นักข่าวโพสต์ร่วม 100 แต่งดำประท้วงคำสั่งไล่ออกหัวหน้าข่าวสายทหารและความมั่นคง กรณีข่าวสนามบินร้าว ระบุเป็น "ยุคมืด"ของบางกอกโพสต์ เรียกร้องบรรณาธิการฝรั่งร่วมแสดงความรับผิดชอบและแต่งตั้งบ.ก.คนใหม่ ที่เป็นมืออาชีพ มีจิตวิญญาณสื่อมวลชน
เมื่อเวลา 10.00 น.วานนี้ (29 ส.ค.) ที่อาคารบางกอกโพสต์ได้มีการเคลื่อนไหวของผู้สื่อข่าวประจำกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เนื่องจากนายเดวิด อาร์มสตรอง รักษาการบรรณาธิการ และนายพรชัย แสงอรุณ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ได้เรียกตัว นายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ หัวหน้าข่าวสายทหารและความมั่นคงเข้าพบ และรับทราบคำสั่งไล่ออก จากการเป็นพนักงาน สืบเนื่องจากการทำหน้าที่นำเสนอข่าวรอยร้าวของสนามบินสุวรรณภูมิ
ทั้งนี้ การแจ้งคำสั่งไล่ออกดังกล่าว ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพียงแต่แจ้งด้วยวาจาเท่านั้น และไม่เคยมีการแจ้งถึงเหตุผลให้กับคณะผู้สื่อข่าวได้รับทราบมาก่อน ทำให้นายเสริมสุข และกลุ่มผู้สื่อข่าวประจำกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ประมาณ 100 คน ซึ่งทั้งหมดได้แต่งกายในชุดดำ เพื่อประท้วงและแสดงความไม่พอใจต่อคำสั่งดังกล่าว และได้รวมตัวกันที่บริเวณหน้าห้องทำงานของนายเดวิด เพื่อเรียกร้องให้นายเดวิด ออกมาชี้แจง และมอบหนังสือคำสั่งไล่ออก เป็นลายลักษณ์อักษรให้นายเสริมสุข
การชุมนุมดำเนินไปกว่า 2 ชั่วโมง นายเดวิด ยังคงปฏิเสธที่จะออกมาพบและชี้แจง มีเพียงนายพิชาย ชื่นสุขสวัสดิ์ บรรณาธิการใหญ่ ของเครือบางกอกโพสต์ และนายศุภกร เวชชาชีวะ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด (บุตรเขยของนายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ CEO บางกอกโพสต์)ออกมาพบกับผู้สื่อข่าวที่ชุมนุมอยู่ และคอยสังเกตการณ์ แต่ก็ไม่ได้มีข้อเสนอ หรือความพยายามจะคลี่คลายปัญหาแต่อย่างใด แต่หลังถูกกดดันอย่างหนักนายพรชัย แสงอรุณ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ก็ยินยอมมอบจดหมาย"ไล่ออก"ให้แก่นายเสริมสุข
ในระหว่างการชุมนุม นายเสริมสุข ได้ชี้แจงและยืนยันถึงการทำหน้าที่ในการนำเสนอข่าวรอยร้าวของสนามบิน ว่า ทำหน้าที่อย่างสุจริต และมีเจตนารมณ์จะตรวจสอบ ซึ่งเป็นการทำหน้าที่ตามปกติของสื่อมวลชนและตลอดเวลาที่ทำงานเป็นผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์มาอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 22 ปี ก็ไม่เคยพบกับเหตุการณ์ที่ต้องถูกกดดัน และแทรกแซงจากฝ่ายบริหาร และบุคคลภายนอกองค์กร มีการสั่งห้ามและชี้นำการนำเสนอข่าวมาโดยตลอด จึงนับว่าเป็น"ยุคมืด"ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์อย่างแท้จริง
