"โฆสิต"แจงปัญหากฎหมายฯ ทำกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสะดุด โยน"ประสิทธิ์"ดูข้อกฎหมาย พร้อมรอ รมว.เกษตรฯ จัดเลือกตั้งผู้แทนฯที่หมดวาระ ก่อนเรียกประชุมกรรมการชุดใหญ่ ด้าน “สภาเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย”ออกแถลงการณ์ แฉหน่วยงานรัฐ ซื้อหนี้เลือกปฏิบัติ กระตุ้นนายกฯเรียกประชุมเลือกรรมการที่หมดวาระด่วน
วันนี้(26 ก.พ.)สภาเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย (สค.ปท.)พร้อมด้วยเครือข่ายเกษตรกร 10 จังหวัดภาคกลาง และสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประมาณ 300 คน เดินทางมาชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาหนี้สิน
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กล่าวว่า รัฐบาลพยายามจะดำเนินการตามมติ ครม.ให้เต็มที่ ส่วนข้อเสนอให้มีการเปิดการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรที่ยังมีปัญหาข้อกฎหมายนั้น ตนได้ให้นายประสิทธิ์ โฆวิลัยกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้ามาดูข้อกฎหมายที่มีปัญหา เพราะผู้แทนเกษตรกรหมดวาระลงแล้วเมื่อกลางเดือนก.พ.ที่ผ่านมา
“ถ้าการทำงานตามมติ ครม. ก็กำลังทำอยู่ ส่วนการเรียกประชุมฯ ยังไม่สามารถทำได้ ต้องให้รมว.เกษตรฯเป็นผู้จัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรก่อน เพราะใน พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.2542 ระบุว่าจะต้องเลือกตั้งก่อน ส่วนที่เกษตรกรมองว่ารัฐบาล เลือกปฏิบัติในการซื้อหนี้ ผมไม่ทราบ เพราะผมก็พยายามเต็มที่แล้ว เท่าที่ผมจะทำได้"นายโฆสิต กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 12.00 น. ทาง สค.ปท.ประกอบด้วย สมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯลำนารายณ์ จ.ลพบุรี จ.เพชรบุรี และ จ.มหาสารคาม ฯลฯ ได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 ในหัวข้อ"เร่งแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกรพิสูจน์รัฐบาลเศรษฐกิจพอเพียง" เรียกร้องนายกรัฐมนตรี 4 ข้อ ประกอบด้วย 1.ให้รัฐบาลสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติ ครม.วันที่ 16 ม.ค.50 ที่ได้เร่งรัดและให้นโยบายการแก้ไขปัญหาและแนวทางตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ที่ได้วางกรอบระเบียบไว้ เนื่องจากที่ผ่านมาเกิดปัญหาที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. อีกทั้งยังพบว่ามีการซื้อหนี้ที่เลือกปฏิบัติ การซื้อหนี้ที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในบางจังหวัด อีกทั้งมีความล่าช้าในการซื้อหนี้
2.ให้นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานกองทุนฟื้นฟูฯ โดยตำแหน่ง เรียกประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องผู้แทนเกษตรกรที่หมดวาระลง แต่ไม่สามารถกำหนดวันเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรทั้งระบบ 3.ให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล การดำเนินการกองทุนฟื้นฟูฯ โดยให้เป็นไปตามกระบวนการมีส่วนร่วม และ 4. สำหรับการแก้ไขหนี้สินเกษตรกรของ สค.ปท. ให้ดำเนินการดังนี้
"กรณีหนี้เร่งด่วนที่ขึ้นทะเบียนและผ่านการตรวจสอบแล้วให้กองทุนฟื้นฟูฯ ซื้อหนี้ภายในเดือนเม.ย.50 กรณีหนี้เอ็นพีแอล ที่ขึ้นทะเบียนและผ่านการตรวจสอบแล้วทุกรอบให้กองทุนฟื้นฟูฯ ซื้อหนี้ภายในเดือนมิ.ย.50 กรณีหนี้ปกติ ที่ขึ้นทะเบียนไว้และผ่านการตรวจสอบแล้วทุกรอบ ให้กองทุนฟื้นฟูฯ ซื้อหนี้ภายในเดือนส.ค.50"
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ก่อนหน้านั้นในวันที่ 9 และวันที่ 16 ม.ค.50 นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการด่วนในที่ประชุม ครม.ให้นายโฆสิต ในฐานะประธานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เร่งดำเนินการเกี่ยวกับหนี้สินของเกษตรกรให้รวดเร็ว โดยเฉพาะปัญหาที่เกษตรกรทั่วประเทศเตรียมบุกเข้ากทม. แต่กลับมีความล่าช้ากว่า 1 เดือน โดยเฉพาะกรณีที่ นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และพล.อ.สะพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วย ผบ.ทบ.ได้ไปรับปากว่าจะดำเนินการซื้อหนี้ให้เสร็จในวันที่ 30 ม.ค.50
วันนี้(26 ก.พ.)สภาเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย (สค.ปท.)พร้อมด้วยเครือข่ายเกษตรกร 10 จังหวัดภาคกลาง และสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประมาณ 300 คน เดินทางมาชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาหนี้สิน
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กล่าวว่า รัฐบาลพยายามจะดำเนินการตามมติ ครม.ให้เต็มที่ ส่วนข้อเสนอให้มีการเปิดการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรที่ยังมีปัญหาข้อกฎหมายนั้น ตนได้ให้นายประสิทธิ์ โฆวิลัยกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้ามาดูข้อกฎหมายที่มีปัญหา เพราะผู้แทนเกษตรกรหมดวาระลงแล้วเมื่อกลางเดือนก.พ.ที่ผ่านมา
“ถ้าการทำงานตามมติ ครม. ก็กำลังทำอยู่ ส่วนการเรียกประชุมฯ ยังไม่สามารถทำได้ ต้องให้รมว.เกษตรฯเป็นผู้จัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรก่อน เพราะใน พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.2542 ระบุว่าจะต้องเลือกตั้งก่อน ส่วนที่เกษตรกรมองว่ารัฐบาล เลือกปฏิบัติในการซื้อหนี้ ผมไม่ทราบ เพราะผมก็พยายามเต็มที่แล้ว เท่าที่ผมจะทำได้"นายโฆสิต กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 12.00 น. ทาง สค.ปท.ประกอบด้วย สมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯลำนารายณ์ จ.ลพบุรี จ.เพชรบุรี และ จ.มหาสารคาม ฯลฯ ได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 ในหัวข้อ"เร่งแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกรพิสูจน์รัฐบาลเศรษฐกิจพอเพียง" เรียกร้องนายกรัฐมนตรี 4 ข้อ ประกอบด้วย 1.ให้รัฐบาลสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติ ครม.วันที่ 16 ม.ค.50 ที่ได้เร่งรัดและให้นโยบายการแก้ไขปัญหาและแนวทางตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ที่ได้วางกรอบระเบียบไว้ เนื่องจากที่ผ่านมาเกิดปัญหาที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. อีกทั้งยังพบว่ามีการซื้อหนี้ที่เลือกปฏิบัติ การซื้อหนี้ที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในบางจังหวัด อีกทั้งมีความล่าช้าในการซื้อหนี้
2.ให้นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานกองทุนฟื้นฟูฯ โดยตำแหน่ง เรียกประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องผู้แทนเกษตรกรที่หมดวาระลง แต่ไม่สามารถกำหนดวันเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรทั้งระบบ 3.ให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล การดำเนินการกองทุนฟื้นฟูฯ โดยให้เป็นไปตามกระบวนการมีส่วนร่วม และ 4. สำหรับการแก้ไขหนี้สินเกษตรกรของ สค.ปท. ให้ดำเนินการดังนี้
"กรณีหนี้เร่งด่วนที่ขึ้นทะเบียนและผ่านการตรวจสอบแล้วให้กองทุนฟื้นฟูฯ ซื้อหนี้ภายในเดือนเม.ย.50 กรณีหนี้เอ็นพีแอล ที่ขึ้นทะเบียนและผ่านการตรวจสอบแล้วทุกรอบให้กองทุนฟื้นฟูฯ ซื้อหนี้ภายในเดือนมิ.ย.50 กรณีหนี้ปกติ ที่ขึ้นทะเบียนไว้และผ่านการตรวจสอบแล้วทุกรอบ ให้กองทุนฟื้นฟูฯ ซื้อหนี้ภายในเดือนส.ค.50"
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ก่อนหน้านั้นในวันที่ 9 และวันที่ 16 ม.ค.50 นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการด่วนในที่ประชุม ครม.ให้นายโฆสิต ในฐานะประธานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เร่งดำเนินการเกี่ยวกับหนี้สินของเกษตรกรให้รวดเร็ว โดยเฉพาะปัญหาที่เกษตรกรทั่วประเทศเตรียมบุกเข้ากทม. แต่กลับมีความล่าช้ากว่า 1 เดือน โดยเฉพาะกรณีที่ นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และพล.อ.สะพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วย ผบ.ทบ.ได้ไปรับปากว่าจะดำเนินการซื้อหนี้ให้เสร็จในวันที่ 30 ม.ค.50