การเจรจาต่อรองในสหประชาชาติเกี่ยวกับญัตติอิรักใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว แต่เรื่องของชาวเคิร์ดและอิรักเหนือที่เงียบสงบมาโดยตลอด ตอนนี้เริ่มเป็นปัญหาคุกรุ่นขึ้นมาแล้ว เมื่อเร็ว ๆ นี้ สมัชชาประชาชนแห่งเคอร์ดิสถาน (อดีตพรรคกรรมกรเคอร์ดิสถาน หรือพีเคเค) ประกาศปุบปับเลิกหยุดยิงกับทางการตุรกี และขู่ว่าตนจะหวนกลับไปใช้ความรุนแรงเพื่อภารกิจของตนอีก
หลังจากประกาศมาหลายวัน กองกำลังเคิร์ดทางตอนใต้ของตุรกีก็เปิดฉากโจมตีกองทัพตุรกีที่ก็ตอบโต้ความรุนแรงด้วยความรุนแรงไป นอกจากนี้ ข่าววิทยุยุโรปเสรี/วิทยุเสรี ก็รายงานว่า “คามิสด์ จาไบรลอฟ ประธานสหภาพสากลแห่งองค์การเคิร์ด ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวเคิร์ดที่เป็นชนกลุ่มน้อยในรัสเซีย คาซักสถาน อาร์เมเนีย และในประเทศเครือจักรภพแห่งรัฐอิสระ (ซีเอสไอ) อื่น ๆ กล่าวเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมว่า องค์การของเขารับรองคำประกาศเลิกหยุดยิงที่ดำเนินมา 5 ปีไปแล้ว เมื่อ 3 วันก่อน”
เมื่อเป็นเช่นนั้น กองกำลังเคิร์ดทั้งฝ่ายการเมือง การทูต และกระทั่งการทหาร ต่างตื่นตัวระแวดระวังผลประโยชน์ของตนเอง โดยการส่งมอบอำนาจอธิปไตยให้รัฐบาลอิรักกำลังจะมาถึงในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ เพื่อเป็นการยืนยันข่าวนี้ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน มาซูด บาร์ซานี จากพรรคประชาธิปไตยเคอร์ดิสถานและจาลาล ทาลาบานี จากสหภาพรักชาติแห่งเคอร์คิสถาน ก็ขู่ว่าจะถอนตัวจากรัฐบาลเฉพาะกาลอิรัก หากคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติชุดใหม่ไม่ลงมติให้สิทธิปกครองตนเองกับชาวเคิร์ด และสิทธิวีโต้รัฐบาลเฉพาะกาล ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวซึ่งผู้แทนฝ่ายชีอะต์ลงนามรับรองไปแบบกระอักกระอ่วนใจเพราะชาวชีอะต์ส่วนข้างมากไม่ยอมรับ
ผู้แทนฝ่ายเคิร์ดยังแสดงความผิดหวังอย่างแรงในกรณีที่ไม่มีชาวเคิร์ดคนใดที่ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหรือประธานาธิบดีอิรัก เพราะฉะนั้นในสายตาของชาวเคิร์ด พวกเขาเห็นว่าผลประโยชน์ของพวกตนถูกทอนลงไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ก็ยังไม่มีหลักประกันใดๆ ว่า ข้อตกลงของสหประชาชาติจะเป็นที่ถูกอกถูกใจของฝ่ายต่าง ๆ แม้ฝ่ายสุหนี่กับชีอะต์จะพอใจเป็นส่วนใหญ่ กับองค์ประกอบของสภาเฉพาะกาล และทิศทางของประเทศอิรัก แต่ฝ่ายเคิร์ดไม่ พวกเขาถูกรัฐบาลสหรัฐทิ้ง ดังนั้นจึงตกลงใจที่จะรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ถ้าจำเป็นต้องรุนแรงก็ยอมและนี่คืออันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้น
ข้อเรียกร้องของฝ่ายเคิร์ดกำลังเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่านที่ค่อนข้างเป็นที่พอใจของฝ่ายสุหนี่ ฝ่ายชีอะต์ เพื่อนบ้านของอิรักและประชาคมโลกโดยทั่วไป พวกเขาเห็นด้วยกับชาวเคิร์ดในอิรักและในเขตรอบ ๆ นั้นมีน้อยมาก
โดยเฉพาะในตุรกี ซีเรีย และอิหร่านที่พวกเขาถูกมองเป็นแค่ผู้ก่อการร้ายที่คอยคุกคามบั่นทอนความมั่นคงของประเทศทั้งสามที่ต้องรวมตัวกันปราบปรามกลุ่มดังกล่าว และในอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจันก็ไม่อยากเห็นฝ่ายเคิร์ดผลักภูมิภาคนี้กลับลงไปในความรุนแรงและความไร้เสถียรภาพอีก
เพราะฉะนั้น เอกราชของเคอร์ดิสถานจึงเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายสาปแช่ง ยกเว้นฝ่ายเคิร์ดเองที่เป็นเช่นนี้ เป็นเพราะสหรัฐไปให้ความหวังกับชาวเคิร์ด เรื่องตั้งประเทศเคอร์ดิสถาน ในภาคเหนือของอิรัก หลายเดือนก่อน ขณะที่เกิดบรรยากาศก่อการร้ายครอบงำอิรัก และการส่งมอบอำนาจอธิปไตยใกล้เข้ามา รัฐธรรมนูญเฉพาะกาลที่สหรัฐร่าง ได้เขียนให้ความหวังกับฝ่ายเคิร์ด โดยให้สิทธิวีโต้ในรัฐบาลชั่วคราว รวมทั้งรัฐบาลถาวร ที่จะมีขึ้นในปี 2005 ด้วย
ด้วยเหตุที่กลัวอิทธิพลของพวกคลั่งศาสนาชีอะต์ที่จะขัดขวางการส่งมอบอำนาจ รัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ถือว่าฝ่ายเคิร์ดเป็นไพ่ที่จะใช้ควบคุมอิทธิพลของฝ่ายชีอะต์ไม่ให้มีอิทธิพลกับรัฐบาลอิรัก ตั้งสาธารณะรัฐอิสลามแบบอิหร่าน แต่พอเอาเข้าจริง ตำแหน่งสำคัญ ๆ ในรัฐบาลชั่วคราว ล้วนตกเป็นของพวกสุหนี่กับชีอะต์เกือบหมด
ขณะนี้เห็นชัดว่า สหรัฐไม่มีอะไรจะใช้พวกเคิร์ดอีกแล้วจึงทิ้งไปได้ง่าย ๆ ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงมองว่า ฝ่ายเคิร์ดจะเป็นตัวทำลายมติของสหประชาชาติ และแสดงความเห็นอกเห็นใจพวกเขาน้อยลงไปอีก ฝ่ายเคิร์ดตระหนักเรื่องนี้ดีจึงขู่จะใช้ความรุนแรง เพื่อให้คนสนใจ วิธีการแก้ปัญหาแบบสุกเอาเผากินของสหรัฐ ซึ่งตอนแรกก็ใช้ฝ่ายเคิร์ดต่อมาก็ทอดทิ้งเช่นนี้ เท่ากับสหรัฐปิดทางตัวเองและปิดประตูอนาคตของอิรักไปด้วย
