ไทยจัดส่งผลการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ทั้งสินค้ากุ้งและผลไม้ ต่อทางการออสเตรเลียแล้ว หลังจากออสเตรเลียออกมาระบุว่า สินค้าไทยอาจมีแมลงในผลไม้ หรือเชื้อโรคที่จะไประบาด และเป็นอันตรายต่อการบริโภค ยืนยันหากผลตรวจของออสเตรเลียขาดหลักฐานที่แน่ชัด จะเดินหน้าฟ้องร้องต่อดับเบิลยูทีโอต่อไป
น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีที่ทางประเทศออสเตรเลีย ระบุออกมาว่า สินค้ากุ้งไทยมีสารตกค้าง และไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคนั้น ในเรื่องนี้ ไทยได้จัดส่งผลการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ของไทยไปออสเตรเลียแล้ว ซึ่งรอผลการตรวจทางวิทยาศาสตร์ของประเทศออสเตรเลียอีกครั้งหนึ่ง และหากผลการตรวจทางวิทยาศาสตร์ของออสเตรเลียออกมา ระบุว่า สินค้ากุ้งไทยไม่ปลอดภัย ก็เชื่อว่า น่าจะเป็นมาตรการกีดกันทางการค้า ซึ่งฝ่ายไทยจะนำเรื่องดังกล่าวร้องขอความเป็นธรรมต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้รับรายงานทางออสเตรเลีย มีการระบุสินค้าผลไม้ไทย ได้แก่ ส้มโอ มะม่วง เมื่อบริโภคจะเป็นอันตราย เนื่องจากผลไม้ไทยอาจมีแมลงบางชนิดที่ไม่ปลอดภัย โดยในเรื่องนี้ ฝ่ายไทยรู้สึกไม่สบายใจ และเตรียมที่จะทำหนังสือ และผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ผลไม้ไทยไม่มีสารเจือปน หรือมีแมลงใดๆ และมีความปลอดภัยสูง เพื่อให้ทางออสเตรเลียดำเนินการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ด้วยเช่นกัน แต่ขอยืนยัน และขอดูท่าทีว่าทางการออสเตรเลียจะให้ไทยดำเนินการเกี่ยวกับผลไม้ไทยอย่างไร ที่สำคัญ มาตรการดังกล่าวทางออสเตรเลียไม่ได้บังคับใช้กับประเทศไทยอย่างเดียว แต่บังคับใช้กับประเทศคู่ค้าที่ส่งผลไม้ไปยังออสเตรเลียด้วย อีกทั้งออสเตรเลียกลัวว่า ผลไม้ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการบ่ม หรือฆ่าเชื้อ อาจจะมีสิ่งแปลกปลอม เช่น แมลงบางชนิดที่อาจแพร่เชื้อในประเทศออสเตรเลียได้นั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไทยจะต้องเร่งชี้แจง ทั้งทางปฏิบัติและทางการยืนยันด้านผลทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเชื่อว่า ออสเตรเลียจะเข้าใจ แต่หากผลทางวิทยาศาสตร์ของออสเตรเลียยืนยันโดยขาดหลักฐานที่แน่ชัด ทางฝ่ายไทยจะดำเนินการยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมต่อ ดับเบิลยูทีโอ ต่อไป
น.ส.ชุติมา กล่าวว่า ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย หรือ TAFTA มีผลใช้บังคับมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้ติดตามผลความตกลงอย่างใกล้ชิด โดยในปี 2549 การค้าของทั้ง 2 ฝ่าย เพิ่มขึ้นอย่างน่าพอใจ ซึ่งไทยเป็นฝ่ายเกินดุล 35,111.4 ล้านบาท มูลค่าการค้ารวม 295,523.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.69 มูลค่าการส่งออก 165,317.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.06 มูลค่าการนำเข้า 130,206.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.28 เนื่องจากในปีที่ผ่านมา มีการแข็งตัวของค่าเงินบาท ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าเป็นบาทลดลง
สำหรับการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้ TAFTA มีผู้ประกอบการไทยมาขอใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เป็นมูลค่าส่งออกประมาณ 98,820 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 63.08 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของไทยไปออสเตรเลีย สินค้าที่ขอใบรับรองเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่งของ รถยนต์ และยานยนต์อื่นๆ เครื่องปรับอากาศ ปลาที่ปรุงแต่ง และเครื่องจักร ในขณะเดียวกัน นำเข้าจากออสเตรเลียโดยใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้ TAFTA เป็นมูลค่า 17,913 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.75 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดจากออสเตรเลีย เช่น อะลูมิเนียมไม่เจือ ข้าวสาลี และเมสลินอื่นๆ มอลต์ไม่ได้คั่ว สินแร่และหัวแร่สังกะสี เป็นต้น
