ผู้จัดการรายวัน- ฟอร์จูน ยก “ธนินท์ เจียรวนนท์” หนึ่งเดียวของไทยติดอันดับ 16 จาก 25 ผู้ทรงอิทธิพลทางธุรกิจของเอเชียประจำปี 2548 ชี้เหตุเพราะฟันฝ่ามรสุมเศรษฐกิจ ไข้หวัดนกพลิกวิกฤตทำกำไรในธุรกิจอาหารเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า
รายงานข่าวจากสำนักประชาสัมพันธ์กิจการพิเศษและสังคม เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า ในการจัดอันดับ 25 ผู้ทรงอิทธิพลทางธุรกิจแห่งทวีปเอเซียประจำปี 2548 โดยนิตยสารฟอร์จูน ฉบับเดือนตุลาคม ซึ่งกำลังวางแผงจำหน่ายอยู่ในหลายประเทศทั่วโลกในขณะนี้ มีคนไทยเพียงคนเดียวที่ติดอันดับ คือ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 16
นิตยสารฟอร์จูน รายงานว่า แม้เศรษฐกิจของไทยจะชะลอตัว แต่ผู้นำธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในวัย 66 ปีก็ไม่หยุดยั้งในการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้เพราะในปี 2547 ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาไข้หวัดนก แต่เครือเจริญโภคภัณฑ์ซึ่งประกอบธุรกิจหลักด้านอาหาร เป็นผู้ผลิตไก่และกุ้งรายใหญ่ของโลก กลับสามารถที่จะสร้างกำไรในธุรกิจนี้ได้เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าตัว
นอกจากนี้ฟอร์จูนยังรายงานด้วยว่า นายธนินท์กำลังหันไปให้ความสำคัญกับการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศอีกครั้ง โดยมีการลงทุนในประเทศต่าง ๆ อาทิ รัสเซีย ยูเครน อังกฤษ และจีน เป็นต้น ถึงแม้เวลานี้มีบริษัทในเครือมากมายถึง 250 แห่งกระจายอยู่ใน 20 ประเทศทั่วโลก แต่ เขาเชื่อว่าเวลานี้เป็นจังหวะที่เหมาะสมที่จะบุกจีนอย่างขนานใหญ่ ทั้งนี้เพราะเครือเจริญโภคภัณฑ์มีกิจการมากมายอยู่แล้วที่จีน ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจอาหาร ธุรกิจอาหารสัตว์ , ธุรกิจมอเตอร์ไซค์ และ ธุรกิจค้าปลีก ซึ่งสามารถทำยอดขายในปี 2547 ได้กว่า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาหรือกว่า 164,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 30%ของยอดขายรวมทั้งหมดของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในทุกประเทศ
หลักสำคัญในการพิจารณาจัดอันดับผู้ทรงอิทธิพลทางธุรกิจแห่งทวีปเอเซียของนิตยสารฟอร์จูน ประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยประการ ประการแรก คือ เงิน ซึ่งหมายถึงการทำรายได้ในทางธุรกิจ ประการที่ 2 คือ ความเก่ง หรือ ความฉลาดในการดำเนินธุรกิจ และประการที่ 3 คือ ทรงอิทธิพล ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นฐานที่สร้างพลังอำนาจทางธุรกิจให้แก่นักธุรกิจผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายให้กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางธุรกิจอย่างแท้จริง
ในการจัดอันดับ 25 ผู้ทรงอิทธิพลทางธุรกิจแห่งทวีปเอเซียประจำปี 2548 ของนิตยสารฟอร์จูนนั้น ปรากฏว่าผู้ทรงอิทธิพลทางธุรกิจแห่งทวีปเอเซียอันดับ 1 คือ นายยุนจองยอง จากซัมซุง อีเลคทรอนิกส์ ประเทศเกาหลีใต้, อันดับ 2 คือ นายลีกาชิง จากฮัทชิสัน แวมโป ฮ่องกง, อันดับ 3 คือ นายอับดุลเลาะห์ ญุมอะห์ จาก ซาอุดิ อแรมโก ประเทศซาอุดิอาระเบีย
นอกเหนือจากการที่ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ได้รับจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์จูนแล้ว เมื่อเร็ว ๆ นี้นิตยสารไฟแนนซ์ เอเชีย ก็ได้จัดอันดับตระกูลนักธุรกิจผู้ร่ำรวยที่สุดในเอเซีย 100 ตระกูล ซึ่งผลการจัดอันดับปรากฏว่า ตระกูลเจียรวนนท์ เป็น 1 ใน 4 ตระกูลดังของประเทศไทยที่ติดอันดับนักธุรกิจผู้ร่ำรวยที่สุดในเอเซีย โดยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 69 ส่วนอีก 3 ตระกูลในประเทศไทยที่ถูกจัดอันดับในครั้งนี้จากไฟแนนซ์ เอเชีย คือ ตระกูลอัศวโภคิน จากแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, ตระกูลชินวัตร จาก ชิน กรุ๊ป และ ตระกูลมาลีนนท์ จาก บีอีซี เวิลด์
