“ปานปรีย์” เอาใจผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มแฟชั่น ไฟเขียวบอร์ดอนุมัติงบ 5 ล้านบาท โครงการส่งเสริมการตลาด เตรียมเดินหน้าจัดกิจกรรมกลางเดือน ส.ค.นี้ วางเป้าจัดงาน 3 วัน กระตุ้นยอดส่งออกย่านโบ๊เบ๊ สะพัดกว่า 100 ล้านบาท
นายปานปรีย์ พหิทธานุกร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา สมาคมชาวโบ๊เบ๊ สมาคมสหมิตรสำเพ็ง สมาคมพ่อค้าสำเพ็ง และชมรมประตูน้ำ ได้มาเข้าพบเพื่อหาข้อสรุปโครงการส่งเสริมการตลาดของกลุ่มแฟชั่น SMEs ในการจะเข้ามามีส่วนกระตุ้นการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ภายหลังจากที่มีการหารือร่วมกับคณะกรรมการสำนักงานโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น ในช่วงที่ผ่านมา
โดยคณะกรรมการได้เห็นชอบในหลักการอนุมัติงบประมาณสนับสนุนมูลค่า 5 ล้านบาท จากที่กลุ่มสมาคมได้เสนอมาในช่วงแรกมูลค่า 10 ล้านบาท เนื่องจากเห็นว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการเสริมที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ดังนั้นจึงควรประเมินผลสำเร็จโครงการที่จัดขึ้นก่อนที่จะให้การสนับสนุนครั้งต่อไป
“ซึ่งในโครงการ 11 โครงการย่อยก็ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนอะไร เพียงแต่ว่าโครงการนี้จะเข้ามาเป็นโครงการเสริมเพื่อเปิดโอกาสให้กับกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นมากขึ้น เนื่องจากกลุ่ม SMEs เป็นกลุ่มหลักที่ส่งออกสินค้าแฟชั่นไทยไปยังต่างประเทศ โดยจากตัวเลขการส่งออกจากกรมศุลกากรในแต่ละปีมีมูลค่าเฉลี่ยถึง 130,000 ล้านบาท ซึ่งการเข้าร่วมโครงการของผู้ประกอบการครั้งนี้เชื่อมั่นว่าจะทำให้มียอดขายที่เพิ่มขึ้น และประชาสัมพันธ์โครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้างทั้งในประเทศและต่างประเทศ” นายปานปรีย์ กล่าว
สำหรับการดำเนินการโครงการจะเป็นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด โดยจัดโซนพื้นที่ศูนย์กลางการจำหน่ายสินค้าประเภทค้าส่งให้กับผู้ประกอบการ มีการจัดแฟชั่นโชว์ รวมทั้งจัดศูนย์บริการเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) ให้ความรู้ในด้านการพัฒนาทักษะวิชาชีพแฟชั่น ซึ่งได้รับความร่วมมือจากศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านแฟชั่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (BIFA) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้โครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น ซึ่งนำมาช่วยสนับสนุนในการเป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกัน โดยการดำเนินกิจกรรมจะใช้ระยะเวลา 3 วัน ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคมนี้ บริเวณตลาดค้าส่งโบ๊เบ๊ โดยวางเป้าหมายว่าจะทำให้ผู้ประกอบการในย่านโบ๊เบ๊ทาวเวอร์ มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นกว่า 100 ล้านบาท
นายปราโมทย์ วิทยาสุข อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น กล่าวว่า ในการจัดงานครั้งนี้จะเป็นการเน้นส่งเสริมเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ไทย ให้มีช่องทางขยายตลาดออกสู่ต่างประเทศมากขึ้น เช่น แถบจีนตอนใต้ พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน เป็นต้น โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องจำหน่ายสินค้าที่เป็นตราสินค้าไทยและผลิตในประเทศเท่านั้น และจะไม่มีการให้การสนับสนุนสินค้าของประเทศอื่นโดยเฉพาะประเทศจีนที่ปลอมปนเข้ามาในไทยเป็นจำนวนมาก ให้เข้ามาจำหน่ายหรือได้รับการส่งเสริมใดๆ จากโครงการ ประเด็นสำคัญที่โครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นนำโครงการนี้เข้ามาก็เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยให้เติบโตไปได้พร้อมกันทั้งระบบ
