แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็มสุดกลั้นดีเซลพุ่ง ประกาศปรับขึ้นค่าธรรมเนียมน้ำมันเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ มีผล 19 ก.ค.2548 โดยเคแอลเอ็มขยับขึ้นมาที่ 1,650 บาทต่อเที่ยว และแอร์ฟรานซ์เพิ่มเป็น 1,845 บาทต่อเที่ยว หลังครั้งแรกปรับไปแล้วเมื่อเดือนเม.ย. ระบุชัดปรับเพื่ออยู่รอดตามต้นทุนน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเป็น 60 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เผยหลังจากควบรวมกิจการได้ 1 ปี ส่งผลรายได้โต 7.3% จากปีก่อน เตรียมเดินหน้าใช้ตั๋วร่วม กำหนดราคากลาง และรวมออฟฟิศเป็นหนึ่งเดียวในปีนี้ หวังเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน ปีหน้าเตรียมลุยช่องทางขายตั๋วผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต และการใช้ตั๋วอิเล็กทรอนิกส์
นายธนวัฒน์ เด่นนภาสุรพงศ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ลาว เขมร และพม่า สายการบินเคแอลเอ็ม (KLM) เปิดเผยว่าในวันที่ 19 ก.ค.2548 บริษัทจะปรับขึ้นค่าธรรมเนียมน้ำมันในเส้นทางเอเชีย-ยุโรป ซึ่งในส่วนของประเทศไทย คือเส้นทางกรุงเทพฯ-อัมสเตอร์ดัม โดยปรับขึ้นจาก 26 ยูโร (1,300 บาท) ต่อเที่ยว ขึ้นมาเป็น 33 ยูโร (1,650 บาท) ต่อเที่ยว ซึ่งถือเป็นการปรับครั้งที่ 2 ของปีนี้ คือเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาได้ปรับขึ้นค่าธรรมเนียมน้ำมันดังกล่าวจาก 20 ยูโร หรือ 1,000 บาทต่อเที่ยว ขึ้นเป็น 26 ยูโร หรือ 1,300 บาทต่อเที่ยว
ทั้งนี้สาเหตุของการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมน้ำมันเป็นการปรับตามต้นทุนที่แท้จริง เพราะปัจจุบันราคาน้ำมันอยู่ที่ 60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยครั้งก่อนที่ปรับขึ้นก็เพราะน้ำมันได้ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งการพิจารณาการปรับแต่ละครั้งบริษัทจะต้องมีการคำนวณอย่างรอบคอบ เพราะไม่ต้องการผลักภาระให้ผู้บริโภคมากเกินควร ประกอบกับสถานการณ์ธุรกิจการบินที่ขณะที่มีการแข่งขันที่รุนแรง หากหวังแต่กำไรเกินควรก็จะเสียลูกค้าเพราะมีทางเลือกเยอะ อย่างไรก็ตามหากน้ำมันดีเซล มีราคาที่อ่อนตัวลงมาอยู่ที่ 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลอีกครั้งติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือนขึ้นไป บริษัทก็จะพิจารณาปรับลดค่าธรรมเนียมน้ำมันลงมาอยู่ระดับเดิมเช่นกัน
สำหรับแผนการตลาดของเคแอลเอ็ม ในส่วนของประเทศไทยยังไม่มีนโยบายเพิ่มเส้นทางการบินหรือเที่ยวบิน เพราะเมื่อเราได้ร่วมบริษัทกับแอร์ฟรานซ์แล้ว จะใช้ประโยชน์จากตรงนี้ก่อน เนื่องจากแอร์ฟรานซ์จะมีหลายเส้นทางบินจากประเทศไทยไปประเทศอื่นๆ มากว่าเคแอลเอ็ม ที่มีเพียงเส้นทางเดียว คือกรุงเทพฯ-อัมสเตอร์ดัม เพราะในเร็วๆ นี้จะมีการรวมออฟฟิศและการทำงานเข้าด้วยกัน พร้อมกับกำหนดใช้ราคาตั๋วร่วมกัน ปัจจุบันแม้จะมีการควบรวมกิจการ ระหว่างแอร์ฟรานซ์และเคแอลเอ็มมาได้ 1 ปีแล้วแต่ยังแยกออฟฟิศ และการตลาดออกจากกัน ใช้เพียงนโยบายหลักร่วมกันเท่านั้น
