รมว.พลังงานวางยุทธศาสตร์เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เพื่อให้ได้ข้อสรุปก่อนสิ้นปีนี้ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดกำหนดเงื่อนไขการเปิดประมูลโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี)
นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังประชุมคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ว่า ภายหลังที่คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาวางกรอบการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศแล้ว ที่ประชุมคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงานเห็นว่า เพื่อให้การพัฒนาไฟฟ้าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ศึกษายุทธศาสตร์การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในส่วนผลิตไฟฟ้าร่วมกันอย่างละเอียด
ทั้งนี้ เพื่อหาข้อสรุปให้แล้วเสร็จก่อนสิ้นปีนี้ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดกำหนดเงื่อนไขการเปิดประมูลโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) สำหรับกรอบยุทธศาสตร์การผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพที่กำหนดเบื้องต้นมีรายละเอียดอย่างกว้างไว้ประกอบด้วย 1.ระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้า น้ำร้อน และน้ำเย็น แบบผสมผสาน (Combine heat & power ) ที่เรียกว่า District Cooling & Cogeneration ซึ่งเป็นการนำความร้อนที่เหลือจากการผลิตไฟฟ้ามาผลิตเป็นไอน้ำกลับมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติม และใช้ในกระบวนการผลิตน้ำเย็น 2.ระบบโมดูลาซิสเต็มสนับสนุนให้เกิดการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งที่ใช้ไฟฟ้า เพื่อลดการลงทุนทางด้านสายส่ง
นอกจากนี้ ในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานยังมีการส่งเสริมให้ใช้พลังงานทดแทนประเภทต่างๆ ทั้งพลังงานชีวมวล พลังงานขยะ ฯลฯ และระบุให้มีการกระจายการใช้เชื้อเพลิงอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งสนับสนุนกระบวนการผลิตพลังงานทดแทนตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ และก่อให้เกิดการแข่งขันในการผลิตไฟฟ้า เพื่อให้การผลิตไฟฟ้ามีความมั่นคง และมีราคาถูก สำหรับระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบ (Combine heat & power ) นั้น เป็นแนวคิดเดียวกับที่มีการดำเนินงานที่สนามบินสุวรรณภูมิ ที่บริษัทผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด ซึ่ง กฟผ. ปตท. และ กฟน. ร่วมมือในการวางระบบการผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ
ส่วนการสนับสนุนให้เกิดการผลิตไฟฟ้าในแหล่งที่ใช้ไฟฟ้า ทดแทนระบบที่เป็นอยู่ ซึ่งเดิมมักใช้วิธีสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพื่อรองรับความต้องการในหลายๆ พื้นที่ ส่งผลต่อต้นทุนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องเปลี่ยนมาเป็นการกระจายการผลิตไฟฟ้าไปอยู่ตามแหล่งที่ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่แทน สำหรับจุดที่จะดำเนินการได้เพิ่มเติมนั้น ทาง ปตท. แจ้งว่า มีจุดที่สามารถดำเนินการได้ในเขต กทม. ซึ่งใกล้แนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติอีกประมาณ 400 จุด เช่น ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ โครงการศูนย์เอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ที่วิภาวดีรังสิต เป็นต้น แนวคิดดังกล่าวนี้จะช่วยลดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ลง ทั้งนี้นโยบายรัฐบาลระบุว่าด้านการประมูลไอพีพีรอบใหม่ ผู้ผลิตไฟฟ้าที่จะขายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบจะมีสัดส่วนของพลังงานทดแทนรวมอยู่ด้วย โดยรัฐไม่มีนโยบายที่จะชดเชยราคาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน แต่จะรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ที่เสนอค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่ำที่สุด
นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังประชุมคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ว่า ภายหลังที่คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาวางกรอบการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศแล้ว ที่ประชุมคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงานเห็นว่า เพื่อให้การพัฒนาไฟฟ้าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ศึกษายุทธศาสตร์การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในส่วนผลิตไฟฟ้าร่วมกันอย่างละเอียด
ทั้งนี้ เพื่อหาข้อสรุปให้แล้วเสร็จก่อนสิ้นปีนี้ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดกำหนดเงื่อนไขการเปิดประมูลโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) สำหรับกรอบยุทธศาสตร์การผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพที่กำหนดเบื้องต้นมีรายละเอียดอย่างกว้างไว้ประกอบด้วย 1.ระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้า น้ำร้อน และน้ำเย็น แบบผสมผสาน (Combine heat & power ) ที่เรียกว่า District Cooling & Cogeneration ซึ่งเป็นการนำความร้อนที่เหลือจากการผลิตไฟฟ้ามาผลิตเป็นไอน้ำกลับมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติม และใช้ในกระบวนการผลิตน้ำเย็น 2.ระบบโมดูลาซิสเต็มสนับสนุนให้เกิดการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งที่ใช้ไฟฟ้า เพื่อลดการลงทุนทางด้านสายส่ง
นอกจากนี้ ในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานยังมีการส่งเสริมให้ใช้พลังงานทดแทนประเภทต่างๆ ทั้งพลังงานชีวมวล พลังงานขยะ ฯลฯ และระบุให้มีการกระจายการใช้เชื้อเพลิงอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งสนับสนุนกระบวนการผลิตพลังงานทดแทนตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ และก่อให้เกิดการแข่งขันในการผลิตไฟฟ้า เพื่อให้การผลิตไฟฟ้ามีความมั่นคง และมีราคาถูก สำหรับระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบ (Combine heat & power ) นั้น เป็นแนวคิดเดียวกับที่มีการดำเนินงานที่สนามบินสุวรรณภูมิ ที่บริษัทผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด ซึ่ง กฟผ. ปตท. และ กฟน. ร่วมมือในการวางระบบการผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ
ส่วนการสนับสนุนให้เกิดการผลิตไฟฟ้าในแหล่งที่ใช้ไฟฟ้า ทดแทนระบบที่เป็นอยู่ ซึ่งเดิมมักใช้วิธีสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพื่อรองรับความต้องการในหลายๆ พื้นที่ ส่งผลต่อต้นทุนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องเปลี่ยนมาเป็นการกระจายการผลิตไฟฟ้าไปอยู่ตามแหล่งที่ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่แทน สำหรับจุดที่จะดำเนินการได้เพิ่มเติมนั้น ทาง ปตท. แจ้งว่า มีจุดที่สามารถดำเนินการได้ในเขต กทม. ซึ่งใกล้แนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติอีกประมาณ 400 จุด เช่น ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ โครงการศูนย์เอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ที่วิภาวดีรังสิต เป็นต้น แนวคิดดังกล่าวนี้จะช่วยลดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ลง ทั้งนี้นโยบายรัฐบาลระบุว่าด้านการประมูลไอพีพีรอบใหม่ ผู้ผลิตไฟฟ้าที่จะขายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบจะมีสัดส่วนของพลังงานทดแทนรวมอยู่ด้วย โดยรัฐไม่มีนโยบายที่จะชดเชยราคาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน แต่จะรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ที่เสนอค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่ำที่สุด