"สุรยุทธ์"เผย ครม.ใหม่เรียบร้อย สัปดาห์หน้าเห็นตัว ยันไม่มีรองนายกฯด้านความมั่นคง แย้มมหาดไทยต้องเพิ่ม อ้างบทบาทเยอะ ต้องประสานประชาชน ทำความเข้าใจประชามติ-รัฐธรณมนูญ ลั่นหลังปรับรมต.ต้องลุยเพื้นที่มากขึ้น คาด"ชนะศักดิ์-ยุวรัตน์"ชิงเก้าอี้มท.3 ขณะที่ครม.ด้านสังคมจัดเวิร์กชอป เร่งคลอดผลงาน "ทิพาวดี"ส่งไม้ต่อครม.คลอดสื่อสาธารณะ 24 เม.ย.นี้ "ไพบูลย์"นัดรัฐมนตรีจัดลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วนของงานในสัปดาห์นี้ ด้าน"ธีระ"อยากได้รมช.เกษตรฯ ดูแลปัญหาหนี้สินเกษตรกร
วานนี้ (20 เม.ย.)พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้าการปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.)ว่าใกล้เสร็จแล้ว อยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติ และการพิมพ์ ซึ่งสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจน ยืนยันว่าไม่มีตำแหน่งของรองนายกฯ และไม่มีรัฐมนตรีที่จะมาประสานในเรื่องพื้นที่ภาคใต้ แต่สิ่งที่จำเป็นคือ จะมีบางกระทรวงที่จะต้องลงพื้นที่มากขึ้น โดยไม่เฉพาะแต่พื้นที่ภาคใต้ เพราะต่อไปจะเป็นเรื่องที่จะลงไปสร้างความเข้าใจและพบปะกับประชาชน รวมถึงการเตรียมการในเรื่องของการทำประชามติ การทำความเข้าใจเรื่องของรัฐธรรมนูญ และเรื่องของการเลือกตั้ง ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทย ต้องมีบทบาทค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม นอกจากการเพิ่มรัฐมนตรีแล้ว การทำงานของรัฐมนตรีแต่ละคนจะต้องลงพื้นที่มากขึ้น
ผู้สื่อข่าถวามว่า จะปรับให้ครบ 36 ตำแหน่งหรือไม่ นายกรัฐมนตรี หัวเราะห์ ก่อนตอบว่า ขอให้มีการทูลเกล้าฯก่อน ส่วนจะเป็นใครบ้างคงต้องรอให้ถึงเวลาที่จะสามารถเปิดเผยได้
**"ชนะศักดิ์-ยุวรัตน์"ชิงมท.3
รายงานข่าจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้ตัดสินใจปรับครม.เพิ่ม 2 ตำแหน่ง คือ รมช.เกษตรฯ และ รมช.มหาดไทย ซึ่งตัวบุคคลนั้นยังคงพิจารณาจากอดีตข้าราชการ โดยรมช.มหาดไทยนั้น ต้องการให้มาประสานดูแลการจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้ง รวมทั้งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ต่างๆของรัฐบาล ดังนั้นบุคคลที่มีโอกาส คือ นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย และสมาชิกสนช.หรืออาจจะเป็น นายยุวรัตน์ กมลเวชช อดีตรองอธิบดีกรมการปกครอง และอดีต กกต. อย่างไรก็ตาม นายยุวรัตน์ ได้กล่าวกับสื่อมวลชนว่า ตอนนี้ยังไม่มีการทาบทามจากนายกฯ แต่อย่างใด
ส่วน รมช.เกษตรฯนั้น รายงานข่าวแจ้งว่า บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญด้านบริหารจัดการสินค้าเกษตรนั้นมีน้อยมาก และทำให้ตัวเลือกมีน้อย โอกาสที่อดีตข้าราชการจะเข้ามาทำหน้าที่นี้คือ นายอนันต์ ดาโลดม อดีตส.ว.สุราษฎร์ฯ ขณะเดียวกันก็มีกระแสข่าวว่านายวีระชัย วีระเมธีกุล รองเลขาธิการนายกฯ ลูกเขย ซีพี ก็เป็นผู้คัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญด้านนี้ให้นายกฯ พิจารณาด้วย ซึ่งคาดว่านายกฯ จะทูลเกล้าฯ รายชื่อครม.ชุดใหม่ ในวันที่ 21-22 เม.ย.นี้
**"เวิร์กชอป"ครม.สังคม
เมื่อเวลา 09.00 น.วันเดียวกันนี้ ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "การขับเคลื่อนสังคม"ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม และ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมีภาคประชาชนและนักวิชาการ เข้าร่วมอย่างคับคั่ง
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังพัฒนาเศรษฐกิจอย่างก้าวหน้า แต่กลับมีปัญหาสังคมตามมาอีกมาก ซึ่งจากข้อมูลของโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัดพบว่า กลุ่มจังหวัดที่มีรายได้ประชากรต่อหัวสูงสุด กลับมีดัชนีชี้วัดทางสังคมเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนดิ่งต่ำจนน่าเป็นห่วง โดยเด็กและเยาวชนอยู่กับสื่อที่ไม่มีสาระเฉลี่ยวันละ 4-6 ชั่วโมง สถาบันครอบครัวอ่อนแอลง คู่แต่งงานทุก 4 คู่ จะมีหย่าร้างกัน 1 คู่ เด็กระดับประถม 1 ใน 4 คน ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ครบหน้า นอกจากนี้ยังมีสถิติอีกว่า เกษตรกรยากจนร้อยละ 40 ขาดที่ดินทำกินที่มั่นคง
"การหารือของภาคประชาชน และหน่วยงานของรัฐวันนี้จะเป็นการผลักดันให้เกิดประโยชน์เพื่อขับเคลื่อนผลักดันให้สำเร็จภายในระยะเวลา 6 เดือนนี้ ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎหมาย การตั้งคณะทำงาน เพื่อวางรากฐานและระบบกลไกต่างๆ ที่ยั่งยืนให้กับรัฐบาลชุดต่อไป"นายไพบูลย์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้แบ่งเป็นประชุมกลุ่มย่อย แต่ที่น่าสนใจเป็นการประชุมของกลุ่มที่ว่าด้วย"นโยบายการปฏิรูปสื่อ"ที่มีการหารืออย่างกว้างขวาง ซึ่งนางสาววิลาสินี พิพิธกุล อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รายงานสถานการณ์ของสื่อให้ที่ประชุมฟังว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานีโทรทัศน์ระบบฟรีทีวี จำนวน 6 สถานี สถานีวิทยุทั่วประเทศอีก 560 สถานี แม้ว่ารัฐจะเป็นเจ้าของทรัพยากรสื่อเหล่านี้ แต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จนถึงมีคดีความระบุว่า การจัดสรรคลื่นและให้สัมปทานสื่อ เอื้อประโยชน์เฉพาะบางกลุ่ม มีการผูกขาดและการแทรกแซงความเป็นอิสระของสื่อ โดยกิจการของสื่อส่วนใหญ่ก็เป็นไปเพื่อผลตอบแทนทางธุรกิจมากกว่าการพัฒนาสังคม ซึ่งรัฐขาดการลงทุนผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้ของเด็กหรือจะให้พูดก็คือ มีสื่อดีน้อยและเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง
**ทีไอทีวี เข้าเอสดียูไม่ใช่แนวทางปฏิรูปสื่อ
นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ผู้นี้กล่าวอีกว่า นอกจากนี้กฎหมายและองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องยังขาดความสมบูรณ์ ขาดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ขณะนี้สังคมไทยควรร่วมสร้างสังคมคุณธรรม โดยสื่อควรเข้ามีส่วนร่วม เด็กและครอบครัวต้องได้เข้าถึงสื่อสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน
จากนั้นจึงมีการแลกเปลี่ยนในประเด็นการได้มาซึ่งสื่อสาธารณะ โดยนางเอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ประธานสถาบันสื่อภาคประชาชน กล่าวว่า การที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องออกมาระบุว่า จะผลักดันให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริงนั้นต้องถามว่า มีความจริงใจกับการผลักดันเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน เพราะความพยายามที่จะผลักดันให้ทีไอทีวี เป็นองค์กรเอสดียู ไม่ใช่ทิศทางหรือนโยบายการปฏิรูปสื่ออย่างแน่นอน หากแก้ไขปัญหานี้ไม่ดีแทนที่จะแก้ไขปัญหาได้อาจสร้างปัญหาขึ้นมาอีกได้
"รัฐบาลชุดนี้มีความพยายามผลักดันให้เกิดทีวีสาธารณะก็จริง แต่ดูเหมือนว่ามีเกมการซื้อเวลา จึงทำให้ทุกอย่างล่าช้า แม้จะประกาศจุดยืนชัดเจนว่าจะผลักดันให้เกิดทีวีสาธารณะให้ได้ แต่ถึงวันนี้ประชาชนเริ่มไม่เห็นความหวัง โดยเฉพาะข้อเสนอของคณะกรรมการกำหนดอนาคตสถานีโทรทัศน์ระบบ ยูเอชเอฟ ที่เสนอให้มีทีวี 2 ช่อง คือ ทีวีเสรีและทีวีสาธารณะ ก็มีผลออกมาเป็นการแทงกั๊ก แต่ยังไม่เห็นเนื้อหาที่ชัดเจน ในฐานะประชาชนจึงยังไม่เชื่อว่าต่อจากนี้สื่อจะถูกปฏิรูปอย่างแท้จริง" นางเอื้อจิต กล่าว
ขณะที่นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า ขณะนี้สื่อเองก็มีความพยายามเสนอกฎหมายประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อแก้ไขปัญหาความเป็นเจ้าของสื่อที่ส่วนใหญ่มักเป็นเอกชนรายใหญ่ มีการนำคลื่นสาธารณะไปผลิตในเชิงพาณิชย์ คาดว่าประมาณสิ้นเดือน พ.ค.นี้ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะแล้วเสร็จและสามารถเสนอให้ สนช.พิจารณาได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างกว้างขวาง โดยภายหลังการประชุม นางสาววิลาสินี กล่าวสรุปว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้น ที่ประชุมจึงเสนอแนวทางการปฏิรูปสื่ออย่างเป็นรูปธรรมว่า ควรมีการออกกฎหมายที่จำเป็น เพื่อการปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริง ซึ่งเห็นว่าร่างกฎหมายที่จำเป็นมีจำนวน 4 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ พ.ร.บ.องค์กรแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนพัฒนาสังคม และ พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งเห็นว่าหากกฎหมายทั้ง 4 ฉบับ สามารถประกาศใช้ได้ภายในรัฐบาลนี้ ก็จะเป็นเรื่องดี หากพ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนพัฒนาสังคมประกาศใช้ ก็จะมีผลบังคับให้เกิดกองทุนที่สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสื่อและผลิตสื่อเพื่อสร้างสรรค์สังคม อีกทั้ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุฯ ยังจะส่งผลให้ความไม่ชัดเจนในความเป็นเจ้าของสื่อมีความชัดเจนมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังเสนอให้มีการจัดให้มีมาตรการจูงใจผู้ผลิตให้ผลิตสื่อคุณภาพและมีสาระ โดยควรลดหย่อนภาษีให้กับผู้ผลิต อีกทั้งควรจัดสรรรายการดีๆ มาเผยแพร่ในสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง โดยเป็นการเผยแพร่เนื้อหาในลักษณะเป็นเครือข่าย เช่น อาจจะให้กรมประชาสัมพันธ์ อสมท. กระทรวงกลาโหม ที่มีคลื่นวิทยุอยู่จำนวนมากร่วมมือกันในการเผยแพร่ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับสื่อที่มีคุณภาพและมีสาระอย่างทั่วถึง และควรมีการจัดตั้งสภาผู้บริโภคที่จะเป็นผู้ติดตามการนำเสนอของสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง โดยสภาดังกล่าวควรประกอบด้วยเครือข่ายจากภาคสังคม นักวิชาการ เป็นต้น
"ที่ประชุมยังเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบายการปฏิรูปสื่อ เพื่อกำหนดแนวทางและติดตามการปฏิรูปสื่อให้เป็นรูปธรรม โดยจะเสนอให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องนำเสนอเข้า ครม.เพื่อลงนามแต่งตั้ง เพราะหากรัฐบาลขยับช้า อาจจะทำให้กำหนดทิศทางของสื่อสาธารณะไม่ทันในรัฐบาลนี้"นางสาววิลาสินี กล่าว
**ชง"สื่อสาธารณะ"เข้า ครม. 24 เม.ย.
ด้านคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการรับฟังข้อสรุปในการประชุมเชิงปฏิบัติการ"ขับเคลื่อนสังคม"ถึงนโยบายการปฏิรูปสื่อว่า ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีที่ดูแลกำกับด้านสื่อ ก็รับรู้อยู่ตลอดเวลาว่าสังคมรอคอยสื่อสาธารณะมาเป็นเวลานาน ซึ่งตนก็มั่นใจว่ามีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลชุดนี้จะผลักดัน พ.ร.บ.สื่อสาธารณะให้แล้วเสร็จ สื่อสาธารณะนี้ก็จะเป็นองค์ที่สามารถบริการสาธารณะได้อย่างแท้จริง รวมทั้งจะยังเป็นองค์เพื่อประชาชน โดยประชาชนและของประชาชน ซึ่งตนจะนำ เสนอ พ.ร.บ.ดังกล่าวเข้าสู่การประชุม ครม.ในอังคารที่ 24 เม.ย.นี้
ทั้งนี้ สื่อสาธารณะที่จะเกิดขึ้นจะต้องเป็นสื่อที่มีความเป็นกลาง เป็นสื่อที่เน้นส่งเสริมจริยธรรมและเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม มีรายการที่มีคุณภาพหลากหลาย รวมทั้งจะต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ให้กับสังคม ประชาชนร่วมเป็นเจ้าของ โดยให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นได้ รวมทั้งมีกลไกการบริหารงานที่ตรวจสอบได้ เพื่อรักษามาตรฐานของสื่อสาธารณะ ผู้บริหารจะต้องเป็นมืออาชีพที่มีความอิสระ และมีระบบกำกับเนื้อหาของสื่อให้เสนอไปทิศทางที่สร้างสรรค์
"การจะให้มีสื่อที่สร้างสรรค์และเป็นสื่อสาธารณะอย่างเดียวคงไม่ได้ และรัฐบาลชุดนี้คงไม่สามารถดูแลกำกับเนื้อหาสาระได้ตลอดไป ดังนั้นจึงขอร่วมมือกับสมาคมวิชาชีพต่างๆ ตั้งสมาพันธ์ขึ้นมาเพื่อเฝ้าระวังการนำเสนอของสื่ออีกทางหนึ่ง"คุณหญิงทิพาวดี กล่าว
คุณหญิงทิพาวดี ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า ในวันอังคารที่ 24 เม.ย.นี้ ตนจะนำข้อเสนอและผลสรุปของการรับฟังความคิดเห็นในเรื่องอนาคตของทีไอทีวี ที่จะทำให้เป็นสื่อสาธารณะ หรือ สื่อเสรี ตามที่คณะกรรมการกำหนดอนาคตสถานีโทรทัศน์ ระบบยูเอชเอฟ ซึ่งมีนางดรุณี หิรัญรัตน์ เป็นประธาน นำเสนอต่อครม.และเมื่อ ครม.มีมติเห็นชอบแล้ว ก็จะนำไปจัดทำเป็น พ.ร.บ.ต่อไป
