สธ.เตรียมเล็งบังคับใช้สิทธิผลิตยาเอดส์-มะเร็ง-ปฏิชีวนะ-หลอดเลือดและไขมัน-ชัก รวมกว่า 10 ตัว เป็นคิวต่อไป ชี้รัฐบังคับใช้สิทธิเป็นกลไกเพิ่มอำนาจการต่อรองราคายาให้ประสบผลสำเร็จ ขณะที่ ็หมอมงคลิ ลั่นหากบริษัทยาไม่ยอมเจรจาลดราคาก็ต้องบังคับใช้สิทธิแน่
แหล่งข่าวระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการบังคับใช้สิทธิผลิตยาที่ติดสิทธิบัตรของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ว่า น.พ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามในหนังสือของกระทรวงสาธารณสุขเลขที่ สธ.0100/417 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550 เสนอถึงพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้อมูลความจริงเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ ของกระทรวงสาธารณสุข มีข้อมูลที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก
กล่าวคือเอกสารแนบหมายเลข 7 ที่ส่งไปให้นายกรัฐมนตรีด้วยนั้น ได้ระบุว่า คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อเจรจาต่อรองราคายาที่มีสิทธิบัตรทีที่มีเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นประธาน ได้ศึกษาและสืบค้นข้อมูลยา เกี่ยวกับโครงสร้างและการกำหนดราคายาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยในเบื้องต้นได้หยิบยกยาต้านไวรัสเอชไอวี 2 ชนิดมาพิจารณาต่อรองราคา คือ ยาแอฟฟาไวเรนซ์ จากบริษัท เมิร์ก ชาร์ป แอนด์ โดม จำกัดและ ยาคาเรตตร้า จากบริษัท แอ็บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด ซึ่งสองชนิดดังกล่าวได้บังคับใช้สิทธิไปแล้ว
นอกจากนี้ คณะทำงานยังระบุถึงยาต้านไวรัสชนิดต่อไปที่ผู้ป่วยยังมีความจำเป็นในการเข้าถึงมากแต่มีราคาแพง คือ ยาต้านไวรัสเอดส์ เอทาซานาเวียร์ ของบริษัทบริสตอล ไมเยอร์ สควิบบ์
เอกสารระบุด้วยว่า นอกจากการเจรจากับบริษัทยาในเบื้องต้นไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้รับความร่วมมือจากบริษัทยา คณะทำงานฯจึงยังไม่มีโอกาสดำเนินการเจรจาต่อรองราคาอย่างจริงจัง คณะทำงานฯจึงพิจารณาว่า การเจรจาต่อรองโดยใช้ มาตรการบังคับใช้สิทธิยังเป็นวิธีในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาหนึ่งที่ดี นอกเหนือจากการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิโดยตรง ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงยาของประชาชน และเป็นการหาทางออกร่วมกันระหว่างภาคเอกชนที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตร โดยหากพยายามใช้กลไกนี้อย่างพอเพียง เต็มที่ อาจได้แก้ไขปัญหาการเข้าถึงยาได้ และอำนาจการต่อรองที่สำคัญของรัฐ คือการบังคับใช้สิทธิโดยรัฐ ซึ่งหากมีการนำมาตรการดังกล่าวมาใช้แล้วจะทำให้การเจรจาต่อรองเกิดผลอย่างจริงจัง
ทั้งนี้คณะทำงานฯได้เสนอรายชื่อยาที่มีความจำเป็นต่อการเข้าถึงของประชาชน แต่มีราคาแพง และมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงได้นอกจากยาต้าน ไวรัส เอทาซานาเวียร์แล้ว ยังมียาอีก 4 กลุ่ม 1 ยากลุ่มรักษาโรคมะเร็ง ได้แก่ ริทูกซิแม็บ(Rituximab) จากบริษัท จีนีเทค , อินนาทินิบ(Inafinib) จากบริษัท โนวาตีส ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งในเม็ดเลือดหรือลูคีเมีย , จีฟิทินิบ (Gefitinib) จากบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า , บีเวซูแม็บ (Bevaeizumab) จากบริษัทเจเนนเทค นอกจากนี้ยังมีกลุ่มยาปฏิชีวนะอีกได้แก่ เมโรเพนเนม(Meropenam) จากบริษัทแอสตร้าเซเนก้า ,อิมมิพิแนม(Imipnam) จากบริษัทเมิร์ก ชาร์ป แอนด์ โดม หรือเอ็มเอสดี และกลุ่มยารักษาโรคหลอดเลือดหัวใจและไขมันในเส้นเลือด ได้แก่ มาทรอวาสตาติน ช่วยลดระดับคอลเรสเตอรอลที่ไม่ดี จากบริษัทไฟเซอร์ ,แอมโลดิพิม (Amlodipim) จากบริษัทไฟเซอร์ จำกัด , ฟิโลดิปีน( Fedipine) จากบริษัท แอสตร้าเซเนก้า กลุ่มยารักษาโรคอาการชักได้แก่ แคบาเพนติน (Gabapentin) จากบริษัทไฟเซอร์
ด้านนพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า คณะทำงานฯเคยนำเสนอรายชื่อยาที่มีความจำเป็นมายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมาหลายรัฐบาลแล้ว แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สธ. มีความจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาการเข้าถึงยา ซึ่งการบังคับใช้สิทธิมิได้มุ่งในการลดราคายาเพียงอย่างเดียว แต่เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาได้มากขึ้นมากกว่า โดยที่ผ่านมาบริษัทยาไม่ยอมเจรจาต่อรองลดราคา แต่เมื่อมีการประกาศบังคับใช้สิทธิผลิตยาแล้ว ทำให้บริษัทมีท่าทีในการเจรจาที่จะสามารถลดราคายาลง ทั้งนี้จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อดูแลรับผิดชอบในการเจรจากับยาแต่ละชนิด
“ไม่ว่าจะเป็นยาต้านไวรัสเอดส์ หรือยามะเร็ง ล้วนมีใช้ค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่ผู้ป่วยเข้าไม่ถึงยาและต้องเสียชีวิตไป เพราะยามีราคาแพง ซึ่งในระยะยาวจำเป็นต้องหาทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งยากลุ่มอื่นก็จะดำเนินการเช่นเดียวกันกับยา 3 ชนิดที่ประกาศไปแล้ว หรือหากบริษัทยายินยอมเจรจาและลดราคาก็จะเป็นอีกหนทางหนึ่งในการให้ประชาชนเข้าถึงยา แทนการบังคับใช้สิทธิผลิตยาโดยรัฐ” นพ.มงคล กล่าว
ขณะที่ ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ อาจารย์ประจำหน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว่า หากบริษัทยาไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเอาเปรียบในด้านธุรกิจ ทั้งการข่มขู่รายวัน การประท้วง การให้ข้อมูลผิดๆว่า สธ.ดำเนินการผิดกฎหมาย โดยที่ไม่ยอมเจรจาต่อรองลดราคาเหมือนในอดีต จึงขอสนับสนุนให้สธ.ดำเนินการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิต่อไป ซึ่งก็เป็นหนทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงยาของผู้ป่วย
“จากข้อมูลเปรียบเทียบค่าครองชีพของสหรัฐอเมริกากับประเทศไทยพบว่า สูงกว่าไทยถึง 26 เท่า แต่ในส่วนของยา สูงกว่าไทย เพียง 2 เท่า หากคุณวิจัยยาได้ก็ขอชื่นชม แต่ทำยามาแล้วตั้งไว้บนหิ้ง และผู้ป่วยที่ยากจนไม่สามารถเข้าถึงได้ต้องตายไป เพราะไม่มีเงินซื้อยา”ภญ.จิราพร กล่าว
แหล่งข่าวระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการบังคับใช้สิทธิผลิตยาที่ติดสิทธิบัตรของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ว่า น.พ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามในหนังสือของกระทรวงสาธารณสุขเลขที่ สธ.0100/417 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550 เสนอถึงพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้อมูลความจริงเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ ของกระทรวงสาธารณสุข มีข้อมูลที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก
กล่าวคือเอกสารแนบหมายเลข 7 ที่ส่งไปให้นายกรัฐมนตรีด้วยนั้น ได้ระบุว่า คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อเจรจาต่อรองราคายาที่มีสิทธิบัตรทีที่มีเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นประธาน ได้ศึกษาและสืบค้นข้อมูลยา เกี่ยวกับโครงสร้างและการกำหนดราคายาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยในเบื้องต้นได้หยิบยกยาต้านไวรัสเอชไอวี 2 ชนิดมาพิจารณาต่อรองราคา คือ ยาแอฟฟาไวเรนซ์ จากบริษัท เมิร์ก ชาร์ป แอนด์ โดม จำกัดและ ยาคาเรตตร้า จากบริษัท แอ็บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด ซึ่งสองชนิดดังกล่าวได้บังคับใช้สิทธิไปแล้ว
นอกจากนี้ คณะทำงานยังระบุถึงยาต้านไวรัสชนิดต่อไปที่ผู้ป่วยยังมีความจำเป็นในการเข้าถึงมากแต่มีราคาแพง คือ ยาต้านไวรัสเอดส์ เอทาซานาเวียร์ ของบริษัทบริสตอล ไมเยอร์ สควิบบ์
เอกสารระบุด้วยว่า นอกจากการเจรจากับบริษัทยาในเบื้องต้นไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้รับความร่วมมือจากบริษัทยา คณะทำงานฯจึงยังไม่มีโอกาสดำเนินการเจรจาต่อรองราคาอย่างจริงจัง คณะทำงานฯจึงพิจารณาว่า การเจรจาต่อรองโดยใช้ มาตรการบังคับใช้สิทธิยังเป็นวิธีในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาหนึ่งที่ดี นอกเหนือจากการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิโดยตรง ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงยาของประชาชน และเป็นการหาทางออกร่วมกันระหว่างภาคเอกชนที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตร โดยหากพยายามใช้กลไกนี้อย่างพอเพียง เต็มที่ อาจได้แก้ไขปัญหาการเข้าถึงยาได้ และอำนาจการต่อรองที่สำคัญของรัฐ คือการบังคับใช้สิทธิโดยรัฐ ซึ่งหากมีการนำมาตรการดังกล่าวมาใช้แล้วจะทำให้การเจรจาต่อรองเกิดผลอย่างจริงจัง
ทั้งนี้คณะทำงานฯได้เสนอรายชื่อยาที่มีความจำเป็นต่อการเข้าถึงของประชาชน แต่มีราคาแพง และมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงได้นอกจากยาต้าน ไวรัส เอทาซานาเวียร์แล้ว ยังมียาอีก 4 กลุ่ม 1 ยากลุ่มรักษาโรคมะเร็ง ได้แก่ ริทูกซิแม็บ(Rituximab) จากบริษัท จีนีเทค , อินนาทินิบ(Inafinib) จากบริษัท โนวาตีส ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งในเม็ดเลือดหรือลูคีเมีย , จีฟิทินิบ (Gefitinib) จากบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า , บีเวซูแม็บ (Bevaeizumab) จากบริษัทเจเนนเทค นอกจากนี้ยังมีกลุ่มยาปฏิชีวนะอีกได้แก่ เมโรเพนเนม(Meropenam) จากบริษัทแอสตร้าเซเนก้า ,อิมมิพิแนม(Imipnam) จากบริษัทเมิร์ก ชาร์ป แอนด์ โดม หรือเอ็มเอสดี และกลุ่มยารักษาโรคหลอดเลือดหัวใจและไขมันในเส้นเลือด ได้แก่ มาทรอวาสตาติน ช่วยลดระดับคอลเรสเตอรอลที่ไม่ดี จากบริษัทไฟเซอร์ ,แอมโลดิพิม (Amlodipim) จากบริษัทไฟเซอร์ จำกัด , ฟิโลดิปีน( Fedipine) จากบริษัท แอสตร้าเซเนก้า กลุ่มยารักษาโรคอาการชักได้แก่ แคบาเพนติน (Gabapentin) จากบริษัทไฟเซอร์
ด้านนพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า คณะทำงานฯเคยนำเสนอรายชื่อยาที่มีความจำเป็นมายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมาหลายรัฐบาลแล้ว แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สธ. มีความจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาการเข้าถึงยา ซึ่งการบังคับใช้สิทธิมิได้มุ่งในการลดราคายาเพียงอย่างเดียว แต่เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาได้มากขึ้นมากกว่า โดยที่ผ่านมาบริษัทยาไม่ยอมเจรจาต่อรองลดราคา แต่เมื่อมีการประกาศบังคับใช้สิทธิผลิตยาแล้ว ทำให้บริษัทมีท่าทีในการเจรจาที่จะสามารถลดราคายาลง ทั้งนี้จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อดูแลรับผิดชอบในการเจรจากับยาแต่ละชนิด
“ไม่ว่าจะเป็นยาต้านไวรัสเอดส์ หรือยามะเร็ง ล้วนมีใช้ค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่ผู้ป่วยเข้าไม่ถึงยาและต้องเสียชีวิตไป เพราะยามีราคาแพง ซึ่งในระยะยาวจำเป็นต้องหาทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งยากลุ่มอื่นก็จะดำเนินการเช่นเดียวกันกับยา 3 ชนิดที่ประกาศไปแล้ว หรือหากบริษัทยายินยอมเจรจาและลดราคาก็จะเป็นอีกหนทางหนึ่งในการให้ประชาชนเข้าถึงยา แทนการบังคับใช้สิทธิผลิตยาโดยรัฐ” นพ.มงคล กล่าว
ขณะที่ ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ อาจารย์ประจำหน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว่า หากบริษัทยาไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเอาเปรียบในด้านธุรกิจ ทั้งการข่มขู่รายวัน การประท้วง การให้ข้อมูลผิดๆว่า สธ.ดำเนินการผิดกฎหมาย โดยที่ไม่ยอมเจรจาต่อรองลดราคาเหมือนในอดีต จึงขอสนับสนุนให้สธ.ดำเนินการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิต่อไป ซึ่งก็เป็นหนทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงยาของผู้ป่วย
“จากข้อมูลเปรียบเทียบค่าครองชีพของสหรัฐอเมริกากับประเทศไทยพบว่า สูงกว่าไทยถึง 26 เท่า แต่ในส่วนของยา สูงกว่าไทย เพียง 2 เท่า หากคุณวิจัยยาได้ก็ขอชื่นชม แต่ทำยามาแล้วตั้งไว้บนหิ้ง และผู้ป่วยที่ยากจนไม่สามารถเข้าถึงได้ต้องตายไป เพราะไม่มีเงินซื้อยา”ภญ.จิราพร กล่าว