ซีเอ็มประเมินตลาดอีเว้นท์ครึ่งปีหลังส่อแววคึกคัก หลังเอกชนชะลองบครึ่งปีแรก ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการ ไตรมาสแรกวูบไป พร้อมทั้งปรับลดเป้ารายได้ปีนี้เหลือ 570 ล้านบาท จากเดิมตั้งไว้ 600 ล้านบาท ยันไม่ใช้วิธีการถือหุ้นเหมือนคู่แข่ง
นายเสริมคุณ คุณาวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีหลังปีนี้ประเมินว่าตลาดอีเว้นท์โดยรวมจะเริ่มมีความคึกคักมากขึ้นกว่าช่วงครึ่งปีแรกนี้ หลังจากที่ช่วงครึ่งปีแรกภาคเอกชนต่างก็ชะลองบการจัดทำอีเว้นท์ไปมาก อันเป็นผลกระทบมาจากปัจจัยลบหลายประการทั้งคลื่นสึนามิ ราคาน้ำมัน และความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทฯในช่วงไตรมาสแรกที่ทำรายได้เพียง 68 ล้านบาท ขาดทุนประมาณ 8 ล้านบาท ทั้งที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้วมีรายได้สูงถึง 95.95 ล้านบาท แต่ในไตรมาสที่สองนี้ที่ยังไม่ประกาศผลการดำเนินงานอย่างเป็นทางการนั้น คาดว่าเมื่อรวมกับไตรมาสแรกแล้วจะมีรายได้เติบโต 10%
เนื่องจากโครงการใหญ่ๆมีการเลื่อนออกไปส่งผลกระทบต่อรายได้เช่น โครงการริเวอร์ออฟเดอะคิง มูลค่างาน 25ล้านบาทที่งดไป โครงการเปิดตัวจังค์ซีลอนที่ภูเก็ต มูลค่างาน 40 ล้านบาทที่เลื่อนไปเป็นช่วงปลายปี แต่ไตรมาสที่สองที่ผ่านมามีงานใหญ่ที่ได้มาทำให้รายได้เพิ่มขึ้นเช่น งานแบงก์กรุงศรีอยุธยาครบ 60 ปี มูลค่างาน 25 ล้านบาท งานมิสยูนิเวิร์สมูลค่างาน 25 ล้านบาท
“ช่วงไตรมาสที่สามและสี่นี้ถือว่าเป็นช่วงที่ท้าทายเรามาก เพราะว่า ช่วงปีที่แล้วสองไตรมาสแรกรวมกันเราทำรายได้ 300 กว่าล้านบาท ซึ่งปีนี้ทั้งปีเราตั้งเป้าหมายรายได้ไว้ที่ 600 ล้านบาท แต่ขณะนี้ได้ปรับลดเป้าหมายมาเหลือที่ 560-570 ล้านบาทแล้ว แต่ก็ยังมากกว่ารายได้รวมปีที่แล้วที่ทำได้ 532 ล้านบาท” นายเสริมคุณกล่าว
สำหรับแผนงานที่เตรียมจะขยายงานในช่วงครึ่งปีหลังจำนวนมากเพื่อผลักดันยอดรายได้ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมการและความพร้อมต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นเชิงรุกมากขึ้น เช่น การรุกเข้าสู่ธุรกิจคอนแทร็กเตอร์ จากเดิมที่ไม่มีโรงงานและงานก่อสร้างของตัวเอง เป็นการว่าจ้างบริษัทอื่นทำทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯยังไม่มีแนวคิดที่จะใช้วีการเข้าถือหุ้นในบริษัทพันธมิตรต่างๆ หรือให้พันธมิตรเข้ามาถือหุ้นบริษัทฯในขณะนี้ แต่จะใช้วีการเป็นพันธมิตรแต่ละโครงการไป ทั้งนี้การเป็นพันธมิตรแต่ละโครงการหรือ Alliance Project เริ่มมีตัวอย่างบ้างแล้วเช่น โครงการแฟชั่นคอนเทสต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์แคมเปญของโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น ที่บริษัทร่วมกับพันธมิตรตั้งกิจการร่วมค้า ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ เก็ก แอนด์ เบอร์รี่ โดยบริษัทถือหุ้น 70% จากมูลค่าโครงการรวม 70 ล้านบาท