**ใช้ระบบฟาสต์แท็รคผลักดัน กม.
คุณหญิงทิพาวดี ยังกล่าวถึงการนำระบบฟาสต์แทร็คมาใช้ในการปรับการทำงานของรัฐบาลตามที่ได้มีการหารือในที่ประชุม ครม.ว่า ความหมายของระบบนี้คือ การลดขั้นตอนในการนำเสนอเรื่องต่อ ครม.ให้เร็ว โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นนโยบายสำคัญ เรื่องที่ปรากฏอยู่ในนโยบายที่รัฐบาลแถลงไว้ หรือเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นต้องได้รับการตัดสินใจ และต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เช่น กฎหมายทั้งหลาย ซึ่งจำเป็นที่จะต้องนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)เพราะขณะนี้ส่วนใหญ่ขั้นตอนการยกร่างเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ต้องใช้ระบบที่เร็ว ส่วนเรื่องที่จำเป็นต้องมีความรอบคอบ และช้าได้ ก็สามารถใช้ระบบปกติได้
"การทำงานแบบระบบฟาสแทร็ค ก็เหมือนการขึ้นทางด่วน ถ้าเผื่อเป็นระบบเร็วก็จะต้องเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาร่วมกันไปเลย แต่ไม่ว่าจะเป็นระบบเร็วหรือช้านั้นความรอบคอบจะต้องมีเหมือนกัน เพียงแต่ว่ารูปแบบวิธีการจะต่างกัน เช่น ถ้าหากเป็นระบบปกติจะต้องส่งเอกสารไปถามความเห็น 4-5 หน่วยงาน ต้องรอเวลาและเกิดความล่าช้า แต่ระบบเร็วนั้นก็จะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุม และผลการประชุมนั้นก็เท่ากับเป็นการรับรู้เลย ไม่ต้องทำหนังสือถามไปถามมา ขั้นตอนดังกล่าวจะลดเวลาในการทำงานได้ประมาณถึง 2-3 อาทิตย์ หรือเป็นเดือนเลยก็ได้"
ทั้งนี้ จากการหารือกับ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม แล้วเห็นว่าการทำงานจะต้องเกี่ยวข้องกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) โดยนายไพบูลย์ นายประสิทธิ์ โฆวิไลกุล รมต.สำนักนายกฯ ที่ดูแลสลค.รวมทั้งตน จะต้องเข้าไปช่วยดูขั้นตอนต่างๆ ว่าสามารถเร่งให้เร็วขึ้นได้หรือไม่ พูดตรงๆ ก็คือเหมือนมีผู้ใหญ่ระดับรองนายกฯ ช่วยตัดสินใจให้ว่า เรื่องใดต้องเร็วหรือช้าอย่างไร
**ไพบูลย์ถกลำดับความสำคัญของงาน
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้สัมภาษณ์ ก่อนการประชุมเวิร์กชอป ถึงกรณีที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ให้เป็นประธานการเร่งรัดการทำงานของคณะรัฐมนตรีเพื่อให้เกิดการประสานงานดีขึ้นกับกระบวนการทางนิติบัญญัติว่า งานที่รัฐบาลทำอยู่มีมากมาย ส่วนใหญ่ยังค้างอยู่ในท่อ จะหาทางทำอย่างไรให้การเดินผ่านท่อให้เร็วยิ่งขึ้น อาจจะมีการปรับปรุงมติครม.เกี่ยวกับระบบการทำงาน และการเดินเรื่องต่างๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าขั้นตอนยังช้าอยู่ เพราะต้องผ่านหลายขั้นตอน ก็พยายามที่จะปรับระบบให้เร็วขึ้น เพราะรัฐบาลมีเวลาเหลือไม่มาก ซึ่งในสัปดาห์หน้าตนจะเชิญรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมาหารือ จัดลำดับความสำคัญ เพื่อให้เรื่องที่สำคัญสุดไปได้เร็ว ทันที่จะออกกฎหมายภายในรัฐบาลนี้
เมื่อถามว่าความล่าช้าเกิดจากรัฐมนตรีบริหารงานไม่เป็น หรือข้าราชการเกียร์ว่าง นายไพบูลย์ กล่าวว่า คิดว่าไม่มีใครเจตนาให้ช้า ขึ้นอยู่กับระบบที่หลายขั้นตอน หรือผ่านการพิจารณาหลายหน่วยงานทำให้ช้า จะหาทางทำให้เร็วโดยไม่ลดคุณภาพ และยึดหลักความถูกต้องตามกฎหมายและเหมาะสมด้วย
เมื่อถามว่ามีวิธีแก้ปัญหาความล่าช้าอันเนื่องจากระบบราชการอย่างไร เพราะมีมายาวนานแล้ว นายไพบูลย์ กล่าวว่า ระบบราชการต้องมองเรื่องระยะสั้นกับระยะยาว เรื่องเฉพาะหน้ากับเรื่องพื้นฐาน สิ่งที่จะแก้ได้คือเรื่องเฉพาะหน้าระยะสั้น แต่สิ่งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานหรือระยะยาวถ้าจะแก้ต้องใช้เวลานาน ขณะนี้เราต้องการแก้ไขเพียงงานที่ผ่านการพิจารณาจาก ครม. และจาก ครม.ไปสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้เร็วขึ้น
เมื่อถามว่าครม.โทษเรื่องอื่นว่าล่าช้า เคยมองดูตัวเองหรือไม่ เพราะรัฐมนตรีระบุว่าไม่สันทัดในการทำงาน นายไพบูลย์ กล่าวว่า เราพยายามที่จะประเมินตัวเอง และติดตามผลด้วยและปรับปรุงตัวเองด้วย ถ้ายังไม่ดีก็ต้องทำเพิ่มขึ้น โดยจะไม่เปรียบเทียบกับใคร
นายไพบูลย์ ยังกล่าวถึงการตั้งรัฐมนตรีด้านสังคมเพิ่มว่า นายกรัฐมนตรียังไม่ได้คุยกับตน เพียงแต่บอกว่ามีการเพิ่มรัฐมนตรี 3 ตำแหน่ง จะเป็นรัฐมนตรีว่าการ หรือรัฐมนตรีช่วย ทางใดทางหนึ่งยังไม่ชัดเจน คิดว่านายกฯคงหารือกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เมื่อถามว่ากระทรวงด้านสังคม จุดไหนควรเพิ่ม หรือควรปรับ นายไพบูลย์ กล่าวว่า ขณะนี้นายกฯได้พิจารณากับกระทรวงที่เกี่ยวข้องอยู่
ผู้สื่อข่าวถามว่า รมต.ด้านสังคมงานจะล้นมือเกินไปหรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า เท่าที่ดูแลอยู่ด้านหลักๆรัฐมนตรีที่ดูแลอยู่ก็ดีแล้ว แม้งานจะมีมากแต่ก็ทำกันอย่างเต็มที่ ซึ่งตนที่รับผิดชอบด้านนี้ก็พยายามสนับสนุนเป็นพิเศษเพื่อให้งานเดินได้เร็ว การสนับสนุนทั้งภาครัฐและอื่นๆด้วย เมื่อถามว่าที่ต้องเพิ่มเพราะ รมต.ทำงานไม่เอาไหนหรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า การจะเพิ่มให้นายกรัฐมนตรีหารือกระทรวงที่เกี่ยวข้องก่อน เช่น กระทรวงเกษตรฯ มีปัญหาหนี้สินเกษตร ซึ่งมีคณะกรรมการอำนวยการเรื่องนี้อยู่ โดยตนเป็นประธาน ซึ่งตนจะเร่งดูเรื่องนี้ โดยเชิญกลุ่มที่เกี่ยวข้องมาหารือรวมทั้งลงไปพบทุกฝ่ายในพื้นที่ด้วย วิธีนี้เป็นการสนับสนุนงานของกระทรวงเกษตรทางหนึ่งด้วย
