โดย ถนอม พิพิธยากร
รัฐบาลเตรียมเดินหน้าแก้ปัญหาน้ำแล้งจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเตือนว่าปีหน้า ประเทศจะประสบปัญหาภัยแล้ง
นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยืนยันรับใส่เกล้า หลังองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเตือนปัญหาภัยแล้ง ที่จะกระทบกับประเทศไทยปีหน้า ซึ่งสะท้อนถึงพระปรีชาสามารถขององค์ในหลวงของเรา ที่ทรงปราดเปรื่องอย่างยิ่ง
ขณะที่เมื่อวันเสาร์ที่ 23 ต.ค. เป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์พระปิยะมหาราชของไทย ที่ทรงนำประเทศไทยเข้าสู่ยุคใหม่ของการบริหารจัดการ รวมถึงการปฏิรูประบบราชการ ที่ดำเนินต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ที่สำคัญ พระองค์ทรงทำให้ไทยพ้นจากการถูกล่าอาณานิคมจากประเทศตะวันตก รวมถึงกาทรงประกาศเลิกทาสในแผ่นดินไทย โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ เหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา และอีกหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก
นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า ช่วงนี้ มีปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอยู่มาก รวมถึงการร้องเรียนจาก ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล เกี่ยวกับปัญหาภาวะน้ำแล้ง ที่กำลังเกิดขึ้นในภาคอิสาณของไทย หลังจากฝนทิ้งช่วงมาพอสมควร เช่น ขอนแก่น กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์
นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ประสานงานกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเดินหน้าแก้ปัญหาน้ำแล้งอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ประชาชนกำลังหว่านข้าว รวมถึงสั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หาทางเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ในการปลูกข้าว หลังจากความต้องการข้าวในตลาดโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศไทยส่งออกข้าวกว่า 40% ของปริมาณข้าวที่ผลิตได้ โดยปีนี้ ไทยส่งออกข้าวได้กว่า 10 ล้านตัน ซึ่งน่าจะส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้ ราคาดีต่อเนื่อง ขณะที่คู่แข่งที่ส่งออกข้าว คือสหรัฐอเมริกา มีต้นทุนผลิตข้าวสูงกว่าไทยมาก ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อเกษตรกรไทยเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังสั่งการให้กระทรวงกลาโหม สั่งทหารขุดลอกคูคลอง ไม่ให้ตื้นเขิน เพื่อรองรับน้ำได้เต็มที่ สั่งการกรมชลประทาน ทำฝนหลวง ซึ่งทรงคิดค้นโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ขณะที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เสนอแผนวิธีการแก้ปัญหา ให้แหล่งน้ำต่าง ๆ ในประเทศไทย สามารถรองรับน้ำฝนที่ตกลงมาได้เต็มที่ ในระยะยาว เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ไม่ให้ไหลลงสู่ทะเล หรือลงดิน อย่างเปล่าประประโยชน์ที่ปริมาณมหาศาล เช่นปัจจุบัน รวมถึงการเสนอแผนแก้ปัญหาอุทกภัย ที่ยังเกิดขึ้นเนือง ๆ เมื่อมีฝนตกชุก หรือน้ำป่าไหลหลาก
ขณะที่นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเดินหน้าผลักดันโครงการ “1 ฟาร์ม 1 ตำบล” เน้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อน ตามแนวทางแก้ปัญหาขององค์สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เพื่อแร่งแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง เกิดจากปัญหาความยากจนในพื้นที่ โดยได้รับความร่วมมือจากห้างสรรพสินค้าในพื้นที่ เช่น ห้างคาร์ฟูร์ รับซื้อผลผลิตในราคารับประกัน อย่างดี
ซึ่งโครงการนี้ จะสามารถดึงให้ลูกหลานชาวใต้ ร่วมกันปลูกพืช-เลี้ยงสัตว์ ในท้องถิ่นของตนเอง เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว เป็นการแก้ปัญหาความยากจนที่ยั่งยืน ระยะยาว รวมถึงสามารถดึงเยาวชน ไม่ให้ถูกปลุกปั่น ชักจูง จากการแปลความหมายพระคัมภีร์ ในศาสนาอิสลามผิด ๆ เช่นที่ผ่านมา
พ.ต.ท.ทักษิณยังสั่งการให้รองนายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจแทนนายกรัฐมนตรี จัดประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (ผู้ว่าฯ ซีอีโอ) เพื่อผลักดันยุทธศาสตร์จังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ให้เกิดผลในการบริการประชาชนถึงที่ เป็นการบุกเข้าหาประชาชน แทนที่จะให้ประชาชนเข้าหาข้าราชการ เหมือนเช่นในอดีต
ความพยายามของรัฐบาล โดยการพระราชทานคำแนะนำจากองค์ในหลวง ในการแก้ปัญหาประเทศชาติให้ได้ผลเบ็ดเสร็จ ระยะยาว อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากข้าราชการ-ประชาชน ทุกหมู่เหล่า
รัฐบาลเตรียมเดินหน้าแก้ปัญหาน้ำแล้งจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเตือนว่าปีหน้า ประเทศจะประสบปัญหาภัยแล้ง
นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยืนยันรับใส่เกล้า หลังองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเตือนปัญหาภัยแล้ง ที่จะกระทบกับประเทศไทยปีหน้า ซึ่งสะท้อนถึงพระปรีชาสามารถขององค์ในหลวงของเรา ที่ทรงปราดเปรื่องอย่างยิ่ง
ขณะที่เมื่อวันเสาร์ที่ 23 ต.ค. เป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์พระปิยะมหาราชของไทย ที่ทรงนำประเทศไทยเข้าสู่ยุคใหม่ของการบริหารจัดการ รวมถึงการปฏิรูประบบราชการ ที่ดำเนินต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ที่สำคัญ พระองค์ทรงทำให้ไทยพ้นจากการถูกล่าอาณานิคมจากประเทศตะวันตก รวมถึงกาทรงประกาศเลิกทาสในแผ่นดินไทย โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ เหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา และอีกหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก
นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า ช่วงนี้ มีปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอยู่มาก รวมถึงการร้องเรียนจาก ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล เกี่ยวกับปัญหาภาวะน้ำแล้ง ที่กำลังเกิดขึ้นในภาคอิสาณของไทย หลังจากฝนทิ้งช่วงมาพอสมควร เช่น ขอนแก่น กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์
นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ประสานงานกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเดินหน้าแก้ปัญหาน้ำแล้งอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ประชาชนกำลังหว่านข้าว รวมถึงสั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หาทางเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ในการปลูกข้าว หลังจากความต้องการข้าวในตลาดโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศไทยส่งออกข้าวกว่า 40% ของปริมาณข้าวที่ผลิตได้ โดยปีนี้ ไทยส่งออกข้าวได้กว่า 10 ล้านตัน ซึ่งน่าจะส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้ ราคาดีต่อเนื่อง ขณะที่คู่แข่งที่ส่งออกข้าว คือสหรัฐอเมริกา มีต้นทุนผลิตข้าวสูงกว่าไทยมาก ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อเกษตรกรไทยเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังสั่งการให้กระทรวงกลาโหม สั่งทหารขุดลอกคูคลอง ไม่ให้ตื้นเขิน เพื่อรองรับน้ำได้เต็มที่ สั่งการกรมชลประทาน ทำฝนหลวง ซึ่งทรงคิดค้นโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ขณะที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เสนอแผนวิธีการแก้ปัญหา ให้แหล่งน้ำต่าง ๆ ในประเทศไทย สามารถรองรับน้ำฝนที่ตกลงมาได้เต็มที่ ในระยะยาว เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ไม่ให้ไหลลงสู่ทะเล หรือลงดิน อย่างเปล่าประประโยชน์ที่ปริมาณมหาศาล เช่นปัจจุบัน รวมถึงการเสนอแผนแก้ปัญหาอุทกภัย ที่ยังเกิดขึ้นเนือง ๆ เมื่อมีฝนตกชุก หรือน้ำป่าไหลหลาก
ขณะที่นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเดินหน้าผลักดันโครงการ “1 ฟาร์ม 1 ตำบล” เน้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อน ตามแนวทางแก้ปัญหาขององค์สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เพื่อแร่งแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง เกิดจากปัญหาความยากจนในพื้นที่ โดยได้รับความร่วมมือจากห้างสรรพสินค้าในพื้นที่ เช่น ห้างคาร์ฟูร์ รับซื้อผลผลิตในราคารับประกัน อย่างดี
ซึ่งโครงการนี้ จะสามารถดึงให้ลูกหลานชาวใต้ ร่วมกันปลูกพืช-เลี้ยงสัตว์ ในท้องถิ่นของตนเอง เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว เป็นการแก้ปัญหาความยากจนที่ยั่งยืน ระยะยาว รวมถึงสามารถดึงเยาวชน ไม่ให้ถูกปลุกปั่น ชักจูง จากการแปลความหมายพระคัมภีร์ ในศาสนาอิสลามผิด ๆ เช่นที่ผ่านมา
พ.ต.ท.ทักษิณยังสั่งการให้รองนายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจแทนนายกรัฐมนตรี จัดประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (ผู้ว่าฯ ซีอีโอ) เพื่อผลักดันยุทธศาสตร์จังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ให้เกิดผลในการบริการประชาชนถึงที่ เป็นการบุกเข้าหาประชาชน แทนที่จะให้ประชาชนเข้าหาข้าราชการ เหมือนเช่นในอดีต
ความพยายามของรัฐบาล โดยการพระราชทานคำแนะนำจากองค์ในหลวง ในการแก้ปัญหาประเทศชาติให้ได้ผลเบ็ดเสร็จ ระยะยาว อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากข้าราชการ-ประชาชน ทุกหมู่เหล่า