ครองแชมป์เจ้าตลาดในเอเชีย
นายโจเอล เอ รูดิเย่ร์ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว และพม่า สายการบินแอร์ฟรานซ์ เปิดเผยว่าผลของการควบรวมกิจการกับเคแอลเอ็มมาได้ 1 ปีเต็ม พบว่าทำให้ผลประกอบการของบริษัทดีขึ้นอย่างมาก โดยในปี 2547/2548 บริษัทมีรายได้เฉพาะเส้นทางเอเชีย-แปซิฟิกไปยุโรปที่ 115 ล้านยูโร มากกว่าการคาดการณ์ที่ตั้งไว้ที่ 65 ล้านยูโร ประกอบกับบริษัทมีแผนการดำเนินงานที่รัดกุม โดยเฉพาะการควบคุมค่าใช้จ่ายของทั้งสองบริษัท จึงมีส่วนช่วยให้ตัวเลขของผลประกอบการเพิ่มขึ้นมาก
สำหรับรายได้รวมของแอร์ฟรานซ์ เคแอลเอ็ม ทั่วโลก ปี 2547/2548 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2548 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 19,080 ล้านยูโร หรือ 954,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7.3% ส่งผลให้มีกำไรสุทธิที่ 351 ล้านยูโร หรือ 17,550 ล้านบาท โดยบริษัทให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมาย 225 แห่งทั่วโลก ประกอบด้วย 106 แห่งในเส้นทางพิสัยไกล และ 119 แห่งในเส้นทางพิสัยกลาง เป็นสายการบินอันดับสามของโลก ในด้านรายได้จากการขนส่งผู้โดยสาย สำหรับตลาดเอเชีย-แปซิฟิก เรามีส่วนแบ่งตลาดในเส้นทางนี้ที่ 30% เพิ่มขึ้น 0.6% ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม มีรายงานข่าวแจ้งว่าในวันที่ 19 ก.ค.2548 แอร์ฟรานซ์ก็จะมีการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมน้ำมันเช่นเดียวกับเคแอลเอ็ม โดยจะปรับขึ้นอีก 4 ยูโร หรือประมาณ 200 บาท จากปัจจุบันนี้เก็บที่ 1,645 บาทต่อเที่ยว ในเส้นทางกรุงเทพฯ-ปารีส และในเส้นทางกรุงเทพฯ-ฮานอย จะปรับขึ้นอีก 1 ยูโร หรือประมาณ 50 บาทต่อเที่ยว จากขณะนี้เก็บอยู่ 675 บาทต่อเที่ยว ทั้งนี้การปรับขึ้นค่าธรรมเนียมในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 ของปี 2548 โดยเชื่อว่าการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมน้ำมันจะมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของลูกค้าเช่นกัน แต่เป็นเพียงระยะสั้น และถือว่าเป็นการปรับขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ก็หวังว่าผู้ใช้บริการจะเข้าใจ
ชูโปรแกรมสะสมไมล์เรียกลูกค้าเพิ่ม
