กทม.เตรียมเปิดประกวดราคาโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที เดือนหน้า เผย คนกรุงเริ่มทดลองใช้ก่อนปลายปีนี้ คาด จะสามารถเปิดให้บริการตามกำหนดการในต้นปี 2551 แน่นอน รวมทั้งรองรับผู้โดยสารได้ 30,000 คนต่อวัน

นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวในงานสัมมนาโครงการรถเมลด่วนพิเศษบีอาร์ที สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวได้เข้าพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งได้รื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค เพื่อก่อสร้างสถานีไปได้มากแล้ว พร้อมทั้งดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อให้โครงการพร้อมเปิดให้บริการตามกำหนด ในต้นปี 2551
อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤษภาคม กทม.จะเปิดประกวดราคาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อจัดซื้อรถโดยสารยูโร 3 ชนิดใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นเชื้อเพลิง เบื้องต้นจำนวน 50 คัน ขนาดความยาว 12 เมตร สามารถจุคนได้ 80 คนต่อคัน จากนั้นค่อยจัดซื้อรถขนาดความยาว 18 เมตร ที่จุคนได้ 150 คนต่อคัน ทั้งนี้ เหตุที่ระยะแรกจัดซื้อรถขนาดความยาว 12 เมตร เนื่องจากทางตำรวจให้ความเป็นห่วงเวลาที่รถอยู่บนสะพานแล้วจะเลี้ยว หากใช้รถความยาว 18 เมตร จะไม่สะดวก เกิดความเสี่ยง รวมทั้งเมื่อรถสเปกเหลือความยาวแค่ 12 เมตร และเป็นรถแบบใช้ก๊าซ NGV แล้ว จะทำให้มีผู้ผลิตเข้ามาประกวดราคาจำนวนมาก เบื้องต้นจะใช้งบจัดซื้อรถระยะแรกทั้งหมด 500 ล้านบาท ตกคันละ 8-12ล้านบาท โดยผู้ที่ประกวดราคาได้ จะต้องนำรถต้นแบบเข้ามาทดลองจำนวน 2-3 คัน ภายในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมนี้ จากนั้นจึงนำส่งให้ครบ 50 คัน ภายในต้นปีหน้า ทั้งนี้ แม้ว่า เบื้องต้นจะใช้รถที่จุคนได้น้อยลง ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อยอดที่คาดว่าจะมีผู้มาใช้บริการบีอาร์ทีประมาณ 30,000 คนต่อวัน
นายพนิช กล่าวว่า สำหรับระบบไอทีเอสควบคุมการเดินรถอัจฉริยะ ขณะนี้ร่างทีโออาร์ใกล้เสร็จแล้ว ซึ่งระบบดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และแจ้งข้อมูลการเดินทางแก่ผู้โดยสาร โดยจะทำให้ผู้โดยสารที่รอรถบีอาร์ทีตามสถานีต่างๆ ทราบว่า ขณะนี้รถบีอาร์ที แต่ละคันอยู่ในจุดใดบ้าง ส่วนระบบตั๋วโดยสารก็จะเปิดประกวดราคาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ในเดือน พ.ค.เช่นกัน ขณะที่การเจรจาในตั๋วร่วมกับบีทีเอส อยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่า ไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด
จากนั้น นายพนิช ได้นำคณะไปตรวจเยี่ยมสถานที่ก่อสร้างสถานีรถบีอาร์ที ที่สถานีอาคารสงเคราะห์ บริเวณซอย 8-10 ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ พร้อมประชุมร่วมกับเจ้าของอาคารที่กทม.