เฮรัลด์ ทรีบูน/ไฟแนนเชียล ไทมส์ - คนวงในชี้ช่วง 12-18 เดือนข้างหน้า บรรดาเฮดจ์ฟันด์จากทั่วโลกจะแห่แหนเข้ามาเก็บของถูกในเอเชีย ขณะที่กองทุนใหญ่ยักษ์ คาลเปอร์ส เตรียมเสี่ยงพวงมาลัยเลือกกองทุนบริหารความเสี่ยงเอเชียเร็วๆ นี้
ปัจจุบัน กองทุนบริหารความเสี่ยง หรือเฮดจ์ฟันด์ เข้ามาลงทุนในเอเชียทั้งสิ้นประมาณ 65,000 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วนราว 6.5% ของมูลค่าการลงทุนของกองทุนประเภทนี้ทั่วโลกที่อยู่ที่ 1 ล้านล้านดอลลาร์ แต่ไม่ถึง 15% ซึ่งเป็นส่วนแบ่งของเอเชียเมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดรวมทั่วโลก
คอลิน ลันน์ หัวหน้าฝ่ายขายกองทุนทางเลือกของเอชเอสบีซี ชี้ว่า การลงทุนของเฮดจ์ฟันด์ในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) จะเพิ่มขึ้นชัดเจนเป็นมากกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากมีกองทุนใหญ่หลายแห่งที่ยังลุยมาไม่ถึงย่านนี้
แม้มีการคาดการณ์ว่า การเติบโตของหลายประเทศในตะวันออกไกลอาจชะลอตัวลง แต่ทัศนคติในแง่บวกของลันน์ได้รับการสนับสนุนจากยูเรกาเฮดจ์ ที่ปรึกษาในวงการเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งทำนายว่ามูลค่าสินทรัพย์ในเอเชียจะเพิ่มจาก 60,000 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว เป็น 85,000 ล้านดอลลาร์ในปีนี้
ลันน์ยังบอกอีกว่า ตลาดการเงินเอเชียหยิบยื่นโอกาสที่ดีกว่าภูมิภาคอื่น เพราะราคาสินทรัพย์บางตัวถูกดึงต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง อาทิ หนี้ด้อยคุณภาพ และกองทุนหุ้นส่วนบุคคล
เขาเสริมว่า ผู้จัดการกองทุนเพิ่มสินค้าโภคภัณฑ์เข้าไปในพอร์ตด้วย เพื่อฉกฉวยประโยชน์ในจังหวะที่จีนหิวโหยวัตถุดิบ
ขณะเดียวกัน ผู้จัดการกองทุนของหนึ่งในกองทุนตลาดเกิดใหม่ใหญ่ที่สุดของโลกแนะนำให้นักลงทุนถือหุ้นกู้ของประเทศกำลังพัฒนา เช่น บราซิล และรัสเซีย เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจในหมู่ประเทศตลาดเกิดใหม่จะช่วยชดเชยความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น
โมฮัมหมัด เอล-อีเรียน ผู้บริหารกองทุนตลาดเกิดใหม่มูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ในแปซิฟิก อินเวสต์เมนท์ แมเนจเมนท์ หรือพิมโค ชี้ว่า จะมีบางเวลาที่หุ้นกู้ในตลาดเกิดใหม่ได้รับผลลบจากพัฒนาการในย่านอื่นๆ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานด้านความน่าเชื่อถือแต่อย่างใด เนื่องจากคุณภาพความน่าเชื่อถือของประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่ดีขึ้นเรื่อยๆ จากนโยบายเศรษฐกิจภายในที่เหมาะสม และการเพิ่มการสะสมทุนสำรองอัตราแลกเปลี่ยน
ขณะเดียวกัน เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทมส์รายงานเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วว่า คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย (คาลเปอร์ส) อาจเข้ามาลงทุนในเฮดจ์ฟันด์เอเชียเร็วๆ นี้ ส่งสัญญาณการกลับมาของกองทุนขนาดยักษ์จากเมืองลุงแซม หลังจากตัดสินใจลดสัดส่วนการลงทุนในภูมิภาคนี้มาหลายปี