นายรูดิเย่ร์ กล่าวอีกว่า บริษัทยังได้จัดทำโปรแกรมสะสมไมล์ ฟลายอิ้ง บลู ซึ่งเป็นการสะสมไมล์ร่วมกันระหว่างสายการบินแอร์ฟรานซ์และเคแอลเอ็ม เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยแบ่งลูกค้าเป็น 3 ระดับตามไมล์ที่สะสม คือบัตรแรกเข้า บัตรเงิน และบัตรทอง โดยสมาชิกจะยกระดับบัตรได้จากยอดไมล์ที่สะสม และสามารถนำไปแลกของสมนาคุณหรือตั๋วเครื่องบินในสายการบินพันธ์มิตรในกลุ่มสกายทีม ซึ่งปัจจุบันมี 9 สายการบิน ได้แก่ แอโรเม็กซิโก แอร์ฟรานซ์ อลิตาเลีย คอนติเนนตัล ซีเอสเอเช็ก เดลต้า เคแอลเอ็ม ,โคเรียนแอร์ และนอร์ทเวสต์ และภายในปีนี้จะมีพันธมิตรเข้ามาเพิ่มอีก 4 สายการบิน คือ แอร์ยูโรป้าของสเปน โคป้าแอร์ไลน์ของปานามา เคนยาแอร์เวย์ของเคนยา และทารอมของโรมาเนีย ปัจจุบันสมาชิกฟลายอิ้ง บลู มี 10 ล้านใบทั่วโลก ประโยชน์ของการร่วมมือกันจะทำให้บริษัทมีฐานข้อมูลลูกค้ามากขึ้น
อย่างไรก็ตามกลยุทธ์ในปี 2548/2549 บริษัทจะเพิ่มปริมาณการขายตั๋วผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต และการใช้ตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ การวางกลยุทธ์ด้านการขายร่วมกันในเส้นทางบินระหว่างประเทศ ยึดหลักจากส่วนประกอบสำคัญที่หลากหลายสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ เช่น เครือข่ายสายการบินร่วมกัน ค่าโดยสารที่ใช้ร่วมกันได้ โปรแกรมสะสมไมล์ร่วมกัน และการเป็นสมาชิกของพันธมิตรการบินหลัก สกายทีม นอกจากนั้นยังมีเป้าหมายเรื่องการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัดในตลาดเพิ่มขึ้น
สำหรับจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการต่อเที่ยวของทั้งสองสายการบินในเส้นทางเอเชีย-แปซิฟิก มีการเติบโตต่อเนื่อง ล่าสุดเส้นทางกรุงเทพฯ-อัมสเตอร์ดัม ของสายการบินเคแอลเอ็มมีจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยต่อเที่ยว 93-95% ขณะที่แอร์ฟรานซ์ ในเส้นทางกรุงเทพฯ-ปารีส มีจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ย 83% ต่อเที่ยว โดยทั้ง 2 สายการบินมีเที่ยวบินสายละ 7 เที่ยวต่อสัปดาห์
นายธนวัฒน์ เด่นนภาสุรพงศ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ลาว เขมร และพม่า สายการบินเคแอลเอ็ม (KLM) เปิดเผยว่าในวันที่ 19 ก.ค.2548 บริษัทจะปรับขึ้นค่าธรรมเนียมน้ำมันในเส้นทางเอเชีย-ยุโรป ซึ่งในส่วนของประเทศไทย คือเส้นทางกรุงเทพฯ-อัมสเตอร์ดัม โดยปรับขึ้นจาก 26 ยูโร (1,300 บาท) ต่อเที่ยว ขึ้นมาเป็น 33 ยูโร (1,650 บาท) ต่อเที่ยว ซึ่งถือเป็นการปรับครั้งที่ 2 ของปีนี้ คือเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาได้ปรับขึ้นค่าธรรมเนียมน้ำมันดังกล่าวจาก 20 ยูโร หรือ 1,000 บาทต่อเที่ยว ขึ้นเป็น 26 ยูโร หรือ 1,300 บาทต่อเที่ยว