นายเสริมสุข กล่าวด้วยว่า ตนจะเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากศาลแรงงานในกรณีที่ถูกไล่ออก เพื่อเป็นการปกป้องวิชาชีพสื่อมวลชน จากการถูกคุกคามของเจ้าของสื่อด้วย
ก่อนหน้านี้ ฝ่ายบริหารของ บริษัทโพสต์พับลิชชิง ได้กดดันให้ นายชฏิล เทพวัลย์ ตำแหน่ง บรรณาธิการข่าว ให้ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบกับการนำเสนอข่าว รอยร้าวของสนามบินฯ ซึ่งลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฉบับวันที่ 9 ส.ค.48 และต่อมาได้มีการลงแก้ข่าวในความผิดพลาดของข่าวดังกล่าว แม้ว่าพนักงานในกองบรรณาธิการ จะยื่นหนังสือคัดค้าน กับมาตรการการลงโทษด้วยวิธีรุนแรงและเกินกว่าเหตุ ดังกล่าวไปแล้วก็ตาม และมีความพยายามจะกดดันให้นายเสริมสุข ลาออกเช่นเดียวกัน แต่นายเสริมสุข ยืนยันจะไม่ลาออก ทำให้คณะผู้บริหารตัดสินใจมีคำสั่ง ไล่ออก ในที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมาเมื่อเวลา 16.30 น.นายเสริมสุข ได้เข้าปรึกษากับนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถึงเรื่องที่เกิดขึ้น โดยได้ข้อสรุปว่าในวันที่ 30 ส.ค.ทางสมาคมนักข่าวฯ จะทำหนังสือขอความช่วยเหลือจากสภาทนายความพร้อมกับฟ้องร้องต่อศาลแรงงานเนื่องจากเห็นว่าการไล่ออกเป็นเรื่องไม่ยุติธรรม
นายเสริมสุข กล่าวว่า การที่นายเดวิด อาร์มสตรอง ได้ลงโทษตนขั้นเด็ดขาดด้วยการไล่ออกทันที ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่รุนแรงแรง โดยไม่คำนึงถึงข้อเสนอแนะของกรรมการไต่สวนความผิดที่ตั้งขึ้นก่อนหน้านี้ ที่มีมติให้ลงโทษ โดยการโยกย้ายความรับผิดชอบ ไม่ขึ้นเงินเดือน และตัดโบนัส กับตนและนายชฎิล เทพวัลย์ บรรณาธิการข่าว ซึ่งได้ยื่นใบลาออกก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม ตนก็ยอมรับว่าทำผิดพลาด แต่พร้อมกันนี้ก็ขอให้นายเดวิด แสดงความรับผิดชอบเพราะเมื่อวันที่ 5 ส.ค.ที่เป็นวันประชุมข่าวก่อนนำเรื่องนี้ไปตีพิมพ์ในวันที่ 6 ส.ค. นายเดวิด ก็อยู่ร่วมประชุมข่าวด้วย และก็ไม่ได้แสดงความเห็นหรือทักท้วงต่อข่าวดังกล่าวแต่อย่างใด
"นายเดวิดไม่สามารถที่จะปฎิเสธคาวมรับผิดชอบได้ในความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งการดำเนินการครั้งนี้ มีความผิดปกติ เพราะข่าวที่ได้มา ตนยืนยันได้ว่ามีตัวตนจริง ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเขามีเจตนาแอบแฝงหรือต้องการทำลายอะไร เหตุกการณ์ที่ขึ้นเหมือนกับว่ามีการตั้งธงไว้แล้วต้องเอาคน 2 คนนี้ออก เพราะ 1-2 ปีท่าผ่านมา เราได้รับรู้ถึงแรงกดดันจากข้างนอกเสมอ บางครั้งการเสนอข่าวที่วิพากษ์จารณ์รัฐบาล ก็ถูกต่อว่าจากฝ่ายบริหารลงมายังกองบรรณาธิการ และวันนี้ผู้สื่อข่าวและเจ้าหน้าที่ของกองบรรณธิการจำนวน 103 คน ได้ทำหนังสือเรียกร้องให้นายเดวิด แสดงความรับผิดชอบเช่นกัน" นายเสริมสุข กล่าว