ตอนนี้มีความหวังน้อยมากว่า ข้อเรียกร้องของฝ่ายเคิร์ดจะได้รับการพิจารณา โดยไม่ไปกระทบผลประโยชน์ของฝ่ายสุหนี่และชีอะต์ และก็มีความหวังน้อยมาก ที่ฝ่ายเคิร์ดจะพอใจกับผลประโยชน์ที่อีก 2 ฝ่ายจะเจียดมาให้ ดังนั้น ขณะที่การต่อรองในสหประชาชาติ เมื่อเส้นตายวันที่ 30 มิถุนายนใกล้เข้ามา ไม่ว่าฝ่ายเคิร์ดจะหดข้อเรียกร้องลงหรือยิ่งเรียกร้องมากขึ้น จะมีอย่างหนึ่งที่แน่ ๆ ก็คือ ฝ่ายนี้จะถือกุญแจสำคัญดอกหนึ่งสำหรับอิรักในอนาคต
ที่ผ่านมา สหรัฐได้ “ปล่อยผี” เคิร์ดออกมาอาละวาด ผีตัวนี้ไม่ได้มีเฉพาะในอิรัก แต่มีไปรอบๆ ย่านนั้น และก็ยากที่จะเอากลับลงไปเก็บในหม้อได้ หากข้อตกลงทางการทูตไม่สามารถสร้างความพอใจให้กับทั้งสามฝ่ายได้ (สงสัยอยู่ว่าจะได้หรือไม่) ก็คงต้องใช้กำลังทหารอีกมาก ไป “ควบคุม” พวกเคิร์ดเอาไว้ อำนาจทางทหารดังกล่าวจะไม่จำกัดอยู่เฉพาะในตอนเหนือของอิรักอีกต่อไป แต่จะขยายเข้าไปในตุรกี ซีเรีย อิหร่าน อาร์เมเนีย ฃและอาเซอร์ไบจันอีกด้วย
ในท้ายที่สุด การส่งมอบอำนาจในวันที่ 30 มิถุนายนก็คงไม่อาจเปลี่ยนแปลงอะไรได้ นอกจากจะผลักมันลงไปในความรุนแรงมากขึ้น โดยมีตุรกีและซีเรียร่วมกันมีอิทธิพล ต่อตอนเหนือของอิรัก โดยทางใต้หันไปร่วมมือกับอิหร่านมากขึ้น และกองทัพสหรัฐตกอยู่ตรงกลาง ดังนั้น ความสงบทางเหนือของอิรักในเวลานี้ ก็เป็นเป็นเพียงความสงัดก่อนลมพายุ ที่พร้อมจะระเบิดออกมาได้ตลอดเวลา
โจเซฟ สทรูฟ เป็นบรรณาธิการใหญ่เวบ GeoStrategyMap.com นิตยสารออนไลน์ทางภูมิรัฐศาสตร์
หลังจากประกาศมาหลายวัน กองกำลังเคิร์ดทางตอนใต้ของตุรกีก็เปิดฉากโจมตีกองทัพตุรกีที่ก็ตอบโต้ความรุนแรงด้วยความรุนแรงไป นอกจากนี้ ข่าววิทยุยุโรปเสรี/วิทยุเสรี ก็รายงานว่า “คามิสด์ จาไบรลอฟ ประธานสหภาพสากลแห่งองค์การเคิร์ด ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวเคิร์ดที่เป็นชนกลุ่มน้อยในรัสเซีย คาซักสถาน อาร์เมเนีย และในประเทศเครือจักรภพแห่งรัฐอิสระ (ซีเอสไอ) อื่น ๆ กล่าวเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมว่า องค์การของเขารับรองคำประกาศเลิกหยุดยิงที่ดำเนินมา 5 ปีไปแล้ว เมื่อ 3 วันก่อน”
เมื่อเป็นเช่นนั้น กองกำลังเคิร์ดทั้งฝ่ายการเมือง การทูต และกระทั่งการทหาร ต่างตื่นตัวระแวดระวังผลประโยชน์ของตนเอง โดยการส่งมอบอำนาจอธิปไตยให้รัฐบาลอิรักกำลังจะมาถึงในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ เพื่อเป็นการยืนยันข่าวนี้ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน มาซูด