ศูนย์ข่าวภูเก็ต -สนข.ให้งบ 10 ล้านบาท จ้างศูนย์วิจัยและพัฒนาการจราจรและขนส่ง ทำ "แผนปฏิบัติการเร่งด่วนด้านการจราจรและขนส่งเมืองภูเก็ต เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและสนับสนุนการพัฒนาเมืองน่าอยู่" หวังแก้ปัญหาจราจรของภูเก็ต รองรับการเติบโตในอนาคต
นายประสิทธิ์ รักษายศ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมระบบการขนส่งและจราจรในภูมิภาค สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สนข.ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 10 ล้านบาท ในการว่าจ้างศูนย์วิจัยและพัฒนาการจราจรและขนส่ง (TDRC) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นที่ปรึกษาดำเนินการจัดทำ "แผนปฏิบัติการเร่งด่วนด้านการจราจรและขนส่งเมืองภูเก็ตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และสนับสนุนการพัฒนาเมืองน่าอยู่" เพื่อจัดทำแผนงานการแก้ไขปัญหาการจราจรและขนส่ง ในพื้นที่ที่มีปัญหาด้านจราจรของจังหวัดภูเก็ตให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปดำเนินการได้ทันที
นอกจากการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนด้านการจราจรแล้ว ยังดำเนินการวางแผนการแก้ไขปัญหาการจราจรและขนส่งในระยะต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งเพื่อส่งเสริมการเดินทาง การท่องเที่ยว และการเป็นเมืองน่าอยู่ของจังหวัดภูเก็ตด้วย เช่น การจัดทำฐานข้อมูลและแผนปฏิบัติการ 5 ปี การจัดทำแผนงานพื้นที่นวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาการจราจร เป็นต้น
ทั้งนี้ คณะที่ปรึกษาได้ดำเนินการศึกษาทำแผนมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 ใช้เวลาในการดำเนินการทั้งสิ้น 8 เดือน ซึ่งจะสิ้นสุดการดำเนินการในเดือนตุลาคม 2550
นายประสิทธิ์ กล่าวว่า ปัญหาการจราจรของภูเก็ต จำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน เพราะหากปล่อยให้การจราจรมีปัญหาอย่างนี้ต่อไปจะส่งผลกระทบในหลายๆเรื่อง ซึ่งจากผลการศึกษาของคณะที่ปรึกษาพบว่าภูเก็ตมีปัญหาวิกฤตจราจรอยู่หลายจุดด้วยกัน โดยเฉพาะในเขตเทศบาลนครภูเก็ตที่ถนนบางสายในช่วงเช้าและเย็นการจราจรติดขัดมาก ตามสี่แยก สามแยกนอกเมืองที่มีการจราจรหนาแน่น รวมทั้งที่หาดป่าตอง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสี่ยง
การแก้ปัญหาจราจรของภูเก็ตที่คณะที่ปรึกษานำเสนอมีหลายแนวทาง เป็นแนวทางที่ไม่ต้องอาศัยการสร้างโครงข่ายถนนให้มากขึ้น แต่เป็นการแก้ปัญหาให้ตรงจุด เช่น การทำทางลอด หรือทางยกระดับในบริเวณสี่แยก สามแยกนอกเมือง ที่มีการจราจรหนาแน่นหรือการแก้ปัญหาด้วยระบบสัญญาณไฟจราจร
ส่วนในตัวเมืองที่มีปัญหาจราจรติดขัดมากในช่วงเร่งด่วน ทั้งตอนเช้าและตอนเย็นจะแก้ปัญหาเป็นจุด เช่น การแก้ปัญหาจุดที่เป็นคอขวด จุดจอดรถที่ไม่เหมาะสม ระบบสัญญาณไฟจราจรตามจุดต่างๆ การจัดทำเป็นทางเดินรถทางเดียว ส่วนที่หาดป่าตองอาจจะมีการทำเป็นเส้นทางเดินทางเท้าให้มากขึ้น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่ผลการศึกษาแล้วเสร็จในเดือนตุลาคมนี้ คิดว่าการแก้ปัญหาจราจรของภูเก็ตจะมีความชัดเจน และเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพราะทางคณะที่ปรึกษาจะต้องจัดทำเป็นโมเดลการแก้ปัญหาในแต่ละจุด เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นนำไปดำเนินการแก้ปัญหาได้ทันที
นายประสิทธิ์ รักษายศ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมระบบการขนส่งและจราจรในภูมิภาค สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สนข.ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 10 ล้านบาท ในการว่าจ้างศูนย์วิจัยและพัฒนาการจราจรและขนส่ง (TDRC) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นที่ปรึกษาดำเนินการจัดทำ "แผนปฏิบัติการเร่งด่วนด้านการจราจรและขนส่งเมืองภูเก็ตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และสนับสนุนการพัฒนาเมืองน่าอยู่" เพื่อจัดทำแผนงานการแก้ไขปัญหาการจราจรและขนส่ง ในพื้นที่ที่มีปัญหาด้านจราจรของจังหวัดภูเก็ตให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปดำเนินการได้ทันที
นอกจากการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนด้านการจราจรแล้ว ยังดำเนินการวางแผนการแก้ไขปัญหาการจราจรและขนส่งในระยะต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งเพื่อส่งเสริมการเดินทาง การท่องเที่ยว และการเป็นเมืองน่าอยู่ของจังหวัดภูเก็ตด้วย เช่น การจัดทำฐานข้อมูลและแผนปฏิบัติการ 5 ปี การจัดทำแผนงานพื้นที่นวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาการจราจร เป็นต้น
ทั้งนี้ คณะที่ปรึกษาได้ดำเนินการศึกษาทำแผนมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 ใช้เวลาในการดำเนินการทั้งสิ้น 8 เดือน ซึ่งจะสิ้นสุดการดำเนินการในเดือนตุลาคม 2550
นายประสิทธิ์ กล่าวว่า ปัญหาการจราจรของภูเก็ต จำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน เพราะหากปล่อยให้การจราจรมีปัญหาอย่างนี้ต่อไปจะส่งผลกระทบในหลายๆเรื่อง ซึ่งจากผลการศึกษาของคณะที่ปรึกษาพบว่าภูเก็ตมีปัญหาวิกฤตจราจรอยู่หลายจุดด้วยกัน โดยเฉพาะในเขตเทศบาลนครภูเก็ตที่ถนนบางสายในช่วงเช้าและเย็นการจราจรติดขัดมาก ตามสี่แยก สามแยกนอกเมืองที่มีการจราจรหนาแน่น รวมทั้งที่หาดป่าตอง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสี่ยง
การแก้ปัญหาจราจรของภูเก็ตที่คณะที่ปรึกษานำเสนอมีหลายแนวทาง เป็นแนวทางที่ไม่ต้องอาศัยการสร้างโครงข่ายถนนให้มากขึ้น แต่เป็นการแก้ปัญหาให้ตรงจุด เช่น การทำทางลอด หรือทางยกระดับในบริเวณสี่แยก สามแยกนอกเมือง ที่มีการจราจรหนาแน่นหรือการแก้ปัญหาด้วยระบบสัญญาณไฟจราจร
ส่วนในตัวเมืองที่มีปัญหาจราจรติดขัดมากในช่วงเร่งด่วน ทั้งตอนเช้าและตอนเย็นจะแก้ปัญหาเป็นจุด เช่น การแก้ปัญหาจุดที่เป็นคอขวด จุดจอดรถที่ไม่เหมาะสม ระบบสัญญาณไฟจราจรตามจุดต่างๆ การจัดทำเป็นทางเดินรถทางเดียว ส่วนที่หาดป่าตองอาจจะมีการทำเป็นเส้นทางเดินทางเท้าให้มากขึ้น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่ผลการศึกษาแล้วเสร็จในเดือนตุลาคมนี้ คิดว่าการแก้ปัญหาจราจรของภูเก็ตจะมีความชัดเจน และเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพราะทางคณะที่ปรึกษาจะต้องจัดทำเป็นโมเดลการแก้ปัญหาในแต่ละจุด เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นนำไปดำเนินการแก้ปัญหาได้ทันที