“เมื่อคู่แข่งอย่างอินเด็กซ์อีเว้นท์มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น โดยมีกลุ่มแกรมมี่เข้าไปถือหุ้นด้วย เราเองก็ต้องมีการปรับตัวรองรับการแข่งขันเหมือนกัน โดยเฉพาะในแง่ของการหาพันธมิตรทางด้านมีเดียเพื่อสร้างความเข้มแข็ง ขณะที่เรามีความแข็งแกร่งทางด้านอีเว้นท์แล้ว”
อีกทั้งก่อนหน้านี้บริษัทฯก็ได้มีการปรับตัวมาบ้างแล้วเพื่อรองรับกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นเช่น การเปิดส่วนงาน ACE หรือ Art Culture Entertainment ที่จะเน้นงานทางด้านศิลปะด้วย จากเดิมที่มีแต่งานลักษณะ บันเทิง และวัฒนธรรม หรือกลุ่มงาน ไมซ์ (MICE) ที่เป็นไปตามแนวโน้มของธุรกิจไมซ์ในไทย เช่นที่ผ่านมารับจัดงานต้อนรับคณะกรรมการโอลิมปิคสากลที่มาเยือนไทยเมื่อเร็วๆนี้ และเตรียมจัดงานการประชุมระดับรัฐมนตรีทางด้านวัฒนธรรมของอาเซียน ต้นเดือนหน้า
สำหรับงานใหญ่ๆที่จะต้องดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของบริษัทฯเช่น แคมเปญต่อเนื่องของทรู-ออเร้นจ์ โครงการเปิดตัวรถยนต์ยี่ห้อหนึ่ง โครงการฉลองครบรอบ 10 ปีไฮเนเก้นในไทย ส่วนของภาครัฐเช่น งานไอซีทีเอ็กซ์โป มูลค่ารวมประมาณ 100 ล้านบาท งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มูลค่างาน 5 ล้านบาท โครงการศิลปะเพื่อฟื้นฟูอันดามันของกระทรวงวัฒนธรรมฯ มูลค่า 18 ล้านบาท เป็นต้น
นายเสริมคุณ คุณาวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีหลังปีนี้ประเมินว่าตลาดอีเว้นท์โดยรวมจะเริ่มมีความคึกคักมากขึ้นกว่าช่วงครึ่งปีแรกนี้ หลังจากที่ช่วงครึ่งปีแรกภาคเอกชนต่างก็ชะลองบการจัดทำอีเว้นท์ไปมาก อันเป็นผลกระทบมาจากปัจจัยลบหลายประการทั้งคลื่นสึนามิ ราคาน้ำมัน และความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทฯในช่วงไตรมาสแรกที่ทำรายได้เพียง 68 ล้านบาท ขาดทุนประมาณ 8 ล้านบาท ทั้งที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้วมีรายได้สูงถึง 95.95 ล้านบาท แต่ในไตรมาสที่สองนี้ที่ยังไม่ประกาศผลการดำเนินงานอย่างเป็นทางการนั้น คาดว่าเมื่อรวมกับไตรมาสแรกแล้วจะมีรายได้เติบโต 10%
เนื่องจากโครงการใหญ่ๆมีการเลื่อนออกไปส่งผลกระทบต่อรายได้เช่น โครงการริเวอร์ออฟเดอะคิง มูลค่างาน 25ล้านบาทที่งดไป โครงการเปิดตัวจังค์ซีลอนที่ภูเก็ต มูลค่างาน 40 ล้านบาทที่เลื่อนไปเป็นช่วงปลายปี แต่ไตรมาสที่สองที่ผ่านมามีงานใหญ่ที่ได้มาทำให้รายได้เพิ่มขึ้นเช่น งานแบงก์กรุงศรีอยุธยาครบ 60 ปี มูลค่างาน 25 ล้านบาท งานมิสยูนิเวิร์สมูลค่างาน 25 ล้านบาท
