กลุ่มอาหารของโออิชิเทงบกว่า 100 ล้านบาทขยายสาขาและปรับร้านอาหารในเครือ ล่าสุดปรับโฉม “อิน แอนด์ เอาท์” ใหม่ฉลองครบรอบ 5 ปี ส่วนอาหารโออิชิบุฟเฟ่ต์ลงทุนจ้างเชฟคิดค้นเมนูอาหารเพิ่ม 2 สูตร เผยร้านชาบูชิเติบโตสูงสุด ปีนี้เล็งเปิดเพิ่ม 4 สาขา ส่วนร้านน้องใหม่ “เทปันยากิ” เล็งเปิดสาขาใหม่ปีหน้า หวังขยายฐานลูกค้าคนไทยเพิ่มมากขึ้น
นายไพศาล อ่าวสถาพร ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทฯ มีธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหารอยู่ 9 แบรนด์ ประกอบด้วย โออิชิแกรนด์, โออิชิบุฟเฟ่ต์, โออิชิ เอ็กเพรส, ชาบูชิ, โออิชิ ราเมน, ซูชิ บาร์, ร้านเบเกอรี่อิน แอนด์ เอาท์, ล็อค โฮม และโอเค สุกี้ โดยบริษัทฯ ได้วางงบลงทุนในการขยายสาขาและปรับปรุงร้านอาหารกว่า 100 ล้านบาท ล่าสุดเตรียมปรับโฉมร้านอาหารใหม่ 2 แบรนด์ คือ ร้านเบเกอรี่ “อิน แอนด์ เอาท์” ซึ่งจะมีการปรับทั้งรูปแบบร้าน แพคเกจ โลโก้ และชุดยูนิฟอร์มพนักงานที่เดิมจะใช้สีน้ำตาล ซึ่งจะมีการเพิ่มสีเขียวเพื่อเพิ่มสีสันชุดพนักงาน ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนครั้งนี้เพื่อฉลองที่อิน แอนด์ เอาท์ ครบรอบ 5 ปี และบริษัทฯ อยากทำสิ่งใหม่เพิ่มเติมจากเดิม
ปัจจุบันอิน แอนด์ เอาท์ มี 23 สาขา ภายในสิ้นปี 2548 นี้คาดว่าจะเปิดเพิ่มอีก 4 สาขา อาทิ ที่แจ้งวัฒนะและหลักสี่ โดยรูปแบบของอิน แอนด์ เอาท์ มี 3 รูปแบบ ได้แก่ ร้านที่มีเตาอบขนมปัง 1 แห่งที่เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า ร้านที่มีที่นั่งทาน 5 สาขา และร้านแบบซื้อกลับบ้านไม่มีที่นั่งทาน
นายไพศาล กล่าวด้วยว่า ในส่วนของโออิชิบุฟเฟ่ต์ที่เริ่มดำเนินการมานานกว่า 6 ปี ปีนี้บริษัทฯจึงมีโครงการปรับปรุงร้านอาหารในรูปแบบใหม่ เพื่อให้มีความทันสมัยขึ้นรองรับการแข่งขันในตลาด ที่ผ่านมาบางสาขาได้มีการปรับปรุงไปบ้างแล้ว อาทิ ที่เมเจอร์ ปิ่นเกล้าและซีคอน สแควร์ ส่วนด้านรสชาติและคุณภาพอาหารได้มีการจ้างเชฟทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ เพื่อมาคิดค้นเมนูอาหารให้ 2 สูตร เพื่อเพิ่มความหลากหลายของเมนูอาหารในร้านให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ปัจจุบันโออิชิ บุฟเฟ่ต์ มี 9 สาขา ไม่รวมแฟรนไชส์ที่บริษัทมีอยู่ในภูเก็ตอีก 2 สาขา คือ ที่เซ็นทรัล ภูเก็ต และอินเด็กซ์ ภูเก็ต
ด้านร้านโออิชิ ราเมนปัจจุบันบริษัทฯ มี 21 สาขา ปลายปีนี้เตรียมเปิดเพิ่ม 1 สาขา โดยสถานการณ์ตลาดราเมนในขณะนี้คู่แข่งที่สำคัญของโออิชิ คือ ฮะจิบัง ขณะที่จุดแข็งของโออิชิ ราเมนที่ได้เปรียบคู่แข่งตรงที่เมนูอาหารมีมากและรสชาติอาหารเหมาะสมกับคนไทย
ส่วนร้านอาหารชาบูชิ ซึ่งเป็นร้านอาหารที่มีอัตราการเติบโตมากสุด เนื่องจากมีอาหารให้เลือกหลายรูปแบบทั้งสุกี้และชาบูชิ เป็นต้น ในราคาที่เหมาะสม คือ 199 บาท ซึ่งสามารถตอบโจทย์คนไทยได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันมีทั้งหมด 9 สาขา ภายในปีนี้เตรียมเปิดเพิ่มอีก 4 สาขา
นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ทดลองเปิดร้านอาหารใหม่ภายใต้ชื่อ “เทปันยากิ บาย กริลล์ แอนด์ มอร์ ” ที่เพิ่งเปิดไป 2 จุดที่ศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ โดยที่ผ่านมาได้รับการตอบรับดีจากลูกค้าชาวต่างชาติ คิดเป็นสัดส่วน 60% ในส่วนลูกค้าคนไทยที่บริษัทฯ อยากเน้นให้มาเป็นลูกค้า พบว่าคนไทยยังไม่คุ้นเคยกับร้านอาหารแบบนี้เท่าที่ควร ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาพฤติกรรมคนไทยอยู่ว่าเหมาะสมหรือไม่ ก่อนที่ปีหน้ามีแผนเปิดสาขาใหม่เพิ่มเพื่อที่คนไทยจะได้มีความคุ้นเคยมากขึ้น