เมื่อเวลา 10.00 น.วานนี้ (29 ส.ค.) ที่อาคารบางกอกโพสต์ได้มีการเคลื่อนไหวของผู้สื่อข่าวประจำกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เนื่องจากนายเดวิด อาร์มสตรอง รักษาการบรรณาธิการ และนายพรชัย แสงอรุณ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ได้เรียกตัว นายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ หัวหน้าข่าวสายทหารและความมั่นคงเข้าพบ และรับทราบคำสั่งไล่ออก จากการเป็นพนักงาน สืบเนื่องจากการทำหน้าที่นำเสนอข่าวรอยร้าวของสนามบินสุวรรณภูมิ
ทั้งนี้ การแจ้งคำสั่งไล่ออกดังกล่าว ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพียงแต่แจ้งด้วยวาจาเท่านั้น และไม่เคยมีการแจ้งถึงเหตุผลให้กับคณะผู้สื่อข่าวได้รับทราบมาก่อน ทำให้นายเสริมสุข และกลุ่มผู้สื่อข่าวประจำกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ประมาณ 100 คน ซึ่งทั้งหมดได้แต่งกายในชุดดำ เพื่อประท้วงและแสดงความไม่พอใจต่อคำสั่งดังกล่าว และได้รวมตัวกันที่บริเวณหน้าห้องทำงานของนายเดวิด เพื่อเรียกร้องให้นายเดวิด ออกมาชี้แจง และมอบหนังสือคำสั่งไล่ออก เป็นลายลักษณ์อักษรให้นายเสริมสุข
การชุมนุมดำเนินไปกว่า 2 ชั่วโมง นายเดวิด ยังคงปฏิเสธที่จะออกมาพบและชี้แจง มีเพียงนายพิชาย ชื่นสุขสวัสดิ์ บรรณาธิการใหญ่ ของเครือบางกอกโพสต์ และนายศุภกร เวชชาชีวะ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด (บุตรเขยของนายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ CEO บางกอกโพสต์)ออกมาพบกับผู้สื่อข่าวที่ชุมนุมอยู่ และคอยสังเกตการณ์ แต่ก็ไม่ได้มีข้อเสนอ หรือความพยายามจะคลี่คลายปัญหาแต่อย่างใด แต่หลังถูกกดดันอย่างหนักนายพรชัย แสงอรุณ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ก็ยินยอมมอบจดหมาย"ไล่ออก"ให้แก่นายเสริมสุข
ในระหว่างการชุมนุม นายเสริมสุข ได้ชี้แจงและยืนยันถึงการทำหน้าที่ในการนำเสนอข่าวรอยร้าวของสนามบิน ว่า ทำหน้าที่อย่างสุจริต และมีเจตนารมณ์จะตรวจสอบ ซึ่งเป็นการทำหน้าที่ตามปกติของสื่อมวลชนและตลอดเวลาที่ทำงานเป็นผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์มาอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 22 ปี ก็ไม่เคยพบกับเหตุการณ์ที่ต้องถูกกดดัน และแทรกแซงจากฝ่ายบริหาร และบุคคลภายนอกองค์กร มีการสั่งห้ามและชี้นำการนำเสนอข่าวมาโดยตลอด จึงนับว่าเป็น"ยุคมืด"ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์อย่างแท้จริง