ผู้จัดการกองทุนคนหนึ่งในฮ่องกงแย้มว่า คาลเปอร์สอาจกำลังเลือกกองทุนเอเชียอยู่ และการลงทุนนี้จะกระตุ้นให้กองทุนบำนาญอื่นๆ ในสหรัฐฯที่หายหน้าหายตาไปนับจากวิกฤตการณ์การเงินปี 1997 กลับเข้ามาเล่นด้วย
ทั้งนี้ คาลเปอร์ส ซึ่งเป็นกองทุนบำนาญที่มีเม็ดเงินสูงถึง 181,000 ล้านดอลลาร์ ประกาศไว้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วว่า มีแผนลงทุนเบื้องต้น 500 ล้านดอลลาร์ในกองทุนเฮดจ์ฟันด์ เพื่อเพิ่มมูลค่าการลงทุนในด้านนี้จาก 850 ล้านดอลลาร์ เป็น 2,000 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี ไฟแนนเชียล ไทมส์ระบุว่า ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า เงินดังกล่าวพุ่งเป้ามาที่เอเชียหรือไม่
หนังสือพิมพ์ชั้นนำของเกาะอังกฤษรายงานต่อไปว่า เดือนที่แล้ว คาลเปอร์สส่งตัวแทนไปหารือเรื่องยุทธศาสตร์การลงทุนในญี่ปุ่นและฮ่องกง และเป็นที่เชื่อว่า กองทุนแห่งนี้ได้สัมภาษณ์เฮดจ์ฟันด์หลายแห่งที่ลงทุนในเฮดจ์ฟันด์อื่นๆ ในจำนวนนี้มีอาทิ สปาร์กซ์ แอสเส็ต แมเนจเมนท์ของญี่ปุ่น, วิชั่น อินเวสต์เมนท์ แมเนจเมนท์ในฮ่องกง และเคบีซี อัลฟา แอสเส็ต แมเนจเมนท์ในสิงคโปร์
อนึ่ง ปี 2003 คาลเปอร์สเคยลงทุนในกองทุนที่เน้นด้านบรรษัทภิบาลของสปาร์กซ์เป็นมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์ แต่สำหรับครั้งนี้ กองทุนยักษ์จากแคลิฟอร์เนียบอกว่ายังไม่ได้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย
ปัจจุบัน กองทุนบริหารความเสี่ยง หรือเฮดจ์ฟันด์ เข้ามาลงทุนในเอเชียทั้งสิ้นประมาณ 65,000 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วนราว 6.5% ของมูลค่าการลงทุนของกองทุนประเภทนี้ทั่วโลกที่อยู่ที่ 1 ล้านล้านดอลลาร์ แต่ไม่ถึง 15% ซึ่งเป็นส่วนแบ่งของเอเชียเมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดรวมทั่วโลก
คอลิน ลันน์ หัวหน้าฝ่ายขายกองทุนทางเลือกของเอชเอสบีซี ชี้ว่า การลงทุนของเฮดจ์ฟันด์ในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) จะเพิ่มขึ้นชัดเจนเป็นมากกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากมีกองทุนใหญ่หลายแห่งที่ยังลุยมาไม่ถึงย่านนี้
แม้มีการคาดการณ์ว่า การเติบโตของหลายประเทศในตะวันออกไกลอาจชะลอตัวลง แต่ทัศนคติในแง่บวกของลันน์ได้รับการสนับสนุนจากยูเรกาเฮดจ์ ที่ปรึกษาในวงการเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งทำนายว่ามูลค่าสินทรัพย์ในเอเชียจะเพิ่มจาก 60,000 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว เป็น 85,000 ล้านดอลลาร์ในปีนี้
ลันน์ยังบอกอีกว่า ตลาดการเงินเอเชียหยิบยื่นโอกาสที่ดีกว่าภูมิภาคอื่น เพราะราคาสินทรัพย์บางตัวถูกดึงต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง อาทิ หนี้ด้อยคุณภาพ และกองทุนหุ้นส่วนบุคคล
