เอเอฟพี - สมุดปกขาวของกระทรวงกลาโหมแดนอารีดังระบุ สหรัฐฯพร้อมส่งทหารเกือบ 700,000 นายมาช่วย หากเกิดสงครามบนคาบสมุทรเกาหลี โดยครั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า โซลสงบปากสงบคำเลิกเรียกเปียงยางว่า "ศัตรูสำคัญ"
วันนี้ (4) กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้เผยแพร่สมุดปกขาวฉบับแรกในรอบ 4 ปี ระบุว่าทหารกว่า 690,000 นายที่สหรัฐฯจะส่งเข้ามาในคาบสมุทรเกาหลีกรณีที่เกิดสงครามนั้น จะเป็นกองกำลังทั้งจากกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ รวมถึงนาวิกโยธิน ซึ่งจะมาพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ทันสมัย เพื่อสมทบกับกองกำลังอเมริกันที่มีอยู่เดิมกว่า 30,000 นาย และกองกำลังเกาหลีใต้อีก 650,000 นาย
เปรียบเทียบกับเกาหลีเหนือที่มีแสนยานุภาพแข็งแกร่ง มีทหาร 1.17 ล้านคนเมื่อปีที่แล้ว ถือเป็นกองทัพใหญ่อันดับ 5 ของโลก และแม้กองพลมีขนาดเท่ากับเมื่อ 4 ปีที่แล้ว แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาก็คือ เครื่องยิงจรวดและปืนใหญ่รวม 1,000 กระบอก
อย่างไรก็ดี สมุดปกขาวฉบับล่าสุดระบุว่าเกาหลีเหนือเป็น "ภัยคุกคามทางทหาร" เพื่อสะท้อนเป้าหมายในการสร้างความปรองดองกับเปียงยาง จากที่โซลเคยใช้คำว่า "ศัตรูสำคัญ" ในฉบับปี 2000 ซึ่งทำให้รัฐดาวแดงแห่งนี้ขัดเคืองอย่างมาก โดยกล่าวหาว่า เกาหลีใต้ละเมิดคำประกาศเพื่อสันติภาพและความปรองดองระหว่างเกาหลีในการประชุมสุดยอดครั้งประวัติศาสตร์ปี 2000
"สหรัฐฯมีแผนส่งทหารกว่า 40% ของกองทัพเรือ, กว่าครึ่งของกองทัพอากาศ และกว่า 70% ของนาวิกโยธินมาปกป้องเกาหลีใต้ ซึ่งสะท้อนว่า วอชิงตันมีเจตนารมณ์หนักแน่นในการช่วยปกป้องคาบสมุทรเกาหลี"
การส่งกองกำลังมาเพิ่มดังกล่าว จะได้รับการสนับสนุนจากเรือ 160 ลำ และเครื่องบิน 1,600 ลำ
สมุดปกขาวยังบันทึกว่า เกาหลีเหนือตั้งสำนักงานขีปนาวุธขึ้นมา โดยอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกระทรวงกองทัพแห่งประชาชนเกาหลี
อนึ่ง เกาหลีเหนือเริ่มต้นพัฒนาขีปนาวุธตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980 และขณะนี้ สามารถผลิตและติดตั้งขีปนาวุธสกั๊ด-ซี พิสัยไกล 500 กิโลเมตร ด้วยการอัพเกรดจากสกั๊ด-บีของโซเวียต อีกทั้งยังติดตั้งขีปนาวุธโรดอง-1 พิสัย 1,300 กิโลเมตร และขณะนี้กำลังพัฒนาขีปนาวุธอีกหลายรุ่นที่มีพิสัยไกลสุดถึง 6,700 กิโลเมตร
สมุดปกขาวของกระทรวงกลาโหมโสมใต้ระบุว่า ไม่มีหลักฐานแน่นหนาว่า เกาหลีเหนือครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ กระนั้นก็ดี มีความเป็นไปได้ว่า เปียงยางอาจสกัดพลูโตเนียมจากเชื้อเพลิงที่ได้รับมาก่อนที่สหประชาชาติจะเข้าตรวจสอบในปี 1992 ในระดับที่สามารถนำไปพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ได้
