สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เชิญเจ้าของเรือและผู้ประกอบการต่อเรือในประเทศกว่า 100 คน ร่วมระดมสมองพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือไทย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมต่อเรือเสนอภาครัฐเร่งตั้งนิคมอุตสาหกรรมต่อเรือเพื่อสนับสนุนธุรกิจ พร้อมระบุไทยยังมีปัญหาเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติ ทำให้การจัดตั้งบริษัทต่อเรือขนาดใหญ่จำเป็นต้องร่วมทุนกับบริษัทข้ามชาติ
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้มีการจัดสัมมนา “โครงการผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือแบบครบวงจร” โดยเชิญเจ้าของเรือและผู้ประกอบการต่อเรือในประเทศเข้าร่วมกว่า 100 คน เพื่อระดมสมองในการหาแนวทางเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือในประเทศ
นายนัฐ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมต่อเรือของไทย ยังมีปัญหาในเรื่องที่ผู้ประกอบการแต่ละรายยังขาดการรวมกลุ่มเพื่อเร่งพัฒนาธุรกิจ ซึ่งในภาพรวมขณะนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าควรมีการรวมกลุ่มตั้งนิคมอุตสาหกรรม เพื่อทำให้ธุรกิจสามารถพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่อเรือได้ และภาครัฐควรเข้ามาสนับสนุนในการจัดหาพื้นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากปัจจุบันในการจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมมาดำเนินการในอุตสาหกรรมต่อเรือสามารถจัดหาได้ยาก เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเรือต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ รวมทั้งปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม
ขณะเดียวกัน ในเรื่องบุคลากรด้านอุตสาหกรรมต่อเรือนั้น ปัจจุบันไทยถือว่ามีบุคลากรที่มีคุณภาพโดยเฉพาะช่างต่อเรือในระดับแรงงาน ซึ่งปัจจุบันอุตสาหกรรมต่อเรือของสิงคโปร์ก็ใช้กำลังแรงงานช่างจากไทยจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีปัญหาในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติ ทำให้การจัดตั้งบริษัทต่อเรือขนาดใหญ่นั้นยังจำเป็นต้องมีการร่วมทุนระหว่างบริษัทคนไทยและบริษัทข้ามชาติต่อไป
สำหรับสถานะอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือไทยนั้น ในปัจจุบันศักยภาพยังอยู่ในวงจำกัด โดยไทยมีการต่อเรือใหม่ต่อปีอยู่ที่ประมาณ 4,000-5,000 ตันกรอส หรือมีความสามารถในการต่อเรือได้ในขนาดสูงสุดที่ 5,000 ตันกรอส รวมทั้งมีความชำนาญในการต่อเรือเฉพาะกิจที่มีระวางบรรทุกไม่มาก และขาดความชำนาญในการต่อเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ขณะที่ด้านอุตสาหกรรมซ่อมเรือนั้น ไทยมีการซ่อมเรือแต่ละปีคิดเป็นขนาดบรรทุกของเรืออยู่ที่ 2.5-3 ล้านตันกรอสต่อปี หรือมีศักยภาพในการซ่อมเรือได้สูงสุดขนาด 100,000 ตันกรอส โดยมีอู่ที่มีขีดความสามารถในการต่อเรือตั้งแต่ 4,000 ตันกรอสขึ้นไปเพียง 7 แห่ง
นอกจากนี้ ในการต่อเรือหนึ่งลำ ประเทศไทยยังต้องพึ่งพานำเข้าวัตถุดิบในการต่อสูงถึงร้อยละ 60 ของมูลค่าเรือ ขณะที่ปัญหาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมต่อเรือของไทยนั้น แม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยจะมีการขนส่งสินค้าทางเรือระหว่างประเทศมากถึงร้อยละ 90 ของปริมาณขนส่งสินค้าทั้งหมดในแต่ละปี แต่พบว่าอุตสาหกรรมการต่อเรือและซ่อมเรือไม่ได้ก้าวหน้าเข้าไปมีส่วนสนับสนุนอุตสาหกรรมการส่งออกแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในปัจจุบันผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือของไทยได้พยายามรวมกลุ่ม เพื่อจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมดำเนินการนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5-10 ปี ถึงจะสามารถเห็นผลสำเร็จ รวมทั้งได้พยายามให้รัฐบาลเจรจากับกองทัพเรือเพื่อขอใช้พื้นที่ทำนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากจะสามารถลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมได้ แต่ที่ผ่านมานโยบายดังกล่าวยังไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลและกองทัพเรือแต่อย่างใด