สำหรับยอดรายได้ในส่วนร้านอาหารอันดับ 1 ที่มียอดขายมากสุด คือ โออิชิ บุฟเฟ่ต์ คิดเป็น 40% รองลงมาโออิชิ ราเมนและชาบูชิ อย่างละ 20% และอื่นๆ อีก 20%
นายไพศาล อ่าวสถาพร ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทฯ มีธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหารอยู่ 9 แบรนด์ ประกอบด้วย โออิชิแกรนด์, โออิชิบุฟเฟ่ต์, โออิชิ เอ็กเพรส, ชาบูชิ, โออิชิ ราเมน, ซูชิ บาร์, ร้านเบเกอรี่อิน แอนด์ เอาท์, ล็อค โฮม และโอเค สุกี้ โดยบริษัทฯ ได้วางงบลงทุนในการขยายสาขาและปรับปรุงร้านอาหารกว่า 100 ล้านบาท ล่าสุดเตรียมปรับโฉมร้านอาหารใหม่ 2 แบรนด์ คือ ร้านเบเกอรี่ “อิน แอนด์ เอาท์” ซึ่งจะมีการปรับทั้งรูปแบบร้าน แพคเกจ โลโก้ และชุดยูนิฟอร์มพนักงานที่เดิมจะใช้สีน้ำตาล ซึ่งจะมีการเพิ่มสีเขียวเพื่อเพิ่มสีสันชุดพนักงาน ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนครั้งนี้เพื่อฉลองที่อิน แอนด์ เอาท์ ครบรอบ 5 ปี และบริษัทฯ อยากทำสิ่งใหม่เพิ่มเติมจากเดิม
ปัจจุบันอิน แอนด์ เอาท์ มี 23 สาขา ภายในสิ้นปี 2548 นี้คาดว่าจะเปิดเพิ่มอีก 4 สาขา อาทิ ที่แจ้งวัฒนะและหลักสี่ โดยรูปแบบของอิน แอนด์ เอาท์ มี 3 รูปแบบ ได้แก่ ร้านที่มีเตาอบขนมปัง 1 แห่งที่เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า ร้านที่มีที่นั่งทาน 5 สาขา และร้านแบบซื้อกลับบ้านไม่มีที่นั่งทาน
นายไพศาล กล่าวด้วยว่า ในส่วนของโออิชิบุฟเฟ่ต์ที่เริ่มดำเนินการมานานกว่า 6 ปี ปีนี้บริษัทฯจึงมีโครงการปรับปรุงร้านอาหารในรูปแบบใหม่ เพื่อให้มีความทันสมัยขึ้นรองรับการแข่งขันในตลาด ที่ผ่านมาบางสาขาได้มีการปรับปรุงไปบ้างแล้ว อาทิ ที่เมเจอร์ ปิ่นเกล้าและซีคอน สแควร์ ส่วนด้านรสชาติและคุณภาพอาหารได้มีการจ้างเชฟทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ เพื่อมาคิดค้นเมนูอาหารให้ 2 สูตร เพื่อเพิ่มความหลากหลายของเมนูอาหารในร้านให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ปัจจุบันโออิชิ บุฟเฟ่ต์ มี 9 สาขา ไม่รวมแฟรนไชส์ที่บริษัทมีอยู่ในภูเก็ตอีก 2 สาขา คือ ที่เซ็นทรัล ภูเก็ต และอินเด็กซ์ ภูเก็ต
ด้านร้านโออิชิ ราเมนปัจจุบันบริษัทฯ มี 21 สาขา ปลายปีนี้เตรียมเปิดเพิ่ม 1 สาขา โดยสถานการณ์ตลาดราเมนในขณะนี้คู่แข่งที่สำคัญของโออิชิ คือ ฮะจิบัง ขณะที่จุดแข็งของโออิชิ ราเมนที่ได้เปรียบคู่แข่งตรงที่เมนูอาหารมีมากและรสชาติอาหารเหมาะสมกับคนไทย
ส่วนร้านอาหารชาบูชิ ซึ่งเป็นร้านอาหารที่มีอัตราการเติบโตมากสุด เนื่องจากมีอาหารให้เลือกหลายรูปแบบทั้งสุกี้และชาบูชิ เป็นต้น ในราคาที่เหมาะสม คือ 199 บาท ซึ่งสามารถตอบโจทย์คนไทยได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันมีทั้งหมด 9 สาขา ภายในปีนี้เตรียมเปิดเพิ่มอีก 4 สาขา
นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ทดลองเปิดร้านอาหารใหม่ภายใต้ชื่อ “เทปันยากิ บาย กริลล์ แอนด์ มอร์ ” ที่เพิ่งเปิดไป 2 จุดที่ศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ โดยที่ผ่านมาได้รับการตอบรับดีจากลูกค้าชาวต่างชาติ คิดเป็นสัดส่วน 60% ในส่วนลูกค้าคนไทยที่บริษัทฯ อยากเน้นให้มาเป็นลูกค้า พบว่าคนไทยยังไม่คุ้นเคยกับร้านอาหารแบบนี้เท่าที่ควร ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาพฤติกรรมคนไทยอยู่ว่าเหมาะสมหรือไม่ ก่อนที่ปีหน้ามีแผนเปิดสาขาใหม่เพิ่มเพื่อที่คนไทยจะได้มีความคุ้นเคยมากขึ้น
สำหรับยอดรายได้ในส่วนร้านอาหารอันดับ 1 ที่มียอดขายมากสุด คือ โออิชิ บุฟเฟ่ต์ คิดเป็น 40% รองลงมาโออิชิ ราเมนและชาบูชิ อย่างละ 20% และอื่นๆ อีก 20%