ผู้จัดการรายวัน-อาหาร อัญมณีและสิ่งทอ เสือปืนไว เตรียมใช้ประโยชน์จากข้อตกลง JTEPA ทันที หลังเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ “พาณิชย์”เตรียมพร้อมออกเอกสารรับรอง พร้อมวางเกณฑ์กรณีสินค้ามีโควตา ป้องกันเหลือบหากิน
นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือกับภาคเอกชนถึงความคืบหน้าการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ (1 พ.ย.) เป็นต้นไป ว่า ขณะนี้มีสินค้าหลายรายการที่ 2 ฝ่ายได้ร่วมกันทำแผนส่งเสริมการส่งออกระหว่างกันแล้ว คือ กลุ่มอาหาร ที่ฝ่ายไทยได้ร่วมกับห้างซูเปอร์มาร์เก็ตของญี่ปุ่น ที่มีสาขาทั่วประเทศทำแผนโปรโมชั่นสินค้าไทยตลอดปี ส่วนสินค้าอัญมณี และสิ่งทอ ได้มีการจับคู่ทางธุรกิจ และทำการตลาดร่วมกันบ้างแล้ว
ขณะที่การเตรียมความพร้อมของภาครัฐ กรมการค้าต่างประเทศ อยู่ระหว่างการออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการขอรับเอกสารการส่งออกภายใต้ข้อตกลง โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าที่มีโควตา ซึ่งบางชนิดไทยไม่เคยกำหนดโควตามาก่อน จึงต้องทำอย่างละเอียดเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่ใช่เป็นการหาประโยชน์จากใบอนุญาต
นางสาวปิยะนุช มาลากุล ณ อยุธยา รองประธานคณะกรรมการกฎระเบียบและการค้าระหว่างประเทศ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สินค้าเกษตรที่ไทยไม่เคยมีโควตาส่งออกมาก่อน และเกรงว่าจะมีปัญหาได้ เช่น กล้วย หมูแปรรูป กรมการค้าต่างประเทศต้องกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการขอใบอนุญาตให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้น อาจเปิดช่องให้คนที่ไม่เคยส่งออกมาก่อนได้โควตาไปนอนกอด หรือเอาโควตาไปขายต่อให้ผู้ส่งออกตัวจริง ปัญหาเหล่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต และไม่อยากให้เกิดขึ้นซ้ำอีก
นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือกับภาคเอกชนถึงความคืบหน้าการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ (1 พ.ย.) เป็นต้นไป ว่า ขณะนี้มีสินค้าหลายรายการที่ 2 ฝ่ายได้ร่วมกันทำแผนส่งเสริมการส่งออกระหว่างกันแล้ว คือ กลุ่มอาหาร ที่ฝ่ายไทยได้ร่วมกับห้างซูเปอร์มาร์เก็ตของญี่ปุ่น ที่มีสาขาทั่วประเทศทำแผนโปรโมชั่นสินค้าไทยตลอดปี ส่วนสินค้าอัญมณี และสิ่งทอ ได้มีการจับคู่ทางธุรกิจ และทำการตลาดร่วมกันบ้างแล้ว
ขณะที่การเตรียมความพร้อมของภาครัฐ กรมการค้าต่างประเทศ อยู่ระหว่างการออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการขอรับเอกสารการส่งออกภายใต้ข้อตกลง โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าที่มีโควตา ซึ่งบางชนิดไทยไม่เคยกำหนดโควตามาก่อน จึงต้องทำอย่างละเอียดเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่ใช่เป็นการหาประโยชน์จากใบอนุญาต
นางสาวปิยะนุช มาลากุล ณ อยุธยา รองประธานคณะกรรมการกฎระเบียบและการค้าระหว่างประเทศ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สินค้าเกษตรที่ไทยไม่เคยมีโควตาส่งออกมาก่อน และเกรงว่าจะมีปัญหาได้ เช่น กล้วย หมูแปรรูป กรมการค้าต่างประเทศต้องกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการขอใบอนุญาตให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้น อาจเปิดช่องให้คนที่ไม่เคยส่งออกมาก่อนได้โควตาไปนอนกอด หรือเอาโควตาไปขายต่อให้ผู้ส่งออกตัวจริง ปัญหาเหล่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต และไม่อยากให้เกิดขึ้นซ้ำอีก