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้มีการจัดสัมมนา “โครงการผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือแบบครบวงจร” โดยเชิญเจ้าของเรือและผู้ประกอบการต่อเรือในประเทศเข้าร่วมกว่า 100 คน เพื่อระดมสมองในการหาแนวทางเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือในประเทศ
นายนัฐ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมต่อเรือของไทย ยังมีปัญหาในเรื่องที่ผู้ประกอบการแต่ละรายยังขาดการรวมกลุ่มเพื่อเร่งพัฒนาธุรกิจ ซึ่งในภาพรวมขณะนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าควรมีการรวมกลุ่มตั้งนิคมอุตสาหกรรม เพื่อทำให้ธุรกิจสามารถพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่อเรือได้ และภาครัฐควรเข้ามาสนับสนุนในการจัดหาพื้นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากปัจจุบันในการจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมมาดำเนินการในอุตสาหกรรมต่อเรือสามารถจัดหาได้ยาก เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเรือต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ รวมทั้งปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม
ขณะเดียวกัน ในเรื่องบุคลากรด้านอุตสาหกรรมต่อเรือนั้น ปัจจุบันไทยถือว่ามีบุคลากรที่มีคุณภาพโดยเฉพาะช่างต่อเรือในระดับแรงงาน ซึ่งปัจจุบันอุตสาหกรรมต่อเรือของสิงคโปร์ก็ใช้กำลังแรงงานช่างจากไทยจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีปัญหาในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติ ทำให้การจัดตั้งบริษัทต่อเรือขนาดใหญ่นั้นยังจำเป็นต้องมีการร่วมทุนระหว่างบริษัทคนไทยและบริษัทข้ามชาติต่อไป
สำหรับสถานะอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือไทยนั้น ในปัจจุบันศักยภาพยังอยู่ในวงจำกัด โดยไทยมีการต่อเรือใหม่ต่อปีอยู่ที่ประมาณ 4,000-5,000 ตันกรอส หรือมีความสามารถในการต่อเรือได้ในขนาดสูงสุดที่ 5,000 ตันกรอส รวมทั้งมีความชำนาญในการต่อเรือเฉพาะกิจที่มีระวางบรรทุกไม่มาก และขาดความชำนาญในการต่อเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ขณะที่ด้านอุตสาหกรรมซ่อมเรือนั้น ไทยมีการซ่อมเรือแต่ละปีคิดเป็นขนาดบรรทุกของเรืออยู่ที่ 2.5-3 ล้านตันกรอสต่อปี หรือมีศักยภาพในการซ่อมเรือได้สูงสุดขนาด 100,000 ตันกรอส โดยมีอู่ที่มีขีดความสามารถในการต่อเรือตั้งแต่ 4,000 ตันกรอสขึ้นไปเพียง 7 แห่ง
นอกจากนี้ ในการต่อเรือหนึ่งลำ ประเทศไทยยังต้องพึ่งพานำเข้าวัตถุดิบในการต่อสูงถึงร้อยละ 60 ของมูลค่าเรือ ขณะที่ปัญหาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมต่อเรือของไทยนั้น แม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยจะมีการขนส่งสินค้าทางเรือระหว่างประเทศมากถึงร้อยละ 90 ของปริมาณขนส่งสินค้าทั้งหมดในแต่ละปี แต่พบว่าอุตสาหกรรมการต่อเรือและซ่อมเรือไม่ได้ก้าวหน้าเข้าไปมีส่วนสนับสนุนอุตสาหกรรมการส่งออกแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในปัจจุบันผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือของไทยได้พยายามรวมกลุ่ม เพื่อจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมดำเนินการนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5-10 ปี ถึงจะสามารถเห็นผลสำเร็จ รวมทั้งได้พยายามให้รัฐบาลเจรจากับกองทัพเรือเพื่อขอใช้พื้นที่ทำนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากจะสามารถลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมได้ แต่ที่ผ่านมานโยบายดังกล่าวยังไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลและกองทัพเรือแต่อย่างใด