รายงานข่าวจากสำนักประชาสัมพันธ์กิจการพิเศษและสังคม เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า ในการจัดอันดับ 25 ผู้ทรงอิทธิพลทางธุรกิจแห่งทวีปเอเซียประจำปี 2548 โดยนิตยสารฟอร์จูน ฉบับเดือนตุลาคม ซึ่งกำลังวางแผงจำหน่ายอยู่ในหลายประเทศทั่วโลกในขณะนี้ มีคนไทยเพียงคนเดียวที่ติดอันดับ คือ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 16
นิตยสารฟอร์จูน รายงานว่า แม้เศรษฐกิจของไทยจะชะลอตัว แต่ผู้นำธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในวัย 66 ปีก็ไม่หยุดยั้งในการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้เพราะในปี 2547 ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาไข้หวัดนก แต่เครือเจริญโภคภัณฑ์ซึ่งประกอบธุรกิจหลักด้านอาหาร เป็นผู้ผลิตไก่และกุ้งรายใหญ่ของโลก กลับสามารถที่จะสร้างกำไรในธุรกิจนี้ได้เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าตัว
นอกจากนี้ฟอร์จูนยังรายงานด้วยว่า นายธนินท์กำลังหันไปให้ความสำคัญกับการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศอีกครั้ง โดยมีการลงทุนในประเทศต่าง ๆ อาทิ รัสเซีย ยูเครน อังกฤษ และจีน เป็นต้น ถึงแม้เวลานี้มีบริษัทในเครือมากมายถึง 250 แห่งกระจายอยู่ใน 20 ประเทศทั่วโลก แต่ เขาเชื่อว่าเวลานี้เป็นจังหวะที่เหมาะสมที่จะบุกจีนอย่างขนานใหญ่ ทั้งนี้เพราะเครือเจริญโภคภัณฑ์มีกิจการมากมายอยู่แล้วที่จีน ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจอาหาร ธุรกิจอาหารสัตว์ , ธุรกิจมอเตอร์ไซค์ และ ธุรกิจค้าปลีก ซึ่งสามารถทำยอดขายในปี 2547 ได้กว่า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาหรือกว่า 164,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 30%ของยอดขายรวมทั้งหมดของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในทุกประเทศ
หลักสำคัญในการพิจารณาจัดอันดับผู้ทรงอิทธิพลทางธุรกิจแห่งทวีปเอเซียของนิตยสารฟอร์จูน ประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยประการ ประการแรก คือ เงิน ซึ่งหมายถึงการทำรายได้ในทางธุรกิจ ประการที่ 2 คือ ความเก่ง หรือ ความฉลาดในการดำเนินธุรกิจ และประการที่ 3 คือ ทรงอิทธิพล ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นฐานที่สร้างพลังอำนาจทางธุรกิจให้แก่นักธุรกิจผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายให้กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางธุรกิจอย่างแท้จริง
ในการจัดอันดับ 25 ผู้ทรงอิทธิพลทางธุรกิจแห่งทวีปเอเซียประจำปี 2548 ของนิตยสารฟอร์จูนนั้น ปรากฏว่าผู้ทรงอิทธิพลทางธุรกิจแห่งทวีปเอเซียอันดับ 1 คือ นายยุนจองยอง จากซัมซุง อีเลคทรอนิกส์ ประเทศเกาหลีใต้, อันดับ 2 คือ นายลีกาชิง จากฮัทชิสัน แวมโป ฮ่องกง, อันดับ 3 คือ นายอับดุลเลาะห์ ญุมอะห์ จาก ซาอุดิ อแรมโก ประเทศซาอุดิอาระเบีย
นอกเหนือจากการที่ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ได้รับจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์จูนแล้ว เมื่อเร็ว ๆ นี้นิตยสารไฟแนนซ์ เอเชีย ก็ได้จัดอันดับตระกูลนักธุรกิจผู้ร่ำรวยที่สุดในเอเซีย 100 ตระกูล ซึ่งผลการจัดอันดับปรากฏว่า ตระกูลเจียรวนนท์ เป็น 1 ใน 4 ตระกูลดังของประเทศไทยที่ติดอันดับนักธุรกิจผู้ร่ำรวยที่สุดในเอเซีย โดยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 69 ส่วนอีก 3 ตระกูลในประเทศไทยที่ถูกจัดอันดับในครั้งนี้จากไฟแนนซ์ เอเชีย คือ ตระกูลอัศวโภคิน จากแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, ตระกูลชินวัตร จาก ชิน กรุ๊ป และ ตระกูลมาลีนนท์ จาก บีอีซี เวิลด์