**"ธีระ"อยากได้รมช.ดูปัญหาหนี้
นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรี จะเพิ่มรัฐมนตรีด้านสังคมอีก 1 ตำแหน่งว่า นายกฯยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่า กระทรวงใดมีงานมาก จำเป็นต้องเพิ่มรัฐมนตรีช่วย คงแล้วแต่ดุลยพินิจของท่าน ตนไม่ได้แจ้งความประสงค์ขอให้นายกฯแต่งตั้งรมช.เกษตรฯ แต่มีสื่อมวลชนบางส่วนให้ความเห็นว่า กระทรวงเกษตรฯ น่าจะมีคนเข้ามาช่วยงานดูแลทางด้านหนี้สินเกษตรกรโดยตรง
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ ขอให้เป็นดุลยพินิจของนายกฯดีกว่า ตนคงไม่ร้องขอ เพราะกระทรวงฯก็พยายามเร่งรัดการทำงาน โดยขณะนี้แบ่งงานออกเป็น 2 ส่วนคือ ปัญหาเฉพาะหน้าที่พยายามประสานกับกระทรวงพาณิชย์ และต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร ซึ่งบ้านเมืองเราไม่มีเจ้าภาพจริงจังในการแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้าการเกษตร
"หากท่านนายกฯ จะส่งใครเข้ามาช่วยดูแลงานในเรื่องหนี้สินเกษตรกร และการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรโดยตรง ผมก็ต้องขอขอบคุณ และไม่ว่าจะเป็นใครเข้ามาเป็นรมช.เกษตรฯ ผมก็พร้อมทำงานร่วมได้ ไม่น่ามีปัญหาอะไร ส่วนตัวไม่ได้มองใครเอาไว้ในใจ เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับนายกฯ"รมว.เกษตรฯ กล่าว
เมื่อถามว่า จะแก้ไขปัญหาม็อบเกษตรกรที่เคลื่อนไหวในช่วงนี้ เพราะนายกฯ ต้องการเร่งรัดให้แก้ไข นายธีระ กล่าวว่า เป็นส่วนที่เราพยายามเร่งรัด โดยฐานในการแก้ปัญหาส่วนนี้ คือ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งขาดช่วง ต้องมีการเร่งจัดการเลือกตั้งกรรมการในสัดส่วนตัวแทนเกษตรกรที่หมดวาระไป ในวันที่ 3 มิ.ย. เปิดรับสมัคร 23-27เม.ย.นี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะทำความเข้าใจกับม็อบเกษตรกรอย่างไร เพราะอาจจะมีการปลุกระดมให้มาร่วมเคลื่อนไหวกับม็อบการเมืองต่างๆ ด้วย รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า ตนมองว่าเกษตรกรไม่น่าจะเคลื่อนไหวอะไรมาก เพราะตอนนี้อยู่ในช่วงองค์กรเกษตรกรทั้งหลายต้องเตรียมหาเสียงเลือกตั้งเป็นตัวแทนเกษตรกรในช่วงเดือน พ.ค.
เมื่อถามว่า หากแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรไม่ได้ เตรียมรับมือสถานการณ์การเมืองที่จะรุนแรงขึ้นอย่างไร นายธีระ กล่าวว่า การแก้ปัญหาเกษตรกรไม่ใช่ทำได้ในวันสองวันหรือ 1-2 ปี แต่เรื้อรังมาเป็นสิบปีผ่านมาหลายรัฐบาล
**"วอร์รูม"จัดรัฐมนตรีลงพื้นที่
นายประสาร มฤคพิทักษ์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาพันธ์ในประเทศ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตและการประชาสัมพันธ์เชิงรุก (วอร์รูม)ว่านายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการได้แถลงต่อที่ประชุมว่า คณะรัฐมนตรีได้มีความเห็นร่วมกันว่า เพื่อให้เกิดบรรยากาศความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้ง ครม.,คมช.,สนช.,ส.ส.ร., คตส.และ กกต.จึงควรจะมีการประชุมร่วมกันให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดเอกภาพในการทำงานร่วมกัน
ส่วนการทำงานตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผลักดันผลงานออกมาหลายเรื่อง รวมทั้งร่างกฎหมายสำคัญๆ เพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับประเทศ เช่น ร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการป้องกันการคอร์รัปชั่น ป้องกันการแทรกแซงองค์กรอิสระ ร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และ อื่นๆ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของส่วนต่างๆ และจะเข้าสู่สภาได้เร็วๆ นี้
นายธีรภัทร์ แจ้งด้วยว่า ขณะนี้นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งแบ่งหน้าที่การลงพื้นที่ในแต่ละกลุ่มจังหวัดให้แก่รัฐมนตรีทุกคน เพื่อช่วยกันสร้างความเข้าใจกับประชาชน ในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการอยู่ดีมีสุข รวมทั้งรับทราบข้อเสนอแนะและข้อเรียกร้องด้านต่างๆ ของประชาชนในแต่ละพื้นที่อย่างทั่วถึง ซึ่งการลงพื้นที่ จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพ.ค.เป็นต้นไป โดยรัฐมนตรีแต่ละท่าน จะกำหนดตารางเวลาการลงพื้นที่ของท่านต่อไป
สำหรับการประชุมโดยภาพรวมนั้น มีข้อสรุปที่สำคัญ คือ การนำผลงานรัฐบาลด้านต่างๆ รวมทั้งร่างกฎหมายที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ นำเสนอให้ประชาชนรับทราบ อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ นายสุรพงษ์ ชัยนาม ประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ระหว่างวันที่ 17-26 พ.ค.นี้ จะเดินทางไปยังประเทศสหพันธรัฐเยอรมันนี และสหราชอาณาจักร ร่วมกับคณะผู้ทรงคุณวุฒิ 1. นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักวิชาการอิสระ 2. นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตส.ว. 3. นายสุรสีห์ โกศลนาวิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 4. ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ 5. รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 6. ผ.ศ.สุรัตน์ โหราชัยกุล ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อพบปะทำความเข้าใจกับนักเรียนไทย ชุมชนคนไทย และผู้สนใจในประเทศนั้นๆ ในหัวข้อ พัฒนาการเมืองและประชาธิปไตยของไทยหลังการรัฐประหาร 19 ก.ย.49 รวมทั้งการปฏิรูปการเมือง การส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศ และทิศทางของประเทศไทยในอนาคต ในรูปแบบการอภิปราย และการตอบคำถาม
