กลุ่มประเทศอาเซียน+3 ทบทวนปริมาณการสำรองข้าวของแต่ละประเทศ เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินใหม่ รวมทั้งตัวเลขการบริจาคข้าวเข้าโครงการฯ เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาข้าวในตลาดโลก อีกทั้งจะทำให้ไทยรักษาระดับราคาข้าวได้อย่างคงที่
นายพินิจ กอศรีพร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ในฐานะรองโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการดำเนินงานโครงการนำร่องเพื่อระบบการสำรองข้าวของภูมิภาคอาเซียน ว่า โครงการดังกล่าวทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งรวมไปถึงประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จะต้องดำเนินการใน 2 แนวทางคือ จะต้องมีการประกาศปริมาณการสำรองข้าวเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน โดยส่วนนี้ไทยจะมีการสำรองไว้ที่ 15,000 ตัน ส่วนอีกแนวทางคือ แต่ละประเทศจะต้องมีการบริจาคข้าวเข้าโครงการ ซึ่งในส่วนนี้ทางประเทศญี่ปุ่นแจ้งว่า จะทำการบริจาคที่ปริมาณ 5,000 ตัน สำหรับในส่วนประเทศไทยได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ไปดำเนินการศึกษาว่าสัดส่วนที่ไทยจะทำการบริจาคจะมีตัวเลขเท่าใด จากนั้นจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาจาก ครม. ต่อไป
สำหรับปริมาณข้าวที่ไทยจะบริจาคในโครงการดังกล่าวนั้น ให้ สศก. ไปศึกษาสถิติการบริจาคข้าวในช่วง 5 ปีย้อนหลัง และสำรวจตัวเลขที่ชัดเจนของปริมาณการบริจาคของแต่ละประเทศ เนื่องจาก ผลการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า สัดส่วนการบริจาคข้าวของแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งรวมไปถึงประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จะต้องมีปริมาณรวมไปเกิน 1.5 ล้านตัน เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาข้าวในตลาดโลก ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าว จะสามารถทำให้ไทยรักษาระดับราคาข้าวได้อย่างคงที่ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการผลิตข้าวในภูมิภาคอาเซียน สำหรับปริมาณข้าวที่มีการสำรองของแต่ละประเทศ และปริมาณการบริจาคข้าวในโครงการดังกล่าว แต่ละประเทศสามารถนำข้าวไปใช้ภายในประเทศได้ แต่ทั้งนี้ หากปีใดไม่มีการขอหรือนำข้าวไปใช้ ให้สามารถนำไปช่วยเหลือประเทศที่มีความปัญหาความอดอยาก หรือประเทศที่ประสบปัญหาภัยธรรมอย่างรุนแรง
นายพินิจ กอศรีพร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ในฐานะรองโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการดำเนินงานโครงการนำร่องเพื่อระบบการสำรองข้าวของภูมิภาคอาเซียน ว่า โครงการดังกล่าวทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งรวมไปถึงประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จะต้องดำเนินการใน 2 แนวทางคือ จะต้องมีการประกาศปริมาณการสำรองข้าวเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน โดยส่วนนี้ไทยจะมีการสำรองไว้ที่ 15,000 ตัน ส่วนอีกแนวทางคือ แต่ละประเทศจะต้องมีการบริจาคข้าวเข้าโครงการ ซึ่งในส่วนนี้ทางประเทศญี่ปุ่นแจ้งว่า จะทำการบริจาคที่ปริมาณ 5,000 ตัน สำหรับในส่วนประเทศไทยได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ไปดำเนินการศึกษาว่าสัดส่วนที่ไทยจะทำการบริจาคจะมีตัวเลขเท่าใด จากนั้นจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาจาก ครม. ต่อไป
สำหรับปริมาณข้าวที่ไทยจะบริจาคในโครงการดังกล่าวนั้น ให้ สศก. ไปศึกษาสถิติการบริจาคข้าวในช่วง 5 ปีย้อนหลัง และสำรวจตัวเลขที่ชัดเจนของปริมาณการบริจาคของแต่ละประเทศ เนื่องจาก ผลการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า สัดส่วนการบริจาคข้าวของแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งรวมไปถึงประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จะต้องมีปริมาณรวมไปเกิน 1.5 ล้านตัน เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาข้าวในตลาดโลก ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าว จะสามารถทำให้ไทยรักษาระดับราคาข้าวได้อย่างคงที่ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการผลิตข้าวในภูมิภาคอาเซียน สำหรับปริมาณข้าวที่มีการสำรองของแต่ละประเทศ และปริมาณการบริจาคข้าวในโครงการดังกล่าว แต่ละประเทศสามารถนำข้าวไปใช้ภายในประเทศได้ แต่ทั้งนี้ หากปีใดไม่มีการขอหรือนำข้าวไปใช้ ให้สามารถนำไปช่วยเหลือประเทศที่มีความปัญหาความอดอยาก หรือประเทศที่ประสบปัญหาภัยธรรมอย่างรุนแรง