บาร์ซานี จากพรรคประชาธิปไตยเคอร์ดิสถานและจาลาล ทาลาบานี จากสหภาพรักชาติแห่งเคอร์คิสถาน ก็ขู่ว่าจะถอนตัวจากรัฐบาลเฉพาะกาลอิรัก หากคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติชุดใหม่ไม่ลงมติให้สิทธิปกครองตนเองกับชาวเคิร์ด และสิทธิวีโต้รัฐบาลเฉพาะกาล ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวซึ่งผู้แทนฝ่ายชีอะต์ลงนามรับรองไปแบบกระอักกระอ่วนใจเพราะชาวชีอะต์ส่วนข้างมากไม่ยอมรับ
ผู้แทนฝ่ายเคิร์ดยังแสดงความผิดหวังอย่างแรงในกรณีที่ไม่มีชาวเคิร์ดคนใดที่ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหรือประธานาธิบดีอิรัก เพราะฉะนั้นในสายตาของชาวเคิร์ด พวกเขาเห็นว่าผลประโยชน์ของพวกตนถูกทอนลงไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ก็ยังไม่มีหลักประกันใดๆ ว่า ข้อตกลงของสหประชาชาติจะเป็นที่ถูกอกถูกใจของฝ่ายต่าง ๆ แม้ฝ่ายสุหนี่กับชีอะต์จะพอใจเป็นส่วนใหญ่ กับองค์ประกอบของสภาเฉพาะกาล และทิศทางของประเทศอิรัก แต่ฝ่ายเคิร์ดไม่ พวกเขาถูกรัฐบาลสหรัฐทิ้ง ดังนั้นจึงตกลงใจที่จะรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ถ้าจำเป็นต้องรุนแรงก็ยอมและนี่คืออันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้น
ข้อเรียกร้องของฝ่ายเคิร์ดกำลังเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่านที่ค่อนข้างเป็นที่พอใจของฝ่ายสุหนี่ ฝ่ายชีอะต์ เพื่อนบ้านของอิรักและประชาคมโลกโดยทั่วไป พวกเขาเห็นด้วยกับชาวเคิร์ดในอิรักและในเขตรอบ ๆ นั้นมีน้อยมาก
โดยเฉพาะในตุรกี ซีเรีย และอิหร่านที่พวกเขาถูกมองเป็นแค่ผู้ก่อการร้ายที่คอยคุกคามบั่นทอนความมั่นคงของประเทศทั้งสามที่ต้องรวมตัวกันปราบปรามกลุ่มดังกล่าว และในอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจันก็ไม่อยากเห็นฝ่ายเคิร์ดผลักภูมิภาคนี้กลับลงไปในความรุนแรงและความไร้เสถียรภาพอีก
เพราะฉะนั้น เอกราชของเคอร์ดิสถานจึงเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายสาปแช่ง ยกเว้นฝ่ายเคิร์ดเองที่เป็นเช่นนี้ เป็นเพราะสหรัฐไปให้ความหวังกับชาวเคิร์ด เรื่องตั้งประเทศเคอร์ดิสถาน ในภาคเหนือของอิรัก หลายเดือนก่อน ขณะที่เกิดบรรยากาศก่อการร้ายครอบงำอิรัก และการส่งมอบอำนาจอธิปไตยใกล้เข้ามา รัฐธรรมนูญเฉพาะกาลที่สหรัฐร่าง ได้เขียนให้ความหวังกับฝ่ายเคิร์ด โดยให้สิทธิวีโต้ในรัฐบาลชั่วคราว รวมทั้งรัฐบาลถาวร ที่จะมีขึ้นในปี 2005 ด้วย