“ช่วงไตรมาสที่สามและสี่นี้ถือว่าเป็นช่วงที่ท้าทายเรามาก เพราะว่า ช่วงปีที่แล้วสองไตรมาสแรกรวมกันเราทำรายได้ 300 กว่าล้านบาท ซึ่งปีนี้ทั้งปีเราตั้งเป้าหมายรายได้ไว้ที่ 600 ล้านบาท แต่ขณะนี้ได้ปรับลดเป้าหมายมาเหลือที่ 560-570 ล้านบาทแล้ว แต่ก็ยังมากกว่ารายได้รวมปีที่แล้วที่ทำได้ 532 ล้านบาท” นายเสริมคุณกล่าว
สำหรับแผนงานที่เตรียมจะขยายงานในช่วงครึ่งปีหลังจำนวนมากเพื่อผลักดันยอดรายได้ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมการและความพร้อมต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นเชิงรุกมากขึ้น เช่น การรุกเข้าสู่ธุรกิจคอนแทร็กเตอร์ จากเดิมที่ไม่มีโรงงานและงานก่อสร้างของตัวเอง เป็นการว่าจ้างบริษัทอื่นทำทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯยังไม่มีแนวคิดที่จะใช้วีการเข้าถือหุ้นในบริษัทพันธมิตรต่างๆ หรือให้พันธมิตรเข้ามาถือหุ้นบริษัทฯในขณะนี้ แต่จะใช้วีการเป็นพันธมิตรแต่ละโครงการไป ทั้งนี้การเป็นพันธมิตรแต่ละโครงการหรือ Alliance Project เริ่มมีตัวอย่างบ้างแล้วเช่น โครงการแฟชั่นคอนเทสต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์แคมเปญของโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น ที่บริษัทร่วมกับพันธมิตรตั้งกิจการร่วมค้า ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ เก็ก แอนด์ เบอร์รี่ โดยบริษัทถือหุ้น 70% จากมูลค่าโครงการรวม 70 ล้านบาท
“เมื่อคู่แข่งอย่างอินเด็กซ์อีเว้นท์มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น โดยมีกลุ่มแกรมมี่เข้าไปถือหุ้นด้วย เราเองก็ต้องมีการปรับตัวรองรับการแข่งขันเหมือนกัน โดยเฉพาะในแง่ของการหาพันธมิตรทางด้านมีเดียเพื่อสร้างความเข้มแข็ง ขณะที่เรามีความแข็งแกร่งทางด้านอีเว้นท์แล้ว”
อีกทั้งก่อนหน้านี้บริษัทฯก็ได้มีการปรับตัวมาบ้างแล้วเพื่อรองรับกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นเช่น การเปิดส่วนงาน ACE หรือ Art Culture Entertainment ที่จะเน้นงานทางด้านศิลปะด้วย จากเดิมที่มีแต่งานลักษณะ บันเทิง และวัฒนธรรม หรือกลุ่มงาน ไมซ์ (MICE) ที่เป็นไปตามแนวโน้มของธุรกิจไมซ์ในไทย เช่นที่ผ่านมารับจัดงานต้อนรับคณะกรรมการโอลิมปิคสากลที่มาเยือนไทยเมื่อเร็วๆนี้ และเตรียมจัดงานการประชุมระดับรัฐมนตรีทางด้านวัฒนธรรมของอาเซียน ต้นเดือนหน้า
สำหรับงานใหญ่ๆที่จะต้องดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของบริษัทฯเช่น แคมเปญต่อเนื่องของทรู-ออเร้นจ์ โครงการเปิดตัวรถยนต์ยี่ห้อหนึ่ง โครงการฉลองครบรอบ 10 ปีไฮเนเก้นในไทย ส่วนของภาครัฐเช่น งานไอซีทีเอ็กซ์โป มูลค่ารวมประมาณ 100 ล้านบาท งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มูลค่างาน 5 ล้านบาท โครงการศิลปะเพื่อฟื้นฟูอันดามันของกระทรวงวัฒนธรรมฯ มูลค่า 18 ล้านบาท เป็นต้น