โดยโครงการที่จะจัดขึ้นจะเน้นใน 2 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ 1.การสร้างตราสินค้าไทย (OBM) ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และได้รับการยอมรับจากต่างประเทศทั้งในคุณภาพสินค้าและงานดีไซน์ 2.การเพิ่มตัวเลขการส่งออกสินค้าแฟชั่นไทย โดยตั้งเป้าว่าจะเจาะตลาดต่างประเทศใหม่ๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในแถบตะวันออกกลาง ทั้งนี้งบประมาณที่จะนำมาใช้ดำเนินโครงการดังกล่าวจะนำมาจากงบประมาณที่เหลือจากการดำเนินโครงการอื่นๆ ใน 11 โครงการย่อย ซึ่งจำนวนเงินมูลค่า 5 ล้านบาทที่นำมาดำเนินการครั้งนี้เชื่อมั่นว่าจะสร้างประโยชน์ที่มากขึ้นทั้งในส่วนการเพิ่มยอดขายและสร้างภาพลักษณ์ได้อย่างคุ้มค่า สำหรับส่วนที่เหลืออีก 5 ล้านบาท จากที่ภาคเอกชนได้นำเสนองบประมาณมา 10 ล้านบาท ในช่วงแรกคณะกรรมการโครงการฯ และภาคเอกชนได้ตกลงร่วมกันแล้วว่าภาคเอกชนจะเป็นผู้ดำเนินการในค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือเอง
ด้านนายคมสรรค์ วิจิตรวิกรม ประธานศูนย์บริการส่งออกโบ๊เบ๊ กล่าวว่า ในการดำเนินงานครั้งนี้ถือเป็นการจัดงานครั้งแรกและจะเป็นครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของตลาดค้าส่งโบ๊เบ๊ โดยคณะทำงานจะทำการคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพจำนวน 50 ราย ได้จัดแสดงและจำหน่ายสินค้าบริเวณโรงแรมปรินซ์ พาเลซ ตลาดค้าส่งโบ๊เบ๊ โดยจะมีการเชิญผู้ซื้อทั้งจากในประเทศและต่างประเทศเข้ามาทำการซื้อขายระหว่างกัน ซึ่งเฉพาะในส่วนนี้คาดว่าจากระยะเวลาการจัดงาน 3 วันจะเพิ่มยอดขายได้เป็นมูลค่า 36 ล้านบาท
นายปานปรีย์ พหิทธานุกร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา สมาคมชาวโบ๊เบ๊ สมาคมสหมิตรสำเพ็ง สมาคมพ่อค้าสำเพ็ง และชมรมประตูน้ำ ได้มาเข้าพบเพื่อหาข้อสรุปโครงการส่งเสริมการตลาดของกลุ่มแฟชั่น SMEs ในการจะเข้ามามีส่วนกระตุ้นการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ภายหลังจากที่มีการหารือร่วมกับคณะกรรมการสำนักงานโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น ในช่วงที่ผ่านมา
โดยคณะกรรมการได้เห็นชอบในหลักการอนุมัติงบประมาณสนับสนุนมูลค่า 5 ล้านบาท จากที่กลุ่มสมาคมได้เสนอมาในช่วงแรกมูลค่า 10 ล้านบาท เนื่องจากเห็นว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการเสริมที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ดังนั้นจึงควรประเมินผลสำเร็จโครงการที่จัดขึ้นก่อนที่จะให้การสนับสนุนครั้งต่อไป
“ซึ่งในโครงการ 11 โครงการย่อยก็ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนอะไร เพียงแต่ว่าโครงการนี้จะเข้ามาเป็นโครงการเสริมเพื่อเปิดโอกาสให้กับกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นมากขึ้น เนื่องจากกลุ่ม SMEs เป็นกลุ่มหลักที่ส่งออกสินค้าแฟชั่นไทยไปยังต่างประเทศ โดยจากตัวเลขการส่งออกจากกรมศุลกากรในแต่ละปีมีมูลค่าเฉลี่ยถึง 130,000 ล้านบาท ซึ่งการเข้าร่วมโครงการของผู้ประกอบการครั้งนี้เชื่อมั่นว่าจะทำให้มียอดขายที่เพิ่มขึ้น และประชาสัมพันธ์โครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้างทั้งในประเทศและต่างประเทศ” นายปานปรีย์ กล่าว
