ส.อ.ท.ชี้ปัญหาน้ำดิบในพื้นที่ภาคตะวันออกในขณะนี้ยังไม่น่าไว้วางใจ แม้จะมีการขุดน้ำบาดาลเพื่อเสริมปริมาณน้ำของอ่างเก็บน้ำ แต่ก็มีคลอไรด์สูงจนส่งผลกระทบต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมบางประเภท ขณะที่น้ำในอ่างเก็บน้ำก็เหลือน้อย แม้ฝนจะตกแต่ไม่ไหลเข้าอ่าง เสนอรัฐบาลแก้ปัญหาเร่งด่วน มิเช่นนั้นจะมีน้ำเหลือใช้เพียงวันที่ 15 ส.ค.นี้
นายณรงค์ ถ้ำเขางาม ประธานคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงการแก้ไขปัญหาภาวะขาดแคลนน้ำดิบในพื้นที่ภาคตะวันออก ว่า จากการขุดบ่อบาดาลในช่วงเกือบ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อนำมาเสริมปริมาณน้ำในอ่างดอกกราย และหนองปลาไหล พบว่าสามารถเพิ่มน้ำได้ไม่มากนักประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และปรากฏว่ามีปริมาณคลอไรด์สูงกว่ามาตรฐานเฉลี่ยโดยอยู่ที่ 100-200 พีพีเอ็ม ขณะที่โรงงานที่มีระบบแยกคลอไรด์ หรือทรีทเมนต์สามารถรับได้ไม่เกิน 100 พีพีเอ็ม ซึ่งหากต้องมีการลงทุนสร้างระบบทรีทเมนต์เพิ่มต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 เดือน
“น้ำที่มีคลอไรด์สูงจะมีปัญหากับระบบการผลิตอุตสาหกรรมบางประเภทที่ต้องใช้น้ำเป็นวัตถุดิบโดยตรงได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและการผลิตเหล็กแผ่น อย่างไรก็ตาม หากมีการนำน้ำบาดาลที่ขุดได้มาเจือจางกับน้ำในอ่างดอกกรายและหนองปลาไหลก็คงจะเจือจางคลอไรด์ได้ แต่สิ่งที่กังวลคือ ปริมาณน้ำทั้ง 2 อ่างลดลงมาก เหลือประมาณ 20 ล้านลูกบาศก์เมตรรวมกับน้ำสำรองแล้ว เพราะแม้ฝนจะตกแต่น้ำก็ไม่เข้าอ่าง ซึ่งหากเอกชนใช้น้ำอยู่ระดับ 500,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันและฝนไม่ตกมากกว่านี้ จะทำให้มีน้ำใช้ได้อีกประมาณไม่เกิน 15 สิงหาคมนี้ ซึ่งเอกชนก็ต้องรอความหวังจากภาครัฐที่ระบุว่าจะรับผิดชอบหากน้ำขาดแคลน” นายณรงค์ กล่าว
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองเลขาธิการ ส.อ.ท. กล่าวว่า รัฐบาลจะต้องเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เพราะน้ำบาดาลที่ขุดได้มีคลอไรด์ค่อนข้างสูง ซึ่งจะมีปัญหากับบางอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถนำมาสู่กระบวนการผลิตได้ โดยเฉพาะเหล็กแผ่น เพราะจะทำให้เกิดสนิม อุตสาหกรรมปิโตรเคมีก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน
นายวิวรรธน์ เหมมณฑารพ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก ส.อ.ท. กล่าวว่า ในวันที่ 18 กรกฎาคมนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะสรุปสถานการณ์เกี่ยวกับปัญหาน้ำให้ผู้ผลิตรับทราบอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อนำไปประเมินการดำเนินการต่อไป
นายณรงค์ ถ้ำเขางาม ประธานคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงการแก้ไขปัญหาภาวะขาดแคลนน้ำดิบในพื้นที่ภาคตะวันออก ว่า จากการขุดบ่อบาดาลในช่วงเกือบ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อนำมาเสริมปริมาณน้ำในอ่างดอกกราย และหนองปลาไหล พบว่าสามารถเพิ่มน้ำได้ไม่มากนักประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และปรากฏว่ามีปริมาณคลอไรด์สูงกว่ามาตรฐานเฉลี่ยโดยอยู่ที่ 100-200 พีพีเอ็ม ขณะที่โรงงานที่มีระบบแยกคลอไรด์ หรือทรีทเมนต์สามารถรับได้ไม่เกิน 100 พีพีเอ็ม ซึ่งหากต้องมีการลงทุนสร้างระบบทรีทเมนต์เพิ่มต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 เดือน
“น้ำที่มีคลอไรด์สูงจะมีปัญหากับระบบการผลิตอุตสาหกรรมบางประเภทที่ต้องใช้น้ำเป็นวัตถุดิบโดยตรงได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและการผลิตเหล็กแผ่น อย่างไรก็ตาม หากมีการนำน้ำบาดาลที่ขุดได้มาเจือจางกับน้ำในอ่างดอกกรายและหนองปลาไหลก็คงจะเจือจางคลอไรด์ได้ แต่สิ่งที่กังวลคือ ปริมาณน้ำทั้ง 2 อ่างลดลงมาก เหลือประมาณ 20 ล้านลูกบาศก์เมตรรวมกับน้ำสำรองแล้ว เพราะแม้ฝนจะตกแต่น้ำก็ไม่เข้าอ่าง ซึ่งหากเอกชนใช้น้ำอยู่ระดับ 500,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันและฝนไม่ตกมากกว่านี้ จะทำให้มีน้ำใช้ได้อีกประมาณไม่เกิน 15 สิงหาคมนี้ ซึ่งเอกชนก็ต้องรอความหวังจากภาครัฐที่ระบุว่าจะรับผิดชอบหากน้ำขาดแคลน” นายณรงค์ กล่าว
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองเลขาธิการ ส.อ.ท. กล่าวว่า รัฐบาลจะต้องเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เพราะน้ำบาดาลที่ขุดได้มีคลอไรด์ค่อนข้างสูง ซึ่งจะมีปัญหากับบางอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถนำมาสู่กระบวนการผลิตได้ โดยเฉพาะเหล็กแผ่น เพราะจะทำให้เกิดสนิม อุตสาหกรรมปิโตรเคมีก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน
นายวิวรรธน์ เหมมณฑารพ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก ส.อ.ท. กล่าวว่า ในวันที่ 18 กรกฎาคมนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะสรุปสถานการณ์เกี่ยวกับปัญหาน้ำให้ผู้ผลิตรับทราบอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อนำไปประเมินการดำเนินการต่อไป