น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีที่ทางประเทศออสเตรเลีย ระบุออกมาว่า สินค้ากุ้งไทยมีสารตกค้าง และไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคนั้น ในเรื่องนี้ ไทยได้จัดส่งผลการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ของไทยไปออสเตรเลียแล้ว ซึ่งรอผลการตรวจทางวิทยาศาสตร์ของประเทศออสเตรเลียอีกครั้งหนึ่ง และหากผลการตรวจทางวิทยาศาสตร์ของออสเตรเลียออกมา ระบุว่า สินค้ากุ้งไทยไม่ปลอดภัย ก็เชื่อว่า น่าจะเป็นมาตรการกีดกันทางการค้า ซึ่งฝ่ายไทยจะนำเรื่องดังกล่าวร้องขอความเป็นธรรมต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้รับรายงานทางออสเตรเลีย มีการระบุสินค้าผลไม้ไทย ได้แก่ ส้มโอ มะม่วง เมื่อบริโภคจะเป็นอันตราย เนื่องจากผลไม้ไทยอาจมีแมลงบางชนิดที่ไม่ปลอดภัย โดยในเรื่องนี้ ฝ่ายไทยรู้สึกไม่สบายใจ และเตรียมที่จะทำหนังสือ และผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ผลไม้ไทยไม่มีสารเจือปน หรือมีแมลงใดๆ และมีความปลอดภัยสูง เพื่อให้ทางออสเตรเลียดำเนินการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ด้วยเช่นกัน แต่ขอยืนยัน และขอดูท่าทีว่าทางการออสเตรเลียจะให้ไทยดำเนินการเกี่ยวกับผลไม้ไทยอย่างไร ที่สำคัญ มาตรการดังกล่าวทางออสเตรเลียไม่ได้บังคับใช้กับประเทศไทยอย่างเดียว แต่บังคับใช้กับประเทศคู่ค้าที่ส่งผลไม้ไปยังออสเตรเลียด้วย อีกทั้งออสเตรเลียกลัวว่า ผลไม้ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการบ่ม หรือฆ่าเชื้อ อาจจะมีสิ่งแปลกปลอม เช่น แมลงบางชนิดที่อาจแพร่เชื้อในประเทศออสเตรเลียได้นั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไทยจะต้องเร่งชี้แจง ทั้งทางปฏิบัติและทางการยืนยันด้านผลทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเชื่อว่า ออสเตรเลียจะเข้าใจ แต่หากผลทางวิทยาศาสตร์ของออสเตรเลียยืนยันโดยขาดหลักฐานที่แน่ชัด ทางฝ่ายไทยจะดำเนินการยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมต่อ ดับเบิลยูทีโอ ต่อไป
น.ส.ชุติมา กล่าวว่า ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย หรือ TAFTA มีผลใช้บังคับมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้ติดตามผลความตกลงอย่างใกล้ชิด โดยในปี 2549 การค้าของทั้ง 2 ฝ่าย เพิ่มขึ้นอย่างน่าพอใจ ซึ่งไทยเป็นฝ่ายเกินดุล 35,111.4 ล้านบาท มูลค่าการค้ารวม 295,523.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.69 มูลค่าการส่งออก 165,317.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.06 มูลค่าการนำเข้า 130,206.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.28 เนื่องจากในปีที่ผ่านมา มีการแข็งตัวของค่าเงินบาท ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าเป็นบาทลดลง
สำหรับการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้ TAFTA มีผู้ประกอบการไทยมาขอใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เป็นมูลค่าส่งออกประมาณ 98,820 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 63.08 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของไทยไปออสเตรเลีย สินค้าที่ขอใบรับรองเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่งของ รถยนต์ และยานยนต์อื่นๆ เครื่องปรับอากาศ ปลาที่ปรุงแต่ง และเครื่องจักร ในขณะเดียวกัน นำเข้าจากออสเตรเลียโดยใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้ TAFTA เป็นมูลค่า 17,913 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.75 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดจากออสเตรเลีย เช่น อะลูมิเนียมไม่เจือ ข้าวสาลี และเมสลินอื่นๆ มอลต์ไม่ได้คั่ว สินแร่และหัวแร่สังกะสี เป็นต้น