จะทำจุดเชื่อมต่อระหว่างบีทีเอส ช่องนนทรี กับบีอาร์ทีสถานีช่องนนทรี โดยการประชุมดังกล่าวจะเจรจาให้เจ้าของอาคารในละแวกนั้นประมาณ 5-6 อาคาร เข้ามารับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการสร้างทางเชื่อม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพนักงานและตัวอาคารเอง ซึ่งคาดว่า ไม่น่าจะมีปัญหาเช่นเดียวกัน และจะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวในงานสัมมนาโครงการรถเมลด่วนพิเศษบีอาร์ที สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวได้เข้าพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งได้รื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค เพื่อก่อสร้างสถานีไปได้มากแล้ว พร้อมทั้งดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อให้โครงการพร้อมเปิดให้บริการตามกำหนด ในต้นปี 2551
อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤษภาคม กทม.จะเปิดประกวดราคาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อจัดซื้อรถโดยสารยูโร 3 ชนิดใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นเชื้อเพลิง เบื้องต้นจำนวน 50 คัน ขนาดความยาว 12 เมตร สามารถจุคนได้ 80 คนต่อคัน จากนั้นค่อยจัดซื้อรถขนาดความยาว 18 เมตร ที่จุคนได้ 150 คนต่อคัน ทั้งนี้ เหตุที่ระยะแรกจัดซื้อรถขนาดความยาว 12 เมตร เนื่องจากทางตำรวจให้ความเป็นห่วงเวลาที่รถอยู่บนสะพานแล้วจะเลี้ยว หากใช้รถความยาว 18 เมตร จะไม่สะดวก เกิดความเสี่ยง รวมทั้งเมื่อรถสเปกเหลือความยาวแค่ 12 เมตร และเป็นรถแบบใช้ก๊าซ NGV แล้ว จะทำให้มีผู้ผลิตเข้ามาประกวดราคาจำนวนมาก เบื้องต้นจะใช้งบจัดซื้อรถระยะแรกทั้งหมด 500 ล้านบาท ตกคันละ 8-12ล้านบาท โดยผู้ที่ประกวดราคาได้ จะต้องนำรถต้นแบบเข้ามาทดลองจำนวน 2-3 คัน ภายในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมนี้ จากนั้นจึงนำส่งให้ครบ 50 คัน ภายในต้นปีหน้า ทั้งนี้ แม้ว่า เบื้องต้นจะใช้รถที่จุคนได้น้อยลง ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อยอดที่คาดว่าจะมีผู้มาใช้บริการบีอาร์ทีประมาณ 30,000 คนต่อวัน
นายพนิช กล่าวว่า สำหรับระบบไอทีเอสควบคุมการเดินรถอัจฉริยะ ขณะนี้ร่างทีโออาร์ใกล้เสร็จแล้ว ซึ่งระบบดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และแจ้งข้อมูลการเดินทางแก่ผู้โดยสาร โดยจะทำให้ผู้โดยสารที่รอรถบีอาร์ทีตามสถานีต่างๆ ทราบว่า ขณะนี้รถบีอาร์ที แต่ละคันอยู่ในจุดใดบ้าง ส่วนระบบตั๋วโดยสารก็จะเปิดประกวดราคาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ในเดือน พ.ค.เช่นกัน ขณะที่การเจรจาในตั๋วร่วมกับบีทีเอส อยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่า ไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด
จากนั้น นายพนิช ได้นำคณะไปตรวจเยี่ยมสถานที่ก่อสร้างสถานีรถบีอาร์ที ที่สถานีอาคารสงเคราะห์ บริเวณซอย 8-10 ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ พร้อมประชุมร่วมกับเจ้าของอาคารที่กทม.จะทำจุดเชื่อมต่อระหว่างบีทีเอส ช่องนนทรี กับบีอาร์ทีสถานีช่องนนทรี โดยการประชุมดังกล่าวจะเจรจาให้เจ้าของอาคารในละแวกนั้นประมาณ 5-6 อาคาร เข้ามารับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการสร้างทางเชื่อม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพนักงานและตัวอาคารเอง ซึ่งคาดว่า ไม่น่าจะมีปัญหาเช่นเดียวกัน และจะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี