเป็นรายได้จากการขายตั๋ว”
อย่างไรก็ตาม บริษัทเริ่มเปิดตัวในงานโรดโชว์แล้ว เช่น งานไทยแลนด์ ทราเวลมาร์ท ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนก่อนที่อิมแพค เมืองทองธานี บริษัทได้ไปร่วมออกบูธแนะนำตัวเอง กับผู้ซื้อ ซึ่งเป็นแทรเวลเอเจน ในต่างประเทศที่จัดทัวร์เข้ามาประเทศไทยซึ่งทุกคนก็สนใจที่จะจัดลงในโปรแกรมแพกเกจทัวร์ท่องเที่ยว ซึ่งตรงนี้ บริษัทจะนำไปขยายผลทางการตลาดต่อโดยจะร่วมโรดโชว์ในต่างประเทศ พร้อมจับมือโรงแรมที่พักจัดเป็นแพกเกจทัวร์ โดยบริษัทคาดว่าอีก 3-4 เดือนน่าจะสามารถกำหนดราคาเพื่อขายเป็นแพกเกจได้
สยามโอเชี่ยน เวิลด์ อยู่ระหว่างการก่อสร้างซึ่งแล้วเสร็จกว่า 70% แล้ว คาดว่าอีก 2 เดือนจะทยอย นำพันธุ์ปลามาลง แต่เปิดได้ตามกำหนดที่วางไว้คือ ต้นเดือนพฤศจิกายน 2548 ส่วนช่องทางจำหน่ายตั๋ว นอกจากหน้าทางเข้าสถานที่แล้วยังใช้ระบบเครือข่ายพันธมิตร เป็นช่องทางจำหน่ายตั๋วด้วย ล่าสุดอยู่ระหว่างการจัดทำระบบเพื่อจำหน่ายตั๋วแบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์