ก.เกษตรฯเตรียมเดินหน้า Road Map สินค้าเกษตร 16 ชนิด พร้อมมอบหมายกรมปศุสัตว์เร่งจัดทำแผนประชาสัมพันธ์เชิงรุกในตลาดญี่ปุ่น หวังสอดแทรกตลาดไก่ปรุงสุกในญี่ปุ่น
นายพินิจ กอศรีพร รองโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงว่า ได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานปรับแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 ในลักษณะบูรณาการร่วมกันเป็นรายโครงการ แทนการจัดทำแผนงบประมาณฯ แบบเดิมที่แต่ละหน่วยงานแยกกันทำ เพื่อลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนและช่วยให้การใช้จ่ายงบประมาณเกิดประสิทธิผล และคุ้มค่าการลงทุนมากขึ้นนั้น ในเบื้องต้นทุกหน่วยงานได้ร่วมกันจัดทำแผนงบประมาณให้สอดรับกับแนวนโยบายการพัฒนาการผลิตของรัฐบาล เพื่อให้โครงการต่างๆ เกิดประโยชน์กับเกษตรกรสูงสุด
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการค้าทำงบประมาณ ปี 2549 บางส่วนเป็นเรื่องของการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายต่อเนื่อง และนโยบายใหม่ที่รัฐบาลจะดำเนินการใน 4 ปีข้างหน้า ดังนั้น เพื่อให้ความต่อเนื่องของการทำงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ จึงได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ หารือกับอธิบดีที่รับผิดชอบ เพื่อทบทวนงบประมาณของแต่ละโครงการ โดยยึดลำดับความสำคัญของงานเป็นหลัก
สำหรับความคืบหน้าการจัดทำ Road Map สินค้าเกษตร 16 ชนิด ได้แก่ 1.กุ้ง 2.ไก่ 3.อาหารทะเลกระป๋อง-แปรรูป 4. ผัก-ผลไม้กระป๋อง 5. ผลิตภัณฑ์ข้าว-ข้าวสาลี 6.ไขมัน-น้ำมันพืชและสัตว์ 7.ข้าว 8.ยางพารา 9.ผัก 10. กลุ่มพืชพลังงาน 11.ไม้ยางเฟอร์นิเจอร์ 12.สินค้าเกษตรอินทรีย์ 13.โคเนื้อ 14.กลุ่มผลไม้ ลำไย ทุเรียน ลิ้นจี่ เงาะ มังคุด 15.หอมแดง กระเทียม หอมหัวใหญ่ กาแฟ และ 16.ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ขณะนี้สินค้าส่วนใหญ่อธิบดีแต่ละหน่วยงานรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพติดตามความคืบหน้าโครงการด้านการผลิตทั้งระบบแล้ว ยกเว้นในส่วนของยางพารา และไม้ยางเฟอร์นิเจอร์ ที่ยังไม่ได้สั่งการ คาดว่าเจ้าภาพแต่ละสินค้าที่ได้รับมอบหมายจะสามารถประสานงานร่วมกับเจ้าภาพด้านการตลาดของกระทรวงพาณิชย์ได้เป็นอย่างดี
นายพินิจ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ยังได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ประสานกระทรวงพาณิชย์ เร่งทำแผนประชาสัมพันธ์ผลักดันสินค้าไก่ปรุงสุก และผลิตภัณฑ์ไก่ไทยไปยังประเทศญี่ปุ่นให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์ ดังนั้น ถ้าไทยสามารถผลักดันสินค้าไก่ปรุงสุกให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น และมั่นใจเรื่องความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและคุณภาพไก่ปรุงสุกของเราได้ น่าจะนำไปสู่การขยายตลาดส่งออกในอนาคตต่อไป
นายพินิจ กอศรีพร รองโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงว่า ได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานปรับแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 ในลักษณะบูรณาการร่วมกันเป็นรายโครงการ แทนการจัดทำแผนงบประมาณฯ แบบเดิมที่แต่ละหน่วยงานแยกกันทำ เพื่อลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนและช่วยให้การใช้จ่ายงบประมาณเกิดประสิทธิผล และคุ้มค่าการลงทุนมากขึ้นนั้น ในเบื้องต้นทุกหน่วยงานได้ร่วมกันจัดทำแผนงบประมาณให้สอดรับกับแนวนโยบายการพัฒนาการผลิตของรัฐบาล เพื่อให้โครงการต่างๆ เกิดประโยชน์กับเกษตรกรสูงสุด
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการค้าทำงบประมาณ ปี 2549 บางส่วนเป็นเรื่องของการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายต่อเนื่อง และนโยบายใหม่ที่รัฐบาลจะดำเนินการใน 4 ปีข้างหน้า ดังนั้น เพื่อให้ความต่อเนื่องของการทำงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ จึงได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ หารือกับอธิบดีที่รับผิดชอบ เพื่อทบทวนงบประมาณของแต่ละโครงการ โดยยึดลำดับความสำคัญของงานเป็นหลัก
สำหรับความคืบหน้าการจัดทำ Road Map สินค้าเกษตร 16 ชนิด ได้แก่ 1.กุ้ง 2.ไก่ 3.อาหารทะเลกระป๋อง-แปรรูป 4. ผัก-ผลไม้กระป๋อง 5. ผลิตภัณฑ์ข้าว-ข้าวสาลี 6.ไขมัน-น้ำมันพืชและสัตว์ 7.ข้าว 8.ยางพารา 9.ผัก 10. กลุ่มพืชพลังงาน 11.ไม้ยางเฟอร์นิเจอร์ 12.สินค้าเกษตรอินทรีย์ 13.โคเนื้อ 14.กลุ่มผลไม้ ลำไย ทุเรียน ลิ้นจี่ เงาะ มังคุด 15.หอมแดง กระเทียม หอมหัวใหญ่ กาแฟ และ 16.ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ขณะนี้สินค้าส่วนใหญ่อธิบดีแต่ละหน่วยงานรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพติดตามความคืบหน้าโครงการด้านการผลิตทั้งระบบแล้ว ยกเว้นในส่วนของยางพารา และไม้ยางเฟอร์นิเจอร์ ที่ยังไม่ได้สั่งการ คาดว่าเจ้าภาพแต่ละสินค้าที่ได้รับมอบหมายจะสามารถประสานงานร่วมกับเจ้าภาพด้านการตลาดของกระทรวงพาณิชย์ได้เป็นอย่างดี
นายพินิจ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ยังได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ประสานกระทรวงพาณิชย์ เร่งทำแผนประชาสัมพันธ์ผลักดันสินค้าไก่ปรุงสุก และผลิตภัณฑ์ไก่ไทยไปยังประเทศญี่ปุ่นให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์ ดังนั้น ถ้าไทยสามารถผลักดันสินค้าไก่ปรุงสุกให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น และมั่นใจเรื่องความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและคุณภาพไก่ปรุงสุกของเราได้ น่าจะนำไปสู่การขยายตลาดส่งออกในอนาคตต่อไป