สำหรับการดำเนินการโครงการจะเป็นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด โดยจัดโซนพื้นที่ศูนย์กลางการจำหน่ายสินค้าประเภทค้าส่งให้กับผู้ประกอบการ มีการจัดแฟชั่นโชว์ รวมทั้งจัดศูนย์บริการเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) ให้ความรู้ในด้านการพัฒนาทักษะวิชาชีพแฟชั่น ซึ่งได้รับความร่วมมือจากศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านแฟชั่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (BIFA) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้โครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น ซึ่งนำมาช่วยสนับสนุนในการเป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกัน โดยการดำเนินกิจกรรมจะใช้ระยะเวลา 3 วัน ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคมนี้ บริเวณตลาดค้าส่งโบ๊เบ๊ โดยวางเป้าหมายว่าจะทำให้ผู้ประกอบการในย่านโบ๊เบ๊ทาวเวอร์ มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นกว่า 100 ล้านบาท
นายปราโมทย์ วิทยาสุข อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น กล่าวว่า ในการจัดงานครั้งนี้จะเป็นการเน้นส่งเสริมเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ไทย ให้มีช่องทางขยายตลาดออกสู่ต่างประเทศมากขึ้น เช่น แถบจีนตอนใต้ พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน เป็นต้น โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องจำหน่ายสินค้าที่เป็นตราสินค้าไทยและผลิตในประเทศเท่านั้น และจะไม่มีการให้การสนับสนุนสินค้าของประเทศอื่นโดยเฉพาะประเทศจีนที่ปลอมปนเข้ามาในไทยเป็นจำนวนมาก ให้เข้ามาจำหน่ายหรือได้รับการส่งเสริมใดๆ จากโครงการ ประเด็นสำคัญที่โครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นนำโครงการนี้เข้ามาก็เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยให้เติบโตไปได้พร้อมกันทั้งระบบ
โดยโครงการที่จะจัดขึ้นจะเน้นใน 2 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ 1.การสร้างตราสินค้าไทย (OBM) ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และได้รับการยอมรับจากต่างประเทศทั้งในคุณภาพสินค้าและงานดีไซน์ 2.การเพิ่มตัวเลขการส่งออกสินค้าแฟชั่นไทย โดยตั้งเป้าว่าจะเจาะตลาดต่างประเทศใหม่ๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในแถบตะวันออกกลาง ทั้งนี้งบประมาณที่จะนำมาใช้ดำเนินโครงการดังกล่าวจะนำมาจากงบประมาณที่เหลือจากการดำเนินโครงการอื่นๆ ใน 11 โครงการย่อย ซึ่งจำนวนเงินมูลค่า 5 ล้านบาทที่นำมาดำเนินการครั้งนี้เชื่อมั่นว่าจะสร้างประโยชน์ที่มากขึ้นทั้งในส่วนการเพิ่มยอดขายและสร้างภาพลักษณ์ได้อย่างคุ้มค่า สำหรับส่วนที่เหลืออีก 5 ล้านบาท จากที่ภาคเอกชนได้นำเสนองบประมาณมา 10 ล้านบาท ในช่วงแรกคณะกรรมการโครงการฯ และภาคเอกชนได้ตกลงร่วมกันแล้วว่าภาคเอกชนจะเป็นผู้ดำเนินการในค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือเอง
ด้านนายคมสรรค์ วิจิตรวิกรม ประธานศูนย์บริการส่งออกโบ๊เบ๊ กล่าวว่า ในการดำเนินงานครั้งนี้ถือเป็นการจัดงานครั้งแรกและจะเป็นครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของตลาดค้าส่งโบ๊เบ๊ โดยคณะทำงานจะทำการคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพจำนวน 50 ราย ได้จัดแสดงและจำหน่ายสินค้าบริเวณโรงแรมปรินซ์ พาเลซ ตลาดค้าส่งโบ๊เบ๊ โดยจะมีการเชิญผู้ซื้อทั้งจากในประเทศและต่างประเทศเข้ามาทำการซื้อขายระหว่างกัน ซึ่งเฉพาะในส่วนนี้คาดว่าจากระยะเวลาการจัดงาน 3 วันจะเพิ่มยอดขายได้เป็นมูลค่า 36 ล้านบาท