เขาเสริมว่า ผู้จัดการกองทุนเพิ่มสินค้าโภคภัณฑ์เข้าไปในพอร์ตด้วย เพื่อฉกฉวยประโยชน์ในจังหวะที่จีนหิวโหยวัตถุดิบ
ขณะเดียวกัน ผู้จัดการกองทุนของหนึ่งในกองทุนตลาดเกิดใหม่ใหญ่ที่สุดของโลกแนะนำให้นักลงทุนถือหุ้นกู้ของประเทศกำลังพัฒนา เช่น บราซิล และรัสเซีย เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจในหมู่ประเทศตลาดเกิดใหม่จะช่วยชดเชยความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น
โมฮัมหมัด เอล-อีเรียน ผู้บริหารกองทุนตลาดเกิดใหม่มูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ในแปซิฟิก อินเวสต์เมนท์ แมเนจเมนท์ หรือพิมโค ชี้ว่า จะมีบางเวลาที่หุ้นกู้ในตลาดเกิดใหม่ได้รับผลลบจากพัฒนาการในย่านอื่นๆ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานด้านความน่าเชื่อถือแต่อย่างใด เนื่องจากคุณภาพความน่าเชื่อถือของประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่ดีขึ้นเรื่อยๆ จากนโยบายเศรษฐกิจภายในที่เหมาะสม และการเพิ่มการสะสมทุนสำรองอัตราแลกเปลี่ยน
ขณะเดียวกัน เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทมส์รายงานเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วว่า คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย (คาลเปอร์ส) อาจเข้ามาลงทุนในเฮดจ์ฟันด์เอเชียเร็วๆ นี้ ส่งสัญญาณการกลับมาของกองทุนขนาดยักษ์จากเมืองลุงแซม หลังจากตัดสินใจลดสัดส่วนการลงทุนในภูมิภาคนี้มาหลายปี
ผู้จัดการกองทุนคนหนึ่งในฮ่องกงแย้มว่า คาลเปอร์สอาจกำลังเลือกกองทุนเอเชียอยู่ และการลงทุนนี้จะกระตุ้นให้กองทุนบำนาญอื่นๆ ในสหรัฐฯที่หายหน้าหายตาไปนับจากวิกฤตการณ์การเงินปี 1997 กลับเข้ามาเล่นด้วย
ทั้งนี้ คาลเปอร์ส ซึ่งเป็นกองทุนบำนาญที่มีเม็ดเงินสูงถึง 181,000 ล้านดอลลาร์ ประกาศไว้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วว่า มีแผนลงทุนเบื้องต้น 500 ล้านดอลลาร์ในกองทุนเฮดจ์ฟันด์ เพื่อเพิ่มมูลค่าการลงทุนในด้านนี้จาก 850 ล้านดอลลาร์ เป็น 2,000 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี ไฟแนนเชียล ไทมส์ระบุว่า ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า เงินดังกล่าวพุ่งเป้ามาที่เอเชียหรือไม่
หนังสือพิมพ์ชั้นนำของเกาะอังกฤษรายงานต่อไปว่า เดือนที่แล้ว คาลเปอร์สส่งตัวแทนไปหารือเรื่องยุทธศาสตร์การลงทุนในญี่ปุ่นและฮ่องกง และเป็นที่เชื่อว่า กองทุนแห่งนี้ได้สัมภาษณ์เฮดจ์ฟันด์หลายแห่งที่ลงทุนในเฮดจ์ฟันด์อื่นๆ ในจำนวนนี้มีอาทิ สปาร์กซ์ แอสเส็ต แมเนจเมนท์ของญี่ปุ่น, วิชั่น อินเวสต์เมนท์ แมเนจเมนท์ในฮ่องกง และเคบีซี อัลฟา แอสเส็ต แมเนจเมนท์ในสิงคโปร์
อนึ่ง ปี 2003 คาลเปอร์สเคยลงทุนในกองทุนที่เน้นด้านบรรษัทภิบาลของสปาร์กซ์เป็นมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์ แต่สำหรับครั้งนี้ กองทุนยักษ์จากแคลิฟอร์เนียบอกว่ายังไม่ได้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย