ค้าปลีกยักษ์เทศออกอาการ “มันก็ยังงงๆ” กับมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ ที่ให้ค้าปลีกเสนอแผนธุรกิจขยายสาขาให้พิจารณาทุกไตรมาส จะออกมาในรูปแบบใด ครอบคลุมถึงค้าปลีกประเภทใดบ้าง เผยบางรายยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นทางการ ดิสเคานต์สโตร์ดาหน้าผุดสาขาเป็นว่าเล่น
วินาทีนี้ดูเหมือนว่า กระแสต่อต้านทุนค้าปลีกยักษ์ใหญ่ข้ามชาติจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด จะมีความร้อนแรงมากกว่าในกรุงเทพฯ ทุนท้องถิ่นมีการรวมตัวเพื่อต่อต้านและป้องกันตลาดพื้นเพของตัวเองในแต่ละพื้นที่อย่างเข้มข้น
ขณะที่ทางภาครัฐโดยกระทรวงพาณิชย์ ก็มีการตื่นตัว ในช่วงนี้มากเหลือเกิน กับการพยายามออกมาตรการและการพยายามปัดฝุ่น พระราชบัญญัติต่างๆตลอดจนการศึกษาหามาตรการใหม่ๆที่จะมาควบคุมค้าปลีกยักษ์ข้ามชาติเหล่านี้
อันที่จริงแล้ว ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่มีการแก้ไขกันมาตลอด แต่สุดท้ายก็เป็นเรื่องที่ เงียบหายเข้ากลีบเมฆ ไม่มีมาตรการอะไรที่ออกมาต่อเนื่องจากภาครัฐ ที่ทำให้เอกชนทุนท้องถิ่นพอใจชื้นขึ้นมาได้บ้าง และก็เกรงว่า ความเคลื่อนไหวของภาครัฐครั้งนี้เป็นเพียงแค่การสร้างคะแนนนิยมหรือไม่
ล่าสุด ภาครัฐโดยกระทรวงพาณิชย์ มีแนวคิดที่จะบังคับให้ ค้าปลีกโมเดิร์นเทรดต่างๆ ต้องเสนอแผนการลงทุน ขยายธุรกิจและแผนการตลาดให้กับกระทรวงพาณิชย์พิจารณารายละเอียดทุกไตรมาส โดยจะให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นมาตรการที่ถือได้ว่า ดีหากทำได้จริง แต่ในภาพความเป็นจริงแล้วมันจะเป็นไปได้หรือไม่ เพราะการเปิดเผยแผนธุรกิจนั้นหมายถึง การเปิดความลับของตัวเองให้ผู้อื่นได้รับรู้ ซึ่งมองในเชิงการแข่งขันแล้ว แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
มึนงงภาครัฐจะทำยังไง
อย่างไรก็ตามขณะนี้โมเดิร์นเทรดหลายรายต่างก็ยังสับสนว่า มาตรการนี้จะออกมาในรูปแบบใด เพราะยังไม่มีความชัดเจนและรายละเอียดเลย เพราะล่าสุดบางรายก็ได้รับแฟ็กซ์ แจ้งจากทางภาครัฐแล้ว แต่ก็ไม่มีรายละเอียดเช่นกัน ว่า ผู้ประกอบการใดบ้างที่เข้าข่ายต้องเปิดเผยแผน เฉพาะดิสเคานต์สโตร์อย่างเดียวหรือรวมถึง คอนวีเนียนสโตร์ และซูเปอร์มาร์เก็ตด้วยหรือไม่ และการเปิดเผยนั้นต้องให้ข้อมูลมากน้อยเท่าใด และที่สำคัญยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดได้รับหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการเลย
อีกทั้งบางรายก็ยังไม่ได้รับการแจ้งเป็นหนังสือหรือแฟ็กซ์ด้วยซ้ำไป
นางสาวจริยา จิราธิวัฒน์ ผู้บริหารของบิ๊กซี กล่าวเมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้วว่า "เรายังไม่ได้รับจดหมายจากทางกระทรวงฯ แต่เราก็พร้อมให้ความร่วมมือกับทางราชการอยู่แล้ว เพราะปกติแล้วเราจะมีการแถลงผลประกอบการกับผู้ถือหุ้นทุกไตรมาสอยู่แล้ว เพื่อระดมทุนมาใช้ในการขยายสาขาเพราะเราเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ การดำเนินธุรกิจจึงต้องเปิดเผย"
ขณะที่ทางคาร์ฟูร์ประเทศไทยก็เช่นกัน โดยผู้บริหารรายหนึ่งบอกว่า ได้รับแจ้งเป็นแฟ็กซ์จากภาครัฐ แต่ก็ยังไม่รู้ถึงรายละเอียดแนวทางการปฎิบัติ แต่ถ้าจะให้เปิดเผยข้อมูลอย่างละเอียดคงต้องมีการพิจารณากันอีกครั้ง ยังไม่สามารถตอบได้เวลานี้ แต่คาร์ฟูร์เองก็พร้อมที่จะทำตามข้อกำหนดต่างๆที่เหมาะสมเพราะเราทำธุรกิจอยู่ในประเทศไทย
ยักษ์ใหญ่อย่าง เทสโก้โลตัส นั้น นายเจฟฟ์ อดัมส์ ประธานกรรมการบริหาร เทสโก้ โลตัส ประเทศไทย กล่าวว่า ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นทางการจากกระทรวงพาณิชย์แต่อย่างใด พร้อมกล่าวให้ความเห็นด้วยว่า คงจะต้องนำเรื่องนี้เข้าประชุมในสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เพราะเป็นตัวกลางของผู้ประกอบการเพื่อหาข้อสรุปอีกครั้ง
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 6 กันยายนนี้ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย มีวาระที่จะเปิดตัว ประธานสมาคมฯ คนใหม่คือ นายธนภณ ตังคณานันท์ แทนนายลิขิต ฟ้าปโยชนม์ ซึ่งครบวาระตำแหน่งแล้ว ซึ่งนายธนภณนี้ในอดีตก็เป็นผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจของคาร์ฟูร์ ดังนั้นการที่นายกสมาคมฯคนใหม่ที่เคยบริหารในโมเดิร์นเทรดข้ามชาติมาแล้ว จึงน่าที่จะมีมุมมองที่ใกล้เคียงและเข้าถึงโมเดิร์นเทรดด้วยกันได้ดี จึงเป็นที่น่าจับตาอีกประเด็นหนึ่ง
เทสโก้โลตัส เดินหน้าชน
เทสโก้โลตัสเป็นค่ายที่จะถูกต่อต้านมากที่สุด แม้ว่าค่ายอื่นจะขยายตัวด้วยก็ตาม เพราะเทสโก้โลตัสแตกต่างจากค่ายอื่นที่ลงเล่นในตลาดทุกระดับ ทุกพื้นที่ ตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ และอนาคตแน่นอนว่าระดับตำบลก็คงไปถึง เพราะมีรูปแบบค้าปลีกที่หลากหลาย ทั้ง ซูเปอร์เซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ ตลาดโลตัส ร้านคุ้มค่า และเทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรส โดยเฉพาะมีเทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรส จะเป็นอาวุธที่สำคัญในการบุกทะลวงภูธรอย่างน่ากลัว เพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องพื้นที่ และระยะห่างของการเปิดจากเขตตัวเมือง แต่ขณะที่รูปแบบใหญ่ก็ไม่ได้ลดดีกรีการขยายตัวเลย
บรรยากาศในหลายจังหวัดจึงร้อนแรง เช่นกรณี ของ อ.ปักธงชัย ของ นครราชสีมา ที่มีประชาชนออกมาต่อต้านการเปิดสาขาของเทสโก้โลตัส หรือที่อ.แม่สอด จังหวัดตาก ก็มีภาคเอกชนคัดค้านและไม่ต้องการให้มาเปิดบนพื้นที่เดิมของห้างสยามพลาซ่า ถนนประสาทวิถี ที่ใกล้กับที่ว่าการอำเภอ
ทว่า การยิ่งห้ามโมเดิร์นเทรดเหล่านี้ ทีไร ก็เหมือนกับเป็นการยิ่งยุทีนั้นจริงๆ
คำกล่าวของนายเจฟฟ์ อดัมส์ ประธานของเทสโก้โลตัส สะท้อนได้ดีกับคำพูดที่ว่า การคัดค้านนั้นเป็นเพียงของกลุ่มคนรายย่อยเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเสียงทั้งหมดของผู้บริโภคที่แท้จริง พร้อมกับย้ำว่า การปิดกั้นเทสโก้โลตัสเสมือนกับเป็นการปิดกั้นทางเลือกที่อิสระในการจับจ่ายของผู้บริโภค
เทสโก้โลตัสยักษ์ใหญ่ที่สุด ไม่สนใจการควบคุม เพราะวางแผนที่จะเปิดสาขาในทุกรูปแบบเต็มที่ โดยกำหนดวงเงินในปีหน้าไว้สูงถึง 7,000 ล้านบาท ชนิดที่ค้าปลีกรายย่อยไทยหรือโชห่วย ต้องอ้าปากตาค้างไปตามๆกันกับเม็ดเงินมหาศาลนี้ โดยมีแผนที่จะเปิดรูปแบบซูเปอร์เซ็นเตอร์อีก ประมาณ 4-5 แห่ง ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมาได้เปิดสาขาแบบใหญ่ลำดับที่ 56 ที่บ้านฟ้าปิยรมย์-ลำลูกกา พื้นที่กว่า 15,000 ตารางเมตร
ส่วนรูปแบบร้านคุ้มค่าหรือแวลูสโตร์ก็จะเปิดอีกไม่ต่ำกว่า 2-3 แห่ง ตลาดโลตัสไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง ทว่าที่น่ากลัวคือ เทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรส ที่เตรียมเปิดใหม่อีก 100-150 แห่ง จากเดิมที่เวลานี้มีเปิดรูปแบบเอ็กซ์เพรสแล้วกว่า 150 แห่ง ส่วนใหญ่จะอยู่ในปั๊มน้ำมันเอสโซ่เป็นหลัก
ส่วนบิ๊กซีเองก็ใช่ย่อยเพราะได้ซุ่มออกตัว บิ๊กซีมินิ มาอาละวาดแล้ว เปิดโฉมสาขาแรกที่ปากซอยอุดมสุขในกรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นอาวุธหนึ่งในการเจาะเข้าตามย่านชุมชน เพื่อหลีกหนีข้อห้ามทางด้าน ขนาดพื้นที่ถูกภาครัฐกำหนด ส่วนสาขาขนาดใหญ่ก็ยังมองหาทำเลเพื่อขยายต่อไปไม่หยุดยั้ง
คาร์ฟูร์เตรียมงบประมาณปีนี้ไว้สูงถึง 3,000 ล้านบาท และเริ่มมอง
หาพื้นที่เพื่อเปิดสาขารูปแบบที่มีขนาดเล็กลงบ้างแล้วเหมือนกัน ซึ่งค่ายนี้โดยปรกติแล้วจะเปิดสาขาใหม่เฉลี่ย 2-3 สาขาต่อปี
มิพักต้องกล่าวถึงค้าปลีกรายใหญ่กลุ่มอื่นเช่น คอนวีเนียนสโตร์ ซูเปอร์มาร์เกต สเปเชียลตี้สโตร์ อย่างอื่น ที่ยังไม่มีใครฟันธงได้ว่า จะเข้าข่ายต้องส่งแผนธุรกิจขยายสาขาให้กับกระทรวงพาณิชย์ด้วยหรือไม่ เพราะแค่นี้บรรดาโชห่วยรายย่อยของไทยก็ผวาไปตามๆกันแล้ว
วินาทีนี้ดูเหมือนว่า กระแสต่อต้านทุนค้าปลีกยักษ์ใหญ่ข้ามชาติจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด จะมีความร้อนแรงมากกว่าในกรุงเทพฯ ทุนท้องถิ่นมีการรวมตัวเพื่อต่อต้านและป้องกันตลาดพื้นเพของตัวเองในแต่ละพื้นที่อย่างเข้มข้น
ขณะที่ทางภาครัฐโดยกระทรวงพาณิชย์ ก็มีการตื่นตัว ในช่วงนี้มากเหลือเกิน กับการพยายามออกมาตรการและการพยายามปัดฝุ่น พระราชบัญญัติต่างๆตลอดจนการศึกษาหามาตรการใหม่ๆที่จะมาควบคุมค้าปลีกยักษ์ข้ามชาติเหล่านี้
อันที่จริงแล้ว ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่มีการแก้ไขกันมาตลอด แต่สุดท้ายก็เป็นเรื่องที่ เงียบหายเข้ากลีบเมฆ ไม่มีมาตรการอะไรที่ออกมาต่อเนื่องจากภาครัฐ ที่ทำให้เอกชนทุนท้องถิ่นพอใจชื้นขึ้นมาได้บ้าง และก็เกรงว่า ความเคลื่อนไหวของภาครัฐครั้งนี้เป็นเพียงแค่การสร้างคะแนนนิยมหรือไม่
ล่าสุด ภาครัฐโดยกระทรวงพาณิชย์ มีแนวคิดที่จะบังคับให้ ค้าปลีกโมเดิร์นเทรดต่างๆ ต้องเสนอแผนการลงทุน ขยายธุรกิจและแผนการตลาดให้กับกระทรวงพาณิชย์พิจารณารายละเอียดทุกไตรมาส โดยจะให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นมาตรการที่ถือได้ว่า ดีหากทำได้จริง แต่ในภาพความเป็นจริงแล้วมันจะเป็นไปได้หรือไม่ เพราะการเปิดเผยแผนธุรกิจนั้นหมายถึง การเปิดความลับของตัวเองให้ผู้อื่นได้รับรู้ ซึ่งมองในเชิงการแข่งขันแล้ว แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
มึนงงภาครัฐจะทำยังไง
อย่างไรก็ตามขณะนี้โมเดิร์นเทรดหลายรายต่างก็ยังสับสนว่า มาตรการนี้จะออกมาในรูปแบบใด เพราะยังไม่มีความชัดเจนและรายละเอียดเลย เพราะล่าสุดบางรายก็ได้รับแฟ็กซ์ แจ้งจากทางภาครัฐแล้ว แต่ก็ไม่มีรายละเอียดเช่นกัน ว่า ผู้ประกอบการใดบ้างที่เข้าข่ายต้องเปิดเผยแผน เฉพาะดิสเคานต์สโตร์อย่างเดียวหรือรวมถึง คอนวีเนียนสโตร์ และซูเปอร์มาร์เก็ตด้วยหรือไม่ และการเปิดเผยนั้นต้องให้ข้อมูลมากน้อยเท่าใด และที่สำคัญยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดได้รับหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการเลย
อีกทั้งบางรายก็ยังไม่ได้รับการแจ้งเป็นหนังสือหรือแฟ็กซ์ด้วยซ้ำไป
นางสาวจริยา จิราธิวัฒน์ ผู้บริหารของบิ๊กซี กล่าวเมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้วว่า "เรายังไม่ได้รับจดหมายจากทางกระทรวงฯ แต่เราก็พร้อมให้ความร่วมมือกับทางราชการอยู่แล้ว เพราะปกติแล้วเราจะมีการแถลงผลประกอบการกับผู้ถือหุ้นทุกไตรมาสอยู่แล้ว เพื่อระดมทุนมาใช้ในการขยายสาขาเพราะเราเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ การดำเนินธุรกิจจึงต้องเปิดเผย"
ขณะที่ทางคาร์ฟูร์ประเทศไทยก็เช่นกัน โดยผู้บริหารรายหนึ่งบอกว่า ได้รับแจ้งเป็นแฟ็กซ์จากภาครัฐ แต่ก็ยังไม่รู้ถึงรายละเอียดแนวทางการปฎิบัติ แต่ถ้าจะให้เปิดเผยข้อมูลอย่างละเอียดคงต้องมีการพิจารณากันอีกครั้ง ยังไม่สามารถตอบได้เวลานี้ แต่คาร์ฟูร์เองก็พร้อมที่จะทำตามข้อกำหนดต่างๆที่เหมาะสมเพราะเราทำธุรกิจอยู่ในประเทศไทย
ยักษ์ใหญ่อย่าง เทสโก้โลตัส นั้น นายเจฟฟ์ อดัมส์ ประธานกรรมการบริหาร เทสโก้ โลตัส ประเทศไทย กล่าวว่า ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นทางการจากกระทรวงพาณิชย์แต่อย่างใด พร้อมกล่าวให้ความเห็นด้วยว่า คงจะต้องนำเรื่องนี้เข้าประชุมในสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เพราะเป็นตัวกลางของผู้ประกอบการเพื่อหาข้อสรุปอีกครั้ง
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 6 กันยายนนี้ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย มีวาระที่จะเปิดตัว ประธานสมาคมฯ คนใหม่คือ นายธนภณ ตังคณานันท์ แทนนายลิขิต ฟ้าปโยชนม์ ซึ่งครบวาระตำแหน่งแล้ว ซึ่งนายธนภณนี้ในอดีตก็เป็นผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจของคาร์ฟูร์ ดังนั้นการที่นายกสมาคมฯคนใหม่ที่เคยบริหารในโมเดิร์นเทรดข้ามชาติมาแล้ว จึงน่าที่จะมีมุมมองที่ใกล้เคียงและเข้าถึงโมเดิร์นเทรดด้วยกันได้ดี จึงเป็นที่น่าจับตาอีกประเด็นหนึ่ง
เทสโก้โลตัส เดินหน้าชน
เทสโก้โลตัสเป็นค่ายที่จะถูกต่อต้านมากที่สุด แม้ว่าค่ายอื่นจะขยายตัวด้วยก็ตาม เพราะเทสโก้โลตัสแตกต่างจากค่ายอื่นที่ลงเล่นในตลาดทุกระดับ ทุกพื้นที่ ตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ และอนาคตแน่นอนว่าระดับตำบลก็คงไปถึง เพราะมีรูปแบบค้าปลีกที่หลากหลาย ทั้ง ซูเปอร์เซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ ตลาดโลตัส ร้านคุ้มค่า และเทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรส โดยเฉพาะมีเทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรส จะเป็นอาวุธที่สำคัญในการบุกทะลวงภูธรอย่างน่ากลัว เพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องพื้นที่ และระยะห่างของการเปิดจากเขตตัวเมือง แต่ขณะที่รูปแบบใหญ่ก็ไม่ได้ลดดีกรีการขยายตัวเลย
บรรยากาศในหลายจังหวัดจึงร้อนแรง เช่นกรณี ของ อ.ปักธงชัย ของ นครราชสีมา ที่มีประชาชนออกมาต่อต้านการเปิดสาขาของเทสโก้โลตัส หรือที่อ.แม่สอด จังหวัดตาก ก็มีภาคเอกชนคัดค้านและไม่ต้องการให้มาเปิดบนพื้นที่เดิมของห้างสยามพลาซ่า ถนนประสาทวิถี ที่ใกล้กับที่ว่าการอำเภอ
ทว่า การยิ่งห้ามโมเดิร์นเทรดเหล่านี้ ทีไร ก็เหมือนกับเป็นการยิ่งยุทีนั้นจริงๆ
คำกล่าวของนายเจฟฟ์ อดัมส์ ประธานของเทสโก้โลตัส สะท้อนได้ดีกับคำพูดที่ว่า การคัดค้านนั้นเป็นเพียงของกลุ่มคนรายย่อยเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเสียงทั้งหมดของผู้บริโภคที่แท้จริง พร้อมกับย้ำว่า การปิดกั้นเทสโก้โลตัสเสมือนกับเป็นการปิดกั้นทางเลือกที่อิสระในการจับจ่ายของผู้บริโภค
เทสโก้โลตัสยักษ์ใหญ่ที่สุด ไม่สนใจการควบคุม เพราะวางแผนที่จะเปิดสาขาในทุกรูปแบบเต็มที่ โดยกำหนดวงเงินในปีหน้าไว้สูงถึง 7,000 ล้านบาท ชนิดที่ค้าปลีกรายย่อยไทยหรือโชห่วย ต้องอ้าปากตาค้างไปตามๆกันกับเม็ดเงินมหาศาลนี้ โดยมีแผนที่จะเปิดรูปแบบซูเปอร์เซ็นเตอร์อีก ประมาณ 4-5 แห่ง ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมาได้เปิดสาขาแบบใหญ่ลำดับที่ 56 ที่บ้านฟ้าปิยรมย์-ลำลูกกา พื้นที่กว่า 15,000 ตารางเมตร
ส่วนรูปแบบร้านคุ้มค่าหรือแวลูสโตร์ก็จะเปิดอีกไม่ต่ำกว่า 2-3 แห่ง ตลาดโลตัสไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง ทว่าที่น่ากลัวคือ เทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรส ที่เตรียมเปิดใหม่อีก 100-150 แห่ง จากเดิมที่เวลานี้มีเปิดรูปแบบเอ็กซ์เพรสแล้วกว่า 150 แห่ง ส่วนใหญ่จะอยู่ในปั๊มน้ำมันเอสโซ่เป็นหลัก
ส่วนบิ๊กซีเองก็ใช่ย่อยเพราะได้ซุ่มออกตัว บิ๊กซีมินิ มาอาละวาดแล้ว เปิดโฉมสาขาแรกที่ปากซอยอุดมสุขในกรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นอาวุธหนึ่งในการเจาะเข้าตามย่านชุมชน เพื่อหลีกหนีข้อห้ามทางด้าน ขนาดพื้นที่ถูกภาครัฐกำหนด ส่วนสาขาขนาดใหญ่ก็ยังมองหาทำเลเพื่อขยายต่อไปไม่หยุดยั้ง
คาร์ฟูร์เตรียมงบประมาณปีนี้ไว้สูงถึง 3,000 ล้านบาท และเริ่มมอง
หาพื้นที่เพื่อเปิดสาขารูปแบบที่มีขนาดเล็กลงบ้างแล้วเหมือนกัน ซึ่งค่ายนี้โดยปรกติแล้วจะเปิดสาขาใหม่เฉลี่ย 2-3 สาขาต่อปี
มิพักต้องกล่าวถึงค้าปลีกรายใหญ่กลุ่มอื่นเช่น คอนวีเนียนสโตร์ ซูเปอร์มาร์เกต สเปเชียลตี้สโตร์ อย่างอื่น ที่ยังไม่มีใครฟันธงได้ว่า จะเข้าข่ายต้องส่งแผนธุรกิจขยายสาขาให้กับกระทรวงพาณิชย์ด้วยหรือไม่ เพราะแค่นี้บรรดาโชห่วยรายย่อยของไทยก็ผวาไปตามๆกันแล้ว