นายเสริมสุข กล่าวด้วยว่า ตนจะเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากศาลแรงงานในกรณีที่ถูกไล่ออก เพื่อเป็นการปกป้องวิชาชีพสื่อมวลชน จากการถูกคุกคามของเจ้าของสื่อด้วย
ก่อนหน้านี้ ฝ่ายบริหารของ บริษัทโพสต์พับลิชชิง ได้กดดันให้ นายชฏิล เทพวัลย์ ตำแหน่ง บรรณาธิการข่าว ให้ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบกับการนำเสนอข่าว รอยร้าวของสนามบินฯ ซึ่งลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฉบับวันที่ 9 ส.ค.48 และต่อมาได้มีการลงแก้ข่าวในความผิดพลาดของข่าวดังกล่าว แม้ว่าพนักงานในกองบรรณาธิการ จะยื่นหนังสือคัดค้าน กับมาตรการการลงโทษด้วยวิธีรุนแรงและเกินกว่าเหตุ ดังกล่าวไปแล้วก็ตาม และมีความพยายามจะกดดันให้นายเสริมสุข ลาออกเช่นเดียวกัน แต่นายเสริมสุข ยืนยันจะไม่ลาออก ทำให้คณะผู้บริหารตัดสินใจมีคำสั่ง ไล่ออก ในที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมาเมื่อเวลา 16.30 น.นายเสริมสุข ได้เข้าปรึกษากับนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถึงเรื่องที่เกิดขึ้น โดยได้ข้อสรุปว่าในวันที่ 30 ส.ค.ทางสมาคมนักข่าวฯ จะทำหนังสือขอความช่วยเหลือจากสภาทนายความพร้อมกับฟ้องร้องต่อศาลแรงงานเนื่องจากเห็นว่าการไล่ออกเป็นเรื่องไม่ยุติธรรม
นายเสริมสุข กล่าวว่า การที่นายเดวิด อาร์มสตรอง ได้ลงโทษตนขั้นเด็ดขาดด้วยการไล่ออกทันที ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่รุนแรงแรง โดยไม่คำนึงถึงข้อเสนอแนะของกรรมการไต่สวนความผิดที่ตั้งขึ้นก่อนหน้านี้ ที่มีมติให้ลงโทษ โดยการโยกย้ายความรับผิดชอบ ไม่ขึ้นเงินเดือน และตัดโบนัส กับตนและนายชฎิล เทพวัลย์ บรรณาธิการข่าว ซึ่งได้ยื่นใบลาออกก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม ตนก็ยอมรับว่าทำผิดพลาด แต่พร้อมกันนี้ก็ขอให้นายเดวิด แสดงความรับผิดชอบเพราะเมื่อวันที่ 5 ส.ค.ที่เป็นวันประชุมข่าวก่อนนำเรื่องนี้ไปตีพิมพ์ในวันที่ 6 ส.ค. นายเดวิด ก็อยู่ร่วมประชุมข่าวด้วย และก็ไม่ได้แสดงความเห็นหรือทักท้วงต่อข่าวดังกล่าวแต่อย่างใด
"นายเดวิดไม่สามารถที่จะปฎิเสธคาวมรับผิดชอบได้ในความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งการดำเนินการครั้งนี้ มีความผิดปกติ เพราะข่าวที่ได้มา ตนยืนยันได้ว่ามีตัวตนจริง ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเขามีเจตนาแอบแฝงหรือต้องการทำลายอะไร เหตุกการณ์ที่ขึ้นเหมือนกับว่ามีการตั้งธงไว้แล้วต้องเอาคน 2 คนนี้ออก เพราะ 1-2 ปีท่าผ่านมา เราได้รับรู้ถึงแรงกดดันจากข้างนอกเสมอ บางครั้งการเสนอข่าวที่วิพากษ์จารณ์รัฐบาล ก็ถูกต่อว่าจากฝ่ายบริหารลงมายังกองบรรณาธิการ และวันนี้ผู้สื่อข่าวและเจ้าหน้าที่ของกองบรรณธิการจำนวน 103 คน ได้ทำหนังสือเรียกร้องให้นายเดวิด แสดงความรับผิดชอบเช่นกัน" นายเสริมสุข กล่าว