ทูตเกษตรประจำสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทยระบุสหรัฐเตรียมส่งเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (ไอซีที) เข้ามาสำรวจความเสียหายของอุตสาหกรรมกุ้งไทยใน 6 จังหวัดภาคใต้ เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาทบทวนยกเลิกการใช้มาตรการภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) สินค้ากุ้งของไทย ทูตเกษตรประจำสถานทูตสหรัฐได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์คลื่นยักษ์ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในทุกด้านโดยเฉพาะด้านการเกษตรให้เป็นไปตามที่ไทยร้องขอ
นายพินิจ กอศรีพร รองโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ นาย Roderick MacShrry ทูตเกษตรประจำสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ได้เดินทางเข้าพบ นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ โดยในระหว่างการหารือ ทูตเกษตรของสหรัฐยืนยันตามที่ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ร้องขอคือภายในเดือนมกราคมนี้ ทางการของประเทศสหรัฐจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ ไอซีทีเข้ามาสำรวจความเสียหายของอุตสาหกรรมกุ้งไทย โดยเฉพาะโรงเพาะฟักลูกกุ้งในพื้นที่ 6 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ จากนั้นจะมีการนำข้อมูลความเสียหายไปประกอบการพิจารณาทบทวนยกเลิกมาตรการเอดีสินค้ากุ้งของไทย
นายพินิจ กล่าวว่า ขณะนี้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้กรมประมงเร่งสำรวจความเสียหายของผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งใน 6 จังหวัดที่ประสบภัย ซึ่งคาดว่าพื้นที่เลี้ยงกุ้งจะได้รับความเสียหายไม่น้อยกว่าร้อยละ 30-40 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท ส่วนวันและเวลาที่ไอซีทีจะเดินทางมาสำรวจความเสียหายของพื้นที่เพาะเลี้ยงลูกกุ้งนั้น จะทราบความชัดเจนในวัน 18 มกราคมนี้
นอกจากนี้ ในระหว่างการหารือทูตเกษตรประจำสถานทูตสหรัฐได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์คลื่นยักษ์ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในทุกด้านโดยเฉพาะด้านการเกษตรให้เป็นไปตามที่ไทยร้องขอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสำรวจความเสียหายภาคการเกษตร การปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ชาวประมมงสามารถกลับมาประกอบอาชีพได้ตามเดิม การแก้ไขปัญหาสภาพน้ำใต้ดินที่ได้รับผลกระทบ หรือปรับปรุงระบบชลประทาน
ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ต้องการให้สหรัฐช่วยเหลือด้วยการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจโครงสร้างภาคการประมงในพื้นที่ 6 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์ทั้งระบบ เนื่องจากหลังการเกิดคลื่นยักษ์ ระบบนิเวศน์ทรัพยากรทางทะเลได้รับความเสียหายถึงร้อยละ 90 ส่งผลให้ทรัพยากรทางทะเลเกิดการเปลี่ยนแปลงจนอาจกระทบต่อการประกอบอาชีพการทำประมงของเกษตรกรในอนาคต โดยปลัดกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้กรมประมงไปจัดทำรายละเอียด ของโครงการความร่วมมือดังกล่าว จากนั้นจะแจ้งให้สหรัฐรับทราบถึงแนวทางการขอรับความช่วยเหลือต่อไป
นายพินิจ กอศรีพร รองโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ นาย Roderick MacShrry ทูตเกษตรประจำสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ได้เดินทางเข้าพบ นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ โดยในระหว่างการหารือ ทูตเกษตรของสหรัฐยืนยันตามที่ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ร้องขอคือภายในเดือนมกราคมนี้ ทางการของประเทศสหรัฐจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ ไอซีทีเข้ามาสำรวจความเสียหายของอุตสาหกรรมกุ้งไทย โดยเฉพาะโรงเพาะฟักลูกกุ้งในพื้นที่ 6 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ จากนั้นจะมีการนำข้อมูลความเสียหายไปประกอบการพิจารณาทบทวนยกเลิกมาตรการเอดีสินค้ากุ้งของไทย
นายพินิจ กล่าวว่า ขณะนี้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้กรมประมงเร่งสำรวจความเสียหายของผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งใน 6 จังหวัดที่ประสบภัย ซึ่งคาดว่าพื้นที่เลี้ยงกุ้งจะได้รับความเสียหายไม่น้อยกว่าร้อยละ 30-40 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท ส่วนวันและเวลาที่ไอซีทีจะเดินทางมาสำรวจความเสียหายของพื้นที่เพาะเลี้ยงลูกกุ้งนั้น จะทราบความชัดเจนในวัน 18 มกราคมนี้
นอกจากนี้ ในระหว่างการหารือทูตเกษตรประจำสถานทูตสหรัฐได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์คลื่นยักษ์ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในทุกด้านโดยเฉพาะด้านการเกษตรให้เป็นไปตามที่ไทยร้องขอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสำรวจความเสียหายภาคการเกษตร การปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ชาวประมมงสามารถกลับมาประกอบอาชีพได้ตามเดิม การแก้ไขปัญหาสภาพน้ำใต้ดินที่ได้รับผลกระทบ หรือปรับปรุงระบบชลประทาน
ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ต้องการให้สหรัฐช่วยเหลือด้วยการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจโครงสร้างภาคการประมงในพื้นที่ 6 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์ทั้งระบบ เนื่องจากหลังการเกิดคลื่นยักษ์ ระบบนิเวศน์ทรัพยากรทางทะเลได้รับความเสียหายถึงร้อยละ 90 ส่งผลให้ทรัพยากรทางทะเลเกิดการเปลี่ยนแปลงจนอาจกระทบต่อการประกอบอาชีพการทำประมงของเกษตรกรในอนาคต โดยปลัดกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้กรมประมงไปจัดทำรายละเอียด ของโครงการความร่วมมือดังกล่าว จากนั้นจะแจ้งให้สหรัฐรับทราบถึงแนวทางการขอรับความช่วยเหลือต่อไป