ด้วยเหตุที่กลัวอิทธิพลของพวกคลั่งศาสนาชีอะต์ที่จะขัดขวางการส่งมอบอำนาจ รัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ถือว่าฝ่ายเคิร์ดเป็นไพ่ที่จะใช้ควบคุมอิทธิพลของฝ่ายชีอะต์ไม่ให้มีอิทธิพลกับรัฐบาลอิรัก ตั้งสาธารณะรัฐอิสลามแบบอิหร่าน แต่พอเอาเข้าจริง ตำแหน่งสำคัญ ๆ ในรัฐบาลชั่วคราว ล้วนตกเป็นของพวกสุหนี่กับชีอะต์เกือบหมด
ขณะนี้เห็นชัดว่า สหรัฐไม่มีอะไรจะใช้พวกเคิร์ดอีกแล้วจึงทิ้งไปได้ง่าย ๆ ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงมองว่า ฝ่ายเคิร์ดจะเป็นตัวทำลายมติของสหประชาชาติ และแสดงความเห็นอกเห็นใจพวกเขาน้อยลงไปอีก ฝ่ายเคิร์ดตระหนักเรื่องนี้ดีจึงขู่จะใช้ความรุนแรง เพื่อให้คนสนใจ วิธีการแก้ปัญหาแบบสุกเอาเผากินของสหรัฐ ซึ่งตอนแรกก็ใช้ฝ่ายเคิร์ดต่อมาก็ทอดทิ้งเช่นนี้ เท่ากับสหรัฐปิดทางตัวเองและปิดประตูอนาคตของอิรักไปด้วย
ตอนนี้มีความหวังน้อยมากว่า ข้อเรียกร้องของฝ่ายเคิร์ดจะได้รับการพิจารณา โดยไม่ไปกระทบผลประโยชน์ของฝ่ายสุหนี่และชีอะต์ และก็มีความหวังน้อยมาก ที่ฝ่ายเคิร์ดจะพอใจกับผลประโยชน์ที่อีก 2 ฝ่ายจะเจียดมาให้ ดังนั้น ขณะที่การต่อรองในสหประชาชาติ เมื่อเส้นตายวันที่ 30 มิถุนายนใกล้เข้ามา ไม่ว่าฝ่ายเคิร์ดจะหดข้อเรียกร้องลงหรือยิ่งเรียกร้องมากขึ้น จะมีอย่างหนึ่งที่แน่ ๆ ก็คือ ฝ่ายนี้จะถือกุญแจสำคัญดอกหนึ่งสำหรับอิรักในอนาคต
ที่ผ่านมา สหรัฐได้ “ปล่อยผี” เคิร์ดออกมาอาละวาด ผีตัวนี้ไม่ได้มีเฉพาะในอิรัก แต่มีไปรอบๆ ย่านนั้น และก็ยากที่จะเอากลับลงไปเก็บในหม้อได้ หากข้อตกลงทางการทูตไม่สามารถสร้างความพอใจให้กับทั้งสามฝ่ายได้ (สงสัยอยู่ว่าจะได้หรือไม่) ก็คงต้องใช้กำลังทหารอีกมาก ไป “ควบคุม” พวกเคิร์ดเอาไว้ อำนาจทางทหารดังกล่าวจะไม่จำกัดอยู่เฉพาะในตอนเหนือของอิรักอีกต่อไป แต่จะขยายเข้าไปในตุรกี ซีเรีย อิหร่าน อาร์เมเนีย ฃและอาเซอร์ไบจันอีกด้วย
ในท้ายที่สุด การส่งมอบอำนาจในวันที่ 30 มิถุนายนก็คงไม่อาจเปลี่ยนแปลงอะไรได้ นอกจากจะผลักมันลงไปในความรุนแรงมากขึ้น โดยมีตุรกีและซีเรียร่วมกันมีอิทธิพล ต่อตอนเหนือของอิรัก โดยทางใต้หันไปร่วมมือกับอิหร่านมากขึ้น และกองทัพสหรัฐตกอยู่ตรงกลาง ดังนั้น ความสงบทางเหนือของอิรักในเวลานี้ ก็เป็นเป็นเพียงความสงัดก่อนลมพายุ ที่พร้อมจะระเบิดออกมาได้ตลอดเวลา
โจเซฟ สทรูฟ เป็นบรรณาธิการใหญ่เวบ GeoStrategyMap.com นิตยสารออนไลน์ทางภูมิรัฐศาสตร์