ทั้งนี้สาเหตุของการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมน้ำมันเป็นการปรับตามต้นทุนที่แท้จริง เพราะปัจจุบันราคาน้ำมันอยู่ที่ 60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยครั้งก่อนที่ปรับขึ้นก็เพราะน้ำมันได้ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งการพิจารณาการปรับแต่ละครั้งบริษัทจะต้องมีการคำนวณอย่างรอบคอบ เพราะไม่ต้องการผลักภาระให้ผู้บริโภคมากเกินควร ประกอบกับสถานการณ์ธุรกิจการบินที่ขณะที่มีการแข่งขันที่รุนแรง หากหวังแต่กำไรเกินควรก็จะเสียลูกค้าเพราะมีทางเลือกเยอะ อย่างไรก็ตามหากน้ำมันดีเซล มีราคาที่อ่อนตัวลงมาอยู่ที่ 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลอีกครั้งติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือนขึ้นไป บริษัทก็จะพิจารณาปรับลดค่าธรรมเนียมน้ำมันลงมาอยู่ระดับเดิมเช่นกัน
สำหรับแผนการตลาดของเคแอลเอ็ม ในส่วนของประเทศไทยยังไม่มีนโยบายเพิ่มเส้นทางการบินหรือเที่ยวบิน เพราะเมื่อเราได้ร่วมบริษัทกับแอร์ฟรานซ์แล้ว จะใช้ประโยชน์จากตรงนี้ก่อน เนื่องจากแอร์ฟรานซ์จะมีหลายเส้นทางบินจากประเทศไทยไปประเทศอื่นๆ มากว่าเคแอลเอ็ม ที่มีเพียงเส้นทางเดียว คือกรุงเทพฯ-อัมสเตอร์ดัม เพราะในเร็วๆ นี้จะมีการรวมออฟฟิศและการทำงานเข้าด้วยกัน พร้อมกับกำหนดใช้ราคาตั๋วร่วมกัน ปัจจุบันแม้จะมีการควบรวมกิจการ ระหว่างแอร์ฟรานซ์และเคแอลเอ็มมาได้ 1 ปีแล้วแต่ยังแยกออฟฟิศ และการตลาดออกจากกัน ใช้เพียงนโยบายหลักร่วมกันเท่านั้น
ครองแชมป์เจ้าตลาดในเอเชีย
นายโจเอล เอ รูดิเย่ร์ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว และพม่า สายการบินแอร์ฟรานซ์ เปิดเผยว่าผลของการควบรวมกิจการกับเคแอลเอ็มมาได้ 1 ปีเต็ม พบว่าทำให้ผลประกอบการของบริษัทดีขึ้นอย่างมาก โดยในปี 2547/2548 บริษัทมีรายได้เฉพาะเส้นทางเอเชีย-แปซิฟิกไปยุโรปที่ 115 ล้านยูโร มากกว่าการคาดการณ์ที่ตั้งไว้ที่ 65 ล้านยูโร ประกอบกับบริษัทมีแผนการดำเนินงานที่รัดกุม โดยเฉพาะการควบคุมค่าใช้จ่ายของทั้งสองบริษัท จึงมีส่วนช่วยให้ตัวเลขของผลประกอบการเพิ่มขึ้นมาก
สำหรับรายได้รวมของแอร์ฟรานซ์ เคแอลเอ็ม ทั่วโลก ปี 2547/2548 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2548 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 19,080 ล้านยูโร หรือ 954,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7.3% ส่งผลให้มีกำไรสุทธิที่ 351 ล้านยูโร หรือ 17,550 ล้านบาท โดยบริษัทให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมาย 225 แห่งทั่วโลก ประกอบด้วย 106 แห่งในเส้นทางพิสัยไกล และ 119 แห่งในเส้นทางพิสัยกลาง เป็นสายการบินอันดับสามของโลก ในด้านรายได้จากการขนส่งผู้โดยสาย สำหรับตลาดเอเชีย-แปซิฟิก เรามีส่วนแบ่งตลาดในเส้นทางนี้ที่ 30% เพิ่มขึ้น 0.6% ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม มีรายงานข่าวแจ้งว่าในวันที่ 19 ก.