เอเอฟพี - โปรตอนโวยค่ายรถต่างชาติดัมพ์ราคา ท่ามกลางภาวะยอดขายรถยนต์แห่งชาติตกต่ำ ชี้การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบต่อตลาดโดยรวม ขณะที่ทางการเสือเหลืองรับปากจัดการปัญหานี้อย่างจริงจัง
มาฮาลีล อาริฟฟ์ ประธานบริหารโปรตอน โครงการรถยนต์แห่งชาติมาเลเซีย ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเบอร์นามาว่า การทุ่มตลาดของค่ายรถต่างชาติจะกระทบต่อตลาด ขณะที่สมาคมผู้จัดการจำหน่ายรถยนต์โปรดอน เอดาร์ (เปดา) ระบุว่ารถยนต์นำเข้าบางยี่ห้อจำหน่ายในราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง 20-25%
วอน อับดุล เราะห์มาน กรรมการผู้จัดการเปดา สำทับว่าตนได้รับข้อมูลมาว่า ต้นทุน ค่าประกันภัย และขนส่งของรถยนต์เกาหลีบางยี่ห้อ ไม่ได้ถูกแจกแจงออกมาเพื่อให้เสียภาษีถูกลง และเปิดโอกาสให้ดีลเลอร์เสนอส่วนลดแก่ลูกค้า
ด้านรองนายกฯนาจิบ ราซัค กล่าวเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลจะจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะถือเป็นปัญหาที่คุกคามภาวะการแข่งขันในตลาด
แม้ร่วมกันครองส่วนแบ่งตลาดในประเทศกว่า 70% แต่บริษัทรถยนต์ชั้นนำ 2 แห่งซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของมาเลเซียคือ โปรตอน และเปโรดัว กำลังเผชิญแรงกดดันหนักขึ้นจากค่ายรถญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ขณะที่ตลาดรถยนต์มีการเปิดเสรีอย่างค่อยเป็นค่อยไปภายใต้ข้อตกลงการค้าภายในภูมิภาค
ปีที่แล้ว ส่วนแบ่งตลาดของโปรตอนลดลงอยู่ที่ 44% จาก 48% ในปี 2003 ขณะที่ส่วนแบ่งของเปโรดัวลดจาก 35% เหลือ 30%
เมื่อต้นสัปดาห์ รัฐมนตรีช่วยพาณิชย์ อาหมัด ฮุสนี โมฮัมหมัด ฮานัดซ์เลาะห์ แถลงต่อรัฐสภาว่า ยอดส่งออกของโปรตอนคิดเป็นสัดส่วนเพียง 6.1% ของปริมาณการผลิต และ 1.7% สำหรับเปโรดัว พร้อมเรียกร้องให้ทั้งสองบริษัทหามาตรการพลิกฟื้นยอดขายต่างแดน
มาฮาลีล อาริฟฟ์ ประธานบริหารโปรตอน โครงการรถยนต์แห่งชาติมาเลเซีย ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเบอร์นามาว่า การทุ่มตลาดของค่ายรถต่างชาติจะกระทบต่อตลาด ขณะที่สมาคมผู้จัดการจำหน่ายรถยนต์โปรดอน เอดาร์ (เปดา) ระบุว่ารถยนต์นำเข้าบางยี่ห้อจำหน่ายในราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง 20-25%
วอน อับดุล เราะห์มาน กรรมการผู้จัดการเปดา สำทับว่าตนได้รับข้อมูลมาว่า ต้นทุน ค่าประกันภัย และขนส่งของรถยนต์เกาหลีบางยี่ห้อ ไม่ได้ถูกแจกแจงออกมาเพื่อให้เสียภาษีถูกลง และเปิดโอกาสให้ดีลเลอร์เสนอส่วนลดแก่ลูกค้า
ด้านรองนายกฯนาจิบ ราซัค กล่าวเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลจะจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะถือเป็นปัญหาที่คุกคามภาวะการแข่งขันในตลาด
แม้ร่วมกันครองส่วนแบ่งตลาดในประเทศกว่า 70% แต่บริษัทรถยนต์ชั้นนำ 2 แห่งซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของมาเลเซียคือ โปรตอน และเปโรดัว กำลังเผชิญแรงกดดันหนักขึ้นจากค่ายรถญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ขณะที่ตลาดรถยนต์มีการเปิดเสรีอย่างค่อยเป็นค่อยไปภายใต้ข้อตกลงการค้าภายในภูมิภาค
ปีที่แล้ว ส่วนแบ่งตลาดของโปรตอนลดลงอยู่ที่ 44% จาก 48% ในปี 2003 ขณะที่ส่วนแบ่งของเปโรดัวลดจาก 35% เหลือ 30%
เมื่อต้นสัปดาห์ รัฐมนตรีช่วยพาณิชย์ อาหมัด ฮุสนี โมฮัมหมัด ฮานัดซ์เลาะห์ แถลงต่อรัฐสภาว่า ยอดส่งออกของโปรตอนคิดเป็นสัดส่วนเพียง 6.1% ของปริมาณการผลิต และ 1.7% สำหรับเปโรดัว พร้อมเรียกร้องให้ทั้งสองบริษัทหามาตรการพลิกฟื้นยอดขายต่างแดน