นอกจากนั้น เกาหลีเหนือยังขัดแย้งกับสหรัฐฯและพันธมิตร เรื่องโครงการอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ปลายปี 2002 จนถึงขณะนี้
วันนี้ (4) กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้เผยแพร่สมุดปกขาวฉบับแรกในรอบ 4 ปี ระบุว่าทหารกว่า 690,000 นายที่สหรัฐฯจะส่งเข้ามาในคาบสมุทรเกาหลีกรณีที่เกิดสงครามนั้น จะเป็นกองกำลังทั้งจากกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ รวมถึงนาวิกโยธิน ซึ่งจะมาพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ทันสมัย เพื่อสมทบกับกองกำลังอเมริกันที่มีอยู่เดิมกว่า 30,000 นาย และกองกำลังเกาหลีใต้อีก 650,000 นาย
เปรียบเทียบกับเกาหลีเหนือที่มีแสนยานุภาพแข็งแกร่ง มีทหาร 1.17 ล้านคนเมื่อปีที่แล้ว ถือเป็นกองทัพใหญ่อันดับ 5 ของโลก และแม้กองพลมีขนาดเท่ากับเมื่อ 4 ปีที่แล้ว แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาก็คือ เครื่องยิงจรวดและปืนใหญ่รวม 1,000 กระบอก
อย่างไรก็ดี สมุดปกขาวฉบับล่าสุดระบุว่าเกาหลีเหนือเป็น "ภัยคุกคามทางทหาร" เพื่อสะท้อนเป้าหมายในการสร้างความปรองดองกับเปียงยาง จากที่โซลเคยใช้คำว่า "ศัตรูสำคัญ" ในฉบับปี 2000 ซึ่งทำให้รัฐดาวแดงแห่งนี้ขัดเคืองอย่างมาก โดยกล่าวหาว่า เกาหลีใต้ละเมิดคำประกาศเพื่อสันติภาพและความปรองดองระหว่างเกาหลีในการประชุมสุดยอดครั้งประวัติศาสตร์ปี 2000
"สหรัฐฯมีแผนส่งทหารกว่า 40% ของกองทัพเรือ, กว่าครึ่งของกองทัพอากาศ และกว่า 70% ของนาวิกโยธินมาปกป้องเกาหลีใต้ ซึ่งสะท้อนว่า วอชิงตันมีเจตนารมณ์หนักแน่นในการช่วยปกป้องคาบสมุทรเกาหลี"
การส่งกองกำลังมาเพิ่มดังกล่าว จะได้รับการสนับสนุนจากเรือ 160 ลำ และเครื่องบิน 1,600 ลำ
สมุดปกขาวยังบันทึกว่า เกาหลีเหนือตั้งสำนักงานขีปนาวุธขึ้นมา โดยอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกระทรวงกองทัพแห่งประชาชนเกาหลี
อนึ่ง เกาหลีเหนือเริ่มต้นพัฒนาขีปนาวุธตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980 และขณะนี้ สามารถผลิตและติดตั้งขีปนาวุธสกั๊ด-ซี พิสัยไกล 500 กิโลเมตร ด้วยการอัพเกรดจากสกั๊ด-บีของโซเวียต อีกทั้งยังติดตั้งขีปนาวุธโรดอง-1 พิสัย 1,300 กิโลเมตร และขณะนี้กำลังพัฒนาขีปนาวุธอีกหลายรุ่นที่มีพิสัยไกลสุดถึง 6,700 กิโลเมตร
สมุดปกขาวของกระทรวงกลาโหมโสมใต้ระบุว่า ไม่มีหลักฐานแน่นหนาว่า เกาหลีเหนือครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ กระนั้นก็ดี มีความเป็นไปได้ว่า เปียงยางอาจสกัดพลูโตเนียมจากเชื้อเพลิงที่ได้รับมาก่อนที่สหประชาชาติจะเข้าตรวจสอบในปี 1992 ในระดับที่สามารถนำไปพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ได้
นอกจากนั้น เกาหลีเหนือยังขัดแย้งกับสหรัฐฯและพันธมิตร เรื่องโครงการอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ปลายปี 2002 จนถึงขณะนี้