ค.2548 แอร์ฟรานซ์ก็จะมีการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมน้ำมันเช่นเดียวกับเคแอลเอ็ม โดยจะปรับขึ้นอีก 4 ยูโร หรือประมาณ 200 บาท จากปัจจุบันนี้เก็บที่ 1,645 บาทต่อเที่ยว ในเส้นทางกรุงเทพฯ-ปารีส และในเส้นทางกรุงเทพฯ-ฮานอย จะปรับขึ้นอีก 1 ยูโร หรือประมาณ 50 บาทต่อเที่ยว จากขณะนี้เก็บอยู่ 675 บาทต่อเที่ยว ทั้งนี้การปรับขึ้นค่าธรรมเนียมในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 ของปี 2548 โดยเชื่อว่าการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมน้ำมันจะมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของลูกค้าเช่นกัน แต่เป็นเพียงระยะสั้น และถือว่าเป็นการปรับขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ก็หวังว่าผู้ใช้บริการจะเข้าใจ
ชูโปรแกรมสะสมไมล์เรียกลูกค้าเพิ่ม
นายรูดิเย่ร์ กล่าวอีกว่า บริษัทยังได้จัดทำโปรแกรมสะสมไมล์ ฟลายอิ้ง บลู ซึ่งเป็นการสะสมไมล์ร่วมกันระหว่างสายการบินแอร์ฟรานซ์และเคแอลเอ็ม เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยแบ่งลูกค้าเป็น 3 ระดับตามไมล์ที่สะสม คือบัตรแรกเข้า บัตรเงิน และบัตรทอง โดยสมาชิกจะยกระดับบัตรได้จากยอดไมล์ที่สะสม และสามารถนำไปแลกของสมนาคุณหรือตั๋วเครื่องบินในสายการบินพันธ์มิตรในกลุ่มสกายทีม ซึ่งปัจจุบันมี 9 สายการบิน ได้แก่ แอโรเม็กซิโก แอร์ฟรานซ์ อลิตาเลีย คอนติเนนตัล ซีเอสเอเช็ก เดลต้า เคแอลเอ็ม ,โคเรียนแอร์ และนอร์ทเวสต์ และภายในปีนี้จะมีพันธมิตรเข้ามาเพิ่มอีก 4 สายการบิน คือ แอร์ยูโรป้าของสเปน โคป้าแอร์ไลน์ของปานามา เคนยาแอร์เวย์ของเคนยา และทารอมของโรมาเนีย ปัจจุบันสมาชิกฟลายอิ้ง บลู มี 10 ล้านใบทั่วโลก ประโยชน์ของการร่วมมือกันจะทำให้บริษัทมีฐานข้อมูลลูกค้ามากขึ้น
อย่างไรก็ตามกลยุทธ์ในปี 2548/2549 บริษัทจะเพิ่มปริมาณการขายตั๋วผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต และการใช้ตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ การวางกลยุทธ์ด้านการขายร่วมกันในเส้นทางบินระหว่างประเทศ ยึดหลักจากส่วนประกอบสำคัญที่หลากหลายสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ เช่น เครือข่ายสายการบินร่วมกัน ค่าโดยสารที่ใช้ร่วมกันได้ โปรแกรมสะสมไมล์ร่วมกัน และการเป็นสมาชิกของพันธมิตรการบินหลัก สกายทีม นอกจากนั้นยังมีเป้าหมายเรื่องการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัดในตลาดเพิ่มขึ้น
สำหรับจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการต่อเที่ยวของทั้งสองสายการบินในเส้นทางเอเชีย-แปซิฟิก มีการเติบโตต่อเนื่อง ล่าสุดเส้นทางกรุงเทพฯ-อัมสเตอร์ดัม ของสายการบินเคแอลเอ็มมีจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยต่อเที่ยว 93-95% ขณะที่แอร์ฟรานซ์ ในเส้นทางกรุงเทพฯ-ปารีส มีจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ย 83% ต่อเที่ยว โดยทั้ง 2 สายการบินมีเที่ยวบินสายละ 7 เที่ยวต่อสัปดาห์