วานนี้ (20 เม.ย.)พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้าการปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.)ว่าใกล้เสร็จแล้ว อยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติ และการพิมพ์ ซึ่งสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจน ยืนยันว่าไม่มีตำแหน่งของรองนายกฯ และไม่มีรัฐมนตรีที่จะมาประสานในเรื่องพื้นที่ภาคใต้ แต่สิ่งที่จำเป็นคือ จะมีบางกระทรวงที่จะต้องลงพื้นที่มากขึ้น โดยไม่เฉพาะแต่พื้นที่ภาคใต้ เพราะต่อไปจะเป็นเรื่องที่จะลงไปสร้างความเข้าใจและพบปะกับประชาชน รวมถึงการเตรียมการในเรื่องของการทำประชามติ การทำความเข้าใจเรื่องของรัฐธรรมนูญ และเรื่องของการเลือกตั้ง ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทย ต้องมีบทบาทค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม นอกจากการเพิ่มรัฐมนตรีแล้ว การทำงานของรัฐมนตรีแต่ละคนจะต้องลงพื้นที่มากขึ้น
ผู้สื่อข่าถวามว่า จะปรับให้ครบ 36 ตำแหน่งหรือไม่ นายกรัฐมนตรี หัวเราะห์ ก่อนตอบว่า ขอให้มีการทูลเกล้าฯก่อน ส่วนจะเป็นใครบ้างคงต้องรอให้ถึงเวลาที่จะสามารถเปิดเผยได้
**"ชนะศักดิ์-ยุวรัตน์"ชิงมท.3
รายงานข่าจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้ตัดสินใจปรับครม.เพิ่ม 2 ตำแหน่ง คือ รมช.เกษตรฯ และ รมช.มหาดไทย ซึ่งตัวบุคคลนั้นยังคงพิจารณาจากอดีตข้าราชการ โดยรมช.มหาดไทยนั้น ต้องการให้มาประสานดูแลการจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้ง รวมทั้งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ต่างๆของรัฐบาล ดังนั้นบุคคลที่มีโอกาส คือ นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย และสมาชิกสนช.หรืออาจจะเป็น นายยุวรัตน์ กมลเวชช อดีตรองอธิบดีกรมการปกครอง และอดีต กกต. อย่างไรก็ตาม นายยุวรัตน์ ได้กล่าวกับสื่อมวลชนว่า ตอนนี้ยังไม่มีการทาบทามจากนายกฯ แต่อย่างใด
ส่วน รมช.เกษตรฯนั้น รายงานข่าวแจ้งว่า บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญด้านบริหารจัดการสินค้าเกษตรนั้นมีน้อยมาก และทำให้ตัวเลือกมีน้อย โอกาสที่อดีตข้าราชการจะเข้ามาทำหน้าที่นี้คือ นายอนันต์ ดาโลดม อดีตส.ว.สุราษฎร์ฯ ขณะเดียวกันก็มีกระแสข่าวว่านายวีระชัย วีระเมธีกุล รองเลขาธิการนายกฯ ลูกเขย ซีพี ก็เป็นผู้คัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญด้านนี้ให้นายกฯ พิจารณาด้วย ซึ่งคาดว่านายกฯ จะทูลเกล้าฯ รายชื่อครม.ชุดใหม่ ในวันที่ 21-22 เม.ย.นี้
**"เวิร์กชอป"ครม.สังคม
เมื่อเวลา 09.00 น.วันเดียวกันนี้ ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "การขับเคลื่อนสังคม"ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม และ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมีภาคประชาชนและนักวิชาการ เข้าร่วมอย่างคับคั่ง
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังพัฒนาเศรษฐกิจอย่างก้าวหน้า แต่กลับมีปัญหาสังคมตามมาอีกมาก ซึ่งจากข้อมูลของโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัดพบว่า กลุ่มจังหวัดที่มีรายได้ประชากรต่อหัวสูงสุด กลับมีดัชนีชี้วัดทางสังคมเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนดิ่งต่ำจนน่าเป็นห่วง โดยเด็กและเยาวชนอยู่กับสื่อที่ไม่มีสาระเฉลี่ยวันละ 4-6 ชั่วโมง สถาบันครอบครัวอ่อนแอลง คู่แต่งงานทุก 4 คู่ จะมีหย่าร้างกัน 1 คู่ เด็กระดับประถม 1 ใน 4 คน ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ครบหน้า นอกจากนี้ยังมีสถิติอีกว่า เกษตรกรยากจนร้อยละ 40 ขาดที่ดินทำกินที่มั่นคง
"การหารือของภาคประชาชน และหน่วยงานของรัฐวันนี้จะเป็นการผลักดันให้เกิดประโยชน์เพื่อขับเคลื่อนผลักดันให้สำเร็จภายในระยะเวลา 6 เดือนนี้ ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎหมาย การตั้งคณะทำงาน เพื่อวางรากฐานและระบบกลไกต่างๆ ที่ยั่งยืนให้กับรัฐบาลชุดต่อไป"นายไพบูลย์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้แบ่งเป็นประชุมกลุ่มย่อย แต่ที่น่าสนใจเป็นการประชุมของกลุ่มที่ว่าด้วย"นโยบายการปฏิรูปสื่อ"ที่มีการหารืออย่างกว้างขวาง ซึ่งนางสาววิลาสินี พิพิธกุล อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รายงานสถานการณ์ของสื่อให้ที่ประชุมฟังว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานีโทรทัศน์ระบบฟรีทีวี จำนวน 6 สถานี สถานีวิทยุทั่วประเทศอีก 560 สถานี แม้ว่ารัฐจะเป็นเจ้าของทรัพยากรสื่อเหล่านี้ แต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จนถึงมีคดีความระบุว่า การจัดสรรคลื่นและให้สัมปทานสื่อ เอื้อประโยชน์เฉพาะบางกลุ่ม มีการผูกขาดและการแทรกแซงความเป็นอิสระของสื่อ โดยกิจการของสื่อส่วนใหญ่ก็เป็นไปเพื่อผลตอบแทนทางธุรกิจมากกว่าการพัฒนาสังคม ซึ่งรัฐขาดการลงทุนผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้ของเด็กหรือจะให้พูดก็คือ มีสื่อดีน้อยและเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง
**ทีไอทีวี เข้าเอสดียูไม่ใช่แนวทางปฏิรูปสื่อ
นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ผู้นี้กล่าวอีกว่า นอกจากนี้กฎหมายและองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องยังขาดความสมบูรณ์ ขาดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ขณะนี้สังคมไทยควรร่วมสร้างสังคมคุณธรรม โดยสื่อควรเข้ามีส่วนร่วม เด็กและครอบครัวต้องได้เข้าถึงสื่อสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน
จากนั้นจึงมีการแลกเปลี่ยนในประเด็นการได้มาซึ่งสื่อสาธารณะ โดยนางเอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ประธานสถาบันสื่อภาคประชาชน กล่าวว่า การที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องออกมาระบุว่า จะผลักดันให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริงนั้นต้องถามว่า มีความจริงใจกับการผลักดันเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน เพราะความพยายามที่จะผลักดันให้ทีไอทีวี เป็นองค์กรเอสดียู ไม่ใช่ทิศทางหรือนโยบายการปฏิรูปสื่ออย่างแน่นอน หากแก้ไขปัญหานี้ไม่ดีแทนที่จะแก้ไขปัญหาได้อาจสร้างปัญหาขึ้นมาอีกได้
"รัฐบาลชุดนี้มีความพยายามผลักดันให้เกิดทีวีสาธารณะก็จริง แต่ดูเหมือนว่ามีเกมการซื้อเวลา จึงทำให้ทุกอย่างล่าช้า แม้จะประกาศจุดยืนชัดเจนว่าจะผลักดันให้เกิดทีวีสาธารณะให้ได้ แต่ถึงวันนี้ประชาชนเริ่มไม่เห็นความหวัง โดยเฉพาะข้อเสนอของคณะกรรมการกำหนดอนาคตสถานีโทรทัศน์ระบบ ยูเอชเอฟ ที่เสนอให้มีทีวี 2 ช่อง คือ ทีวีเสรีและทีวีสาธารณะ ก็มีผลออกมาเป็นการแทงกั๊ก แต่ยังไม่เห็นเนื้อหาที่ชัดเจน ในฐานะประชาชนจึงยังไม่เชื่อว่าต่อจากนี้สื่อจะถูกปฏิรูปอย่างแท้จริง" นางเอื้อจิต กล่าว
ขณะที่นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า ขณะนี้สื่อเองก็มีความพยายามเสนอกฎหมายประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อแก้ไขปัญหาความเป็นเจ้าของสื่อที่ส่วนใหญ่มักเป็นเอกชนรายใหญ่ มีการนำคลื่นสาธารณะไปผลิตในเชิงพาณิชย์ คาดว่าประมาณสิ้นเดือน พ.ค.นี้ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะแล้วเสร็จและสามารถเสนอให้ สนช.พิจารณาได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างกว้างขวาง โดยภายหลังการประชุม นางสาววิลาสินี กล่าวสรุปว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้น ที่ประชุมจึงเสนอแนวทางการปฏิรูปสื่ออย่างเป็นรูปธรรมว่า ควรมีการออกกฎหมายที่จำเป็น เพื่อการปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริง ซึ่งเห็นว่าร่างกฎหมายที่จำเป็นมีจำนวน 4 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ พ.ร.บ.องค์กรแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนพัฒนาสังคม และ พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งเห็นว่าหากกฎหมายทั้ง 4 ฉบับ สามารถประกาศใช้ได้ภายในรัฐบาลนี้ ก็จะเป็นเรื่องดี หากพ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนพัฒนาสังคมประกาศใช้ ก็จะมีผลบังคับให้เกิดกองทุนที่สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสื่อและผลิตสื่อเพื่อสร้างสรรค์สังคม อีกทั้ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุฯ ยังจะส่งผลให้ความไม่ชัดเจนในความเป็นเจ้าของสื่อมีความชัดเจนมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังเสนอให้มีการจัดให้มีมาตรการจูงใจผู้ผลิตให้ผลิตสื่อคุณภาพและมีสาระ โดยควรลดหย่อนภาษีให้กับผู้ผลิต อีกทั้งควรจัดสรรรายการดีๆ มาเผยแพร่ในสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง โดยเป็นการเผยแพร่เนื้อหาในลักษณะเป็นเครือข่าย เช่น อาจจะให้กรมประชาสัมพันธ์ อสมท. กระทรวงกลาโหม ที่มีคลื่นวิทยุอยู่จำนวนมากร่วมมือกันในการเผยแพร่ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับสื่อที่มีคุณภาพและมีสาระอย่างทั่วถึง และควรมีการจัดตั้งสภาผู้บริโภคที่จะเป็นผู้ติดตามการนำเสนอของสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง โดยสภาดังกล่าวควรประกอบด้วยเครือข่ายจากภาคสังคม นักวิชาการ เป็นต้น
"ที่ประชุมยังเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบายการปฏิรูปสื่อ เพื่อกำหนดแนวทางและติดตามการปฏิรูปสื่อให้เป็นรูปธรรม โดยจะเสนอให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องนำเสนอเข้า ครม.เพื่อลงนามแต่งตั้ง เพราะหากรัฐบาลขยับช้า อาจจะทำให้กำหนดทิศทางของสื่อสาธารณะไม่ทันในรัฐบาลนี้"นางสาววิลาสินี กล่าว
**ชง"สื่อสาธารณะ"เข้า ครม. 24 เม.ย.
ด้านคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการรับฟังข้อสรุปในการประชุมเชิงปฏิบัติการ"ขับเคลื่อนสังคม"ถึงนโยบายการปฏิรูปสื่อว่า ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีที่ดูแลกำกับด้านสื่อ ก็รับรู้อยู่ตลอดเวลาว่าสังคมรอคอยสื่อสาธารณะมาเป็นเวลานาน ซึ่งตนก็มั่นใจว่ามีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลชุดนี้จะผลักดัน พ.ร.บ.สื่อสาธารณะให้แล้วเสร็จ สื่อสาธารณะนี้ก็จะเป็นองค์ที่สามารถบริการสาธารณะได้อย่างแท้จริง รวมทั้งจะยังเป็นองค์เพื่อประชาชน โดยประชาชนและของประชาชน ซึ่งตนจะนำ เสนอ พ.ร.บ.ดังกล่าวเข้าสู่การประชุม ครม.ในอังคารที่ 24 เม.ย.นี้
ทั้งนี้ สื่อสาธารณะที่จะเกิดขึ้นจะต้องเป็นสื่อที่มีความเป็นกลาง เป็นสื่อที่เน้นส่งเสริมจริยธรรมและเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม มีรายการที่มีคุณภาพหลากหลาย รวมทั้งจะต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ให้กับสังคม ประชาชนร่วมเป็นเจ้าของ โดยให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นได้ รวมทั้งมีกลไกการบริหารงานที่ตรวจสอบได้ เพื่อรักษามาตรฐานของสื่อสาธารณะ ผู้บริหารจะต้องเป็นมืออาชีพที่มีความอิสระ และมีระบบกำกับเนื้อหาของสื่อให้เสนอไปทิศทางที่สร้างสรรค์
"การจะให้มีสื่อที่สร้างสรรค์และเป็นสื่อสาธารณะอย่างเดียวคงไม่ได้ และรัฐบาลชุดนี้คงไม่สามารถดูแลกำกับเนื้อหาสาระได้ตลอดไป ดังนั้นจึงขอร่วมมือกับสมาคมวิชาชีพต่างๆ ตั้งสมาพันธ์ขึ้นมาเพื่อเฝ้าระวังการนำเสนอของสื่ออีกทางหนึ่ง"คุณหญิงทิพาวดี กล่าว
คุณหญิงทิพาวดี ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า ในวันอังคารที่ 24 เม.ย.นี้ ตนจะนำข้อเสนอและผลสรุปของการรับฟังความคิดเห็นในเรื่องอนาคตของทีไอทีวี ที่จะทำให้เป็นสื่อสาธารณะ หรือ สื่อเสรี ตามที่คณะกรรมการกำหนดอนาคตสถานีโทรทัศน์ ระบบยูเอชเอฟ ซึ่งมีนางดรุณี หิรัญรัตน์ เป็นประธาน นำเสนอต่อครม.และเมื่อ ครม.มีมติเห็นชอบแล้ว ก็จะนำไปจัดทำเป็น พ.ร.บ.ต่อไป
**ใช้ระบบฟาสต์แท็รคผลักดัน กม.
คุณหญิงทิพาวดี ยังกล่าวถึงการนำระบบฟาสต์แทร็คมาใช้ในการปรับการทำงานของรัฐบาลตามที่ได้มีการหารือในที่ประชุม ครม.ว่า ความหมายของระบบนี้คือ การลดขั้นตอนในการนำเสนอเรื่องต่อ ครม.ให้เร็ว โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นนโยบายสำคัญ เรื่องที่ปรากฏอยู่ในนโยบายที่รัฐบาลแถลงไว้ หรือเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นต้องได้รับการตัดสินใจ และต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เช่น กฎหมายทั้งหลาย ซึ่งจำเป็นที่จะต้องนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)เพราะขณะนี้ส่วนใหญ่ขั้นตอนการยกร่างเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ต้องใช้ระบบที่เร็ว ส่วนเรื่องที่จำเป็นต้องมีความรอบคอบ และช้าได้ ก็สามารถใช้ระบบปกติได้
"การทำงานแบบระบบฟาสแทร็ค ก็เหมือนการขึ้นทางด่วน ถ้าเผื่อเป็นระบบเร็วก็จะต้องเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาร่วมกันไปเลย แต่ไม่ว่าจะเป็นระบบเร็วหรือช้านั้นความรอบคอบจะต้องมีเหมือนกัน เพียงแต่ว่ารูปแบบวิธีการจะต่างกัน เช่น ถ้าหากเป็นระบบปกติจะต้องส่งเอกสารไปถามความเห็น 4-5 หน่วยงาน ต้องรอเวลาและเกิดความล่าช้า แต่ระบบเร็วนั้นก็จะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุม และผลการประชุมนั้นก็เท่ากับเป็นการรับรู้เลย ไม่ต้องทำหนังสือถามไปถามมา ขั้นตอนดังกล่าวจะลดเวลาในการทำงานได้ประมาณถึง 2-3 อาทิตย์ หรือเป็นเดือนเลยก็ได้"
ทั้งนี้ จากการหารือกับ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม แล้วเห็นว่าการทำงานจะต้องเกี่ยวข้องกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) โดยนายไพบูลย์ นายประสิทธิ์ โฆวิไลกุล รมต.สำนักนายกฯ ที่ดูแลสลค.รวมทั้งตน จะต้องเข้าไปช่วยดูขั้นตอนต่างๆ ว่าสามารถเร่งให้เร็วขึ้นได้หรือไม่ พูดตรงๆ ก็คือเหมือนมีผู้ใหญ่ระดับรองนายกฯ ช่วยตัดสินใจให้ว่า เรื่องใดต้องเร็วหรือช้าอย่างไร
**ไพบูลย์ถกลำดับความสำคัญของงาน
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้สัมภาษณ์ ก่อนการประชุมเวิร์กชอป ถึงกรณีที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ให้เป็นประธานการเร่งรัดการทำงานของคณะรัฐมนตรีเพื่อให้เกิดการประสานงานดีขึ้นกับกระบวนการทางนิติบัญญัติว่า งานที่รัฐบาลทำอยู่มีมากมาย ส่วนใหญ่ยังค้างอยู่ในท่อ จะหาทางทำอย่างไรให้การเดินผ่านท่อให้เร็วยิ่งขึ้น อาจจะมีการปรับปรุงมติครม.เกี่ยวกับระบบการทำงาน และการเดินเรื่องต่างๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าขั้นตอนยังช้าอยู่ เพราะต้องผ่านหลายขั้นตอน ก็พยายามที่จะปรับระบบให้เร็วขึ้น เพราะรัฐบาลมีเวลาเหลือไม่มาก ซึ่งในสัปดาห์หน้าตนจะเชิญรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมาหารือ จัดลำดับความสำคัญ เพื่อให้เรื่องที่สำคัญสุดไปได้เร็ว ทันที่จะออกกฎหมายภายในรัฐบาลนี้
เมื่อถามว่าความล่าช้าเกิดจากรัฐมนตรีบริหารงานไม่เป็น หรือข้าราชการเกียร์ว่าง นายไพบูลย์ กล่าวว่า คิดว่าไม่มีใครเจตนาให้ช้า ขึ้นอยู่กับระบบที่หลายขั้นตอน หรือผ่านการพิจารณาหลายหน่วยงานทำให้ช้า จะหาทางทำให้เร็วโดยไม่ลดคุณภาพ และยึดหลักความถูกต้องตามกฎหมายและเหมาะสมด้วย
เมื่อถามว่ามีวิธีแก้ปัญหาความล่าช้าอันเนื่องจากระบบราชการอย่างไร เพราะมีมายาวนานแล้ว นายไพบูลย์ กล่าวว่า ระบบราชการต้องมองเรื่องระยะสั้นกับระยะยาว เรื่องเฉพาะหน้ากับเรื่องพื้นฐาน สิ่งที่จะแก้ได้คือเรื่องเฉพาะหน้าระยะสั้น แต่สิ่งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานหรือระยะยาวถ้าจะแก้ต้องใช้เวลานาน ขณะนี้เราต้องการแก้ไขเพียงงานที่ผ่านการพิจารณาจาก ครม. และจาก ครม.ไปสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้เร็วขึ้น
เมื่อถามว่าครม.โทษเรื่องอื่นว่าล่าช้า เคยมองดูตัวเองหรือไม่ เพราะรัฐมนตรีระบุว่าไม่สันทัดในการทำงาน นายไพบูลย์ กล่าวว่า เราพยายามที่จะประเมินตัวเอง และติดตามผลด้วยและปรับปรุงตัวเองด้วย ถ้ายังไม่ดีก็ต้องทำเพิ่มขึ้น โดยจะไม่เปรียบเทียบกับใคร
นายไพบูลย์ ยังกล่าวถึงการตั้งรัฐมนตรีด้านสังคมเพิ่มว่า นายกรัฐมนตรียังไม่ได้คุยกับตน เพียงแต่บอกว่ามีการเพิ่มรัฐมนตรี 3 ตำแหน่ง จะเป็นรัฐมนตรีว่าการ หรือรัฐมนตรีช่วย ทางใดทางหนึ่งยังไม่ชัดเจน คิดว่านายกฯคงหารือกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เมื่อถามว่ากระทรวงด้านสังคม จุดไหนควรเพิ่ม หรือควรปรับ นายไพบูลย์ กล่าวว่า ขณะนี้นายกฯได้พิจารณากับกระทรวงที่เกี่ยวข้องอยู่
ผู้สื่อข่าวถามว่า รมต.ด้านสังคมงานจะล้นมือเกินไปหรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า เท่าที่ดูแลอยู่ด้านหลักๆรัฐมนตรีที่ดูแลอยู่ก็ดีแล้ว แม้งานจะมีมากแต่ก็ทำกันอย่างเต็มที่ ซึ่งตนที่รับผิดชอบด้านนี้ก็พยายามสนับสนุนเป็นพิเศษเพื่อให้งานเดินได้เร็ว การสนับสนุนทั้งภาครัฐและอื่นๆด้วย เมื่อถามว่าที่ต้องเพิ่มเพราะ รมต.ทำงานไม่เอาไหนหรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า การจะเพิ่มให้นายกรัฐมนตรีหารือกระทรวงที่เกี่ยวข้องก่อน เช่น กระทรวงเกษตรฯ มีปัญหาหนี้สินเกษตร ซึ่งมีคณะกรรมการอำนวยการเรื่องนี้อยู่ โดยตนเป็นประธาน ซึ่งตนจะเร่งดูเรื่องนี้ โดยเชิญกลุ่มที่เกี่ยวข้องมาหารือรวมทั้งลงไปพบทุกฝ่ายในพื้นที่ด้วย วิธีนี้เป็นการสนับสนุนงานของกระทรวงเกษตรทางหนึ่งด้วย
**"ธีระ"อยากได้รมช.ดูปัญหาหนี้
นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรี จะเพิ่มรัฐมนตรีด้านสังคมอีก 1 ตำแหน่งว่า นายกฯยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่า กระทรวงใดมีงานมาก จำเป็นต้องเพิ่มรัฐมนตรีช่วย คงแล้วแต่ดุลยพินิจของท่าน ตนไม่ได้แจ้งความประสงค์ขอให้นายกฯแต่งตั้งรมช.เกษตรฯ แต่มีสื่อมวลชนบางส่วนให้ความเห็นว่า กระทรวงเกษตรฯ น่าจะมีคนเข้ามาช่วยงานดูแลทางด้านหนี้สินเกษตรกรโดยตรง
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ ขอให้เป็นดุลยพินิจของนายกฯดีกว่า ตนคงไม่ร้องขอ เพราะกระทรวงฯก็พยายามเร่งรัดการทำงาน โดยขณะนี้แบ่งงานออกเป็น 2 ส่วนคือ ปัญหาเฉพาะหน้าที่พยายามประสานกับกระทรวงพาณิชย์ และต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร ซึ่งบ้านเมืองเราไม่มีเจ้าภาพจริงจังในการแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้าการเกษตร
"หากท่านนายกฯ จะส่งใครเข้ามาช่วยดูแลงานในเรื่องหนี้สินเกษตรกร และการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรโดยตรง ผมก็ต้องขอขอบคุณ และไม่ว่าจะเป็นใครเข้ามาเป็นรมช.เกษตรฯ ผมก็พร้อมทำงานร่วมได้ ไม่น่ามีปัญหาอะไร ส่วนตัวไม่ได้มองใครเอาไว้ในใจ เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับนายกฯ"รมว.เกษตรฯ กล่าว
เมื่อถามว่า จะแก้ไขปัญหาม็อบเกษตรกรที่เคลื่อนไหวในช่วงนี้ เพราะนายกฯ ต้องการเร่งรัดให้แก้ไข นายธีระ กล่าวว่า เป็นส่วนที่เราพยายามเร่งรัด โดยฐานในการแก้ปัญหาส่วนนี้ คือ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งขาดช่วง ต้องมีการเร่งจัดการเลือกตั้งกรรมการในสัดส่วนตัวแทนเกษตรกรที่หมดวาระไป ในวันที่ 3 มิ.ย. เปิดรับสมัคร 23-27เม.ย.นี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะทำความเข้าใจกับม็อบเกษตรกรอย่างไร เพราะอาจจะมีการปลุกระดมให้มาร่วมเคลื่อนไหวกับม็อบการเมืองต่างๆ ด้วย รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า ตนมองว่าเกษตรกรไม่น่าจะเคลื่อนไหวอะไรมาก เพราะตอนนี้อยู่ในช่วงองค์กรเกษตรกรทั้งหลายต้องเตรียมหาเสียงเลือกตั้งเป็นตัวแทนเกษตรกรในช่วงเดือน พ.ค.
เมื่อถามว่า หากแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรไม่ได้ เตรียมรับมือสถานการณ์การเมืองที่จะรุนแรงขึ้นอย่างไร นายธีระ กล่าวว่า การแก้ปัญหาเกษตรกรไม่ใช่ทำได้ในวันสองวันหรือ 1-2 ปี แต่เรื้อรังมาเป็นสิบปีผ่านมาหลายรัฐบาล
**"วอร์รูม"จัดรัฐมนตรีลงพื้นที่
นายประสาร มฤคพิทักษ์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาพันธ์ในประเทศ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตและการประชาสัมพันธ์เชิงรุก (วอร์รูม)ว่านายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการได้แถลงต่อที่ประชุมว่า คณะรัฐมนตรีได้มีความเห็นร่วมกันว่า เพื่อให้เกิดบรรยากาศความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้ง ครม.,คมช.,สนช.,ส.ส.ร., คตส.และ กกต.จึงควรจะมีการประชุมร่วมกันให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดเอกภาพในการทำงานร่วมกัน
ส่วนการทำงานตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผลักดันผลงานออกมาหลายเรื่อง รวมทั้งร่างกฎหมายสำคัญๆ เพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับประเทศ เช่น ร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการป้องกันการคอร์รัปชั่น ป้องกันการแทรกแซงองค์กรอิสระ ร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และ อื่นๆ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของส่วนต่างๆ และจะเข้าสู่สภาได้เร็วๆ นี้
นายธีรภัทร์ แจ้งด้วยว่า ขณะนี้นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งแบ่งหน้าที่การลงพื้นที่ในแต่ละกลุ่มจังหวัดให้แก่รัฐมนตรีทุกคน เพื่อช่วยกันสร้างความเข้าใจกับประชาชน ในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการอยู่ดีมีสุข รวมทั้งรับทราบข้อเสนอแนะและข้อเรียกร้องด้านต่างๆ ของประชาชนในแต่ละพื้นที่อย่างทั่วถึง ซึ่งการลงพื้นที่ จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพ.ค.เป็นต้นไป โดยรัฐมนตรีแต่ละท่าน จะกำหนดตารางเวลาการลงพื้นที่ของท่านต่อไป
สำหรับการประชุมโดยภาพรวมนั้น มีข้อสรุปที่สำคัญ คือ การนำผลงานรัฐบาลด้านต่างๆ รวมทั้งร่างกฎหมายที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ นำเสนอให้ประชาชนรับทราบ อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ นายสุรพงษ์ ชัยนาม ประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ระหว่างวันที่ 17-26 พ.ค.นี้ จะเดินทางไปยังประเทศสหพันธรัฐเยอรมันนี และสหราชอาณาจักร ร่วมกับคณะผู้ทรงคุณวุฒิ 1. นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักวิชาการอิสระ 2. นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตส.ว. 3. นายสุรสีห์ โกศลนาวิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 4. ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ 5. รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 6. ผ.ศ.สุรัตน์ โหราชัยกุล ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อพบปะทำความเข้าใจกับนักเรียนไทย ชุมชนคนไทย และผู้สนใจในประเทศนั้นๆ ในหัวข้อ พัฒนาการเมืองและประชาธิปไตยของไทยหลังการรัฐประหาร 19 ก.ย.49 รวมทั้งการปฏิรูปการเมือง การส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศ และทิศทางของประเทศไทยในอนาคต ในรูปแบบการอภิปราย และการตอบคำถาม