กระทรวงเกษตรฯ เตรียมส่งเจ้าหน้าที่ไปหารือรายละเอียดเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการประมงกับปาปัวนิวกินี โดยคาดว่าจะได้ประโยชน์ทั้งด้านกุ้ง ปลาทูน่า และประมงน้ำลึก
นายชวาลวุฑฒ ไชยนุวัติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการด้านนโยบายการเกษตรระหว่างประเทศ ว่า จากที่นาย Ben Semri รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประมงปาปัวนิวกินี ได้เดินทางเข้าพบนายสมศักดิ์ เทพสุทิน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2547 ที่ผ่านมา และแสดงเจตนารมณ์ที่จะมีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านประมง และด้านข้าวจากไทย โดยให้ฝ่ายไทยจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไปยังปาปัวนิวกินี
ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะได้ส่งผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดูงานและหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับลู่ทางความร่วมมือกับปาปัวนิวกินี ในเร็ว ๆ นี้ โดยในด้านประมง ได้มอบหมายให้กรมประมงเป็นผู้ศึกษารายละเอียดความเป็นไปได้ในการให้ความช่วยเหลือในการด้านเลี้ยงกุ้ง การทำประมงน้ำลึกในปาปัวนิวกินี รวมไปถึงช่องทางการลงทุนการทำโรงงานแปรรูปสินค้าประมง โดยเฉพาะปลาทูน่า ซึ่งยังมีไม่มากนักในประเทศปาปัวนิวกินี แต่ทั้งนี้ คงต้องมีการหารือกับภาคเอกชนด้วย
สำหรับความร่วมมือด้านวิชาการในเรื่องของการปลูกข้าวนั้น ได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้รับผิดชอบ และศึกษาแนวทางการให้ความช่วยเหลือว่าทางฝ่ายไทยจะให้ในด้านใดได้บ้าง นอกจากนี้ ยังถือโอกาสไปศึกษาข้อมูลด้านพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ที่ปาปัวนิวกินี ถือว่ามีพันธุ์ปาล์มที่มีคุณภาพส่งไปจำหน่ายยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งไทยจะดูท่าทีความเป็นไปได้ในการนำพันธุ์ปาล์มเข้ามาปลูกในไทย ในกรณีที่การปลูกปาล์มไม่เพียงพอต่อการผลิตภายในประเทศ
ด้านนายพินิจ กอศรีพร รองสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยว่า นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังได้มีการสรุปผลความคืบหน้าการเจรจา FTA ที่ไทยทำความร่วมมือกับ 5 ประเทศ ได้แก่ 1. ไทย-นิวซีแลนด์ ซึ่งนำหลักการเบื้องต้นที่ไทยทำกับออสเตรเลีย เป็นพื้นฐาน ซึ่งขณะนี้ได้มีการเห็นชอบร่วมกันในเกือบทุกรายการแล้ว และนายกรัฐมนตรีของไทย จะประกาศร่วมกับนายกรัฐมนตรีของนิวซีแลนด์ ในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปก สัปดาห์หน้า ว่าได้มีการทำความตกลง FTA ระหว่างไทยกับนิวซีแลนด์ เรียบร้อยแล้ว โดยจะเริ่มมีผลในกลางปีหน้า 2. อาเซียน - จีน นั้น ยังอยู่ในระหว่างการเจรจา ทั้งนี้ ท่าทีของไทยก็ต้องอยู่ภายใต้กรอบโดยรวมของสมาชิกอาเซียน แต่นับว่าก็มีความคืบหน้ามากขึ้นแล้ว และอยู่ระหว่างการกำหนดระยะเวลาสินค้าในโควตา ว่าจะอยู่ในระยะเวลาเท่าใด และเริ่มลดมีการลดภาษีเมื่อไร
3. ไทย-ญี่ปุ่น ท่าทีของญี่ปุ่น นั้น มีความยืดหยุ่นกับไทยมากขึ้น เมื่อไทยได้ถอนรายชื่อข้าวออกจากสินค้าอ่อนไหวที่ผู้นำของทั้งไทยและญี่ปุ่น ได้มีเจตนารมณ์ร่วมกัน แต่ฝ่ายไทยก็จะยืนยันสินค้าอ่อนไหวที่เหลือ ได้แก่ มัน ไก่ และน้ำตาล รวมถึงจะผลักดันผักผลไม้สดและแปรรูป สินค้าประมง ให้ญี่ปุ่นเปิดตลาดสินค้าให้ในการประชุม JTEPA ครั้งที่ 5 ในวันที่ 1 – 3 ธันวาคม 2547 ด้วย 4. ไทย-อินเดีย ซึ่งเมื่อเดือนกันยายน ที่ผ่านมา ได้เริ่มมีการลดภาษีแล้วในสินค้าเกษตร 11 รายการ และจะมีการเจรจากันอีกครั้ง ในวันที่ 13 - 15 ธันวาคม 2547 โดยประเทศอินเดีย เป็นเจ้าภาพ และประเทศสุดท้าย คือ ไทย-เปรู ที่นับว่ามีความคืบหน้าช้ามาก เนื่องจากเปรู มีความระมัดระวังสินค้าอ่อนไหวหลายชนิด โดยเฉพาะมีการกำหนดไม่ให้มีการเจรจาในสินค้า ไก่ น้ำตาล ซึ่งเป็นสินค้าหลักในการส่งออกของไทย ดังนั้น ฝ่ายไทยก็จะชะลอดูท่าทีการเจรจาออกไปก่อน
นายชวาลวุฑฒ ไชยนุวัติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการด้านนโยบายการเกษตรระหว่างประเทศ ว่า จากที่นาย Ben Semri รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประมงปาปัวนิวกินี ได้เดินทางเข้าพบนายสมศักดิ์ เทพสุทิน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2547 ที่ผ่านมา และแสดงเจตนารมณ์ที่จะมีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านประมง และด้านข้าวจากไทย โดยให้ฝ่ายไทยจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไปยังปาปัวนิวกินี
ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะได้ส่งผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดูงานและหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับลู่ทางความร่วมมือกับปาปัวนิวกินี ในเร็ว ๆ นี้ โดยในด้านประมง ได้มอบหมายให้กรมประมงเป็นผู้ศึกษารายละเอียดความเป็นไปได้ในการให้ความช่วยเหลือในการด้านเลี้ยงกุ้ง การทำประมงน้ำลึกในปาปัวนิวกินี รวมไปถึงช่องทางการลงทุนการทำโรงงานแปรรูปสินค้าประมง โดยเฉพาะปลาทูน่า ซึ่งยังมีไม่มากนักในประเทศปาปัวนิวกินี แต่ทั้งนี้ คงต้องมีการหารือกับภาคเอกชนด้วย
สำหรับความร่วมมือด้านวิชาการในเรื่องของการปลูกข้าวนั้น ได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้รับผิดชอบ และศึกษาแนวทางการให้ความช่วยเหลือว่าทางฝ่ายไทยจะให้ในด้านใดได้บ้าง นอกจากนี้ ยังถือโอกาสไปศึกษาข้อมูลด้านพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ที่ปาปัวนิวกินี ถือว่ามีพันธุ์ปาล์มที่มีคุณภาพส่งไปจำหน่ายยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งไทยจะดูท่าทีความเป็นไปได้ในการนำพันธุ์ปาล์มเข้ามาปลูกในไทย ในกรณีที่การปลูกปาล์มไม่เพียงพอต่อการผลิตภายในประเทศ
ด้านนายพินิจ กอศรีพร รองสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยว่า นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังได้มีการสรุปผลความคืบหน้าการเจรจา FTA ที่ไทยทำความร่วมมือกับ 5 ประเทศ ได้แก่ 1. ไทย-นิวซีแลนด์ ซึ่งนำหลักการเบื้องต้นที่ไทยทำกับออสเตรเลีย เป็นพื้นฐาน ซึ่งขณะนี้ได้มีการเห็นชอบร่วมกันในเกือบทุกรายการแล้ว และนายกรัฐมนตรีของไทย จะประกาศร่วมกับนายกรัฐมนตรีของนิวซีแลนด์ ในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปก สัปดาห์หน้า ว่าได้มีการทำความตกลง FTA ระหว่างไทยกับนิวซีแลนด์ เรียบร้อยแล้ว โดยจะเริ่มมีผลในกลางปีหน้า 2. อาเซียน - จีน นั้น ยังอยู่ในระหว่างการเจรจา ทั้งนี้ ท่าทีของไทยก็ต้องอยู่ภายใต้กรอบโดยรวมของสมาชิกอาเซียน แต่นับว่าก็มีความคืบหน้ามากขึ้นแล้ว และอยู่ระหว่างการกำหนดระยะเวลาสินค้าในโควตา ว่าจะอยู่ในระยะเวลาเท่าใด และเริ่มลดมีการลดภาษีเมื่อไร
3. ไทย-ญี่ปุ่น ท่าทีของญี่ปุ่น นั้น มีความยืดหยุ่นกับไทยมากขึ้น เมื่อไทยได้ถอนรายชื่อข้าวออกจากสินค้าอ่อนไหวที่ผู้นำของทั้งไทยและญี่ปุ่น ได้มีเจตนารมณ์ร่วมกัน แต่ฝ่ายไทยก็จะยืนยันสินค้าอ่อนไหวที่เหลือ ได้แก่ มัน ไก่ และน้ำตาล รวมถึงจะผลักดันผักผลไม้สดและแปรรูป สินค้าประมง ให้ญี่ปุ่นเปิดตลาดสินค้าให้ในการประชุม JTEPA ครั้งที่ 5 ในวันที่ 1 – 3 ธันวาคม 2547 ด้วย 4. ไทย-อินเดีย ซึ่งเมื่อเดือนกันยายน ที่ผ่านมา ได้เริ่มมีการลดภาษีแล้วในสินค้าเกษตร 11 รายการ และจะมีการเจรจากันอีกครั้ง ในวันที่ 13 - 15 ธันวาคม 2547 โดยประเทศอินเดีย เป็นเจ้าภาพ และประเทศสุดท้าย คือ ไทย-เปรู ที่นับว่ามีความคืบหน้าช้ามาก เนื่องจากเปรู มีความระมัดระวังสินค้าอ่อนไหวหลายชนิด โดยเฉพาะมีการกำหนดไม่ให้มีการเจรจาในสินค้า ไก่ น้ำตาล ซึ่งเป็นสินค้าหลักในการส่งออกของไทย ดังนั้น ฝ่ายไทยก็จะชะลอดูท่